| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : รัสเซีย : สงครามต่างๆ
นโปเลียน บุกรัสเซีย | สงครามครั้งที่ ๖ (๑๘๑๒-๑๘๑๔) ยุคของจักพรรดินโปเลียน ฝรั่งเศส
ณ สมรภูมิโบโรดิโน ในรัสเซีย จอมทัพนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส กับ นายพลมิคาอิล คูตูซอฟ แห่งรัสเซียได้สร้างประวัติศาสตร์แห่งความยิ่งใหญ่ขึ้น คูตูซอฟ ได้กำราบและยัดเยียดความพ่ายแพ้ให้แก่จอมทัพนโปเลียนผู้เกรียงไกร กลายเป็นจุดจบของจอมทัพในที่สุด
สงครามนี้เป็นสงครามระหว่างฝรั่งเศส กับพันธมิตรที่มี สหราชอาณาจักร, รัสเซีย, ปรัสเซีย, ออสเตรีย และรัฐเยอรมันจํานวนหนึ่ง
ปี ๑๘๑๒, นโปเลียนทําการบุกรัสเซียเพื่อบีบบังคับให้จักรพรรดิ อเล็กซานเดอร์ที่ ๑ ทรงยินยอมนําประเทศเข้าร่วมในกลุ่มภาคพื้นทวีป (Continental System) ที่ฝรั่งเศสเป็นแกนนําตั้งขึ้นมาและเพื่อบีบบังคับให้รัสเซียยุติการยึดครองโปแลนด์ กองทัพร่วมฝรั่งเศสและพันธมิตรที่เรียกว่า Grande Armee รวม ๖๕๐,๐๐๐ คน (เป็นฝรั่งเศส ๒๗๐,๐๐๐ คน ที่เหลือเป็นทหารชาติพันธมิตร) รุกข้ามแม่น้ำนีเมน (Niemen River) ในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๑๘๑๒ รัสเซียประกาศว่า การกระทําครั้งนี้เป็นการรุกราน (a Patriotic War) ในขณะที่ฝรั่งเศสประกาศว่า เป็นสงครามโปแลนด์ครั้งที่ ๒ (a Second Polish war) ทั้งนี้ฝรั่งเศสหวังว่า จะได้ทหารจากโปแลนด์มาเข้าร่วมด้วย ๑๐๐,๐๐๐ คน โดยนโปเลียนไม่สนใจกับข้อเสนอของโปแลนด์ที่เสนอให้เปิดการเจรจากับรัสเซีย
รัสเซียรบโดยใช้ยุทธวิธีร่นถอย, ทําลายทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจเป็นประโยชน์ต่อศัตรู และไปตั้งรับที่โบโรดิโน (Battle of Borodino, วันที่ ๗ กันยายน) การรบเป็นไปอย่างดุเดือด ฝรั่งเศสผลักดันกองทัพรัสเซียให้ถอยและเข้ายึดมอสโคว์ได้ในวันที่ ๑๔ กันยายน รัสเซียทิ้งเมือง, เจ้าชาย ราซอทชิน (Prince Rasotpchin) ผู้ว่าการมอสโคว์สั่งให้เผาทุกอย่างที่อาจเป็นประโยชน์ต่อข้าศึก ทําให้นโปเลียนไม้ได้อะไรจากการยึดมอสโคว์เลยนอกจากเถ้าถ่าน ฝรั่งเศสจึงถอนกําลังนี่คือจุดเริ่มต้นของการถอนกําลังครั้งใหญ่ (Great Retreat) ซึ่งนําความหายนะมาสู่กองทัพฝรั่งเศส ทําให้ทหารเสียชีวิตไปถึง ๓๗๐,๐๐๐ คน และถูกจับเป็นเชลยอีก ๒๐๐,๐๐๐ คน จนถึงเดือนพฤศจิกายน คงเหลือทหารที่ยังแข็งแรงอยู่เพียง ๒๗,๐๐๐ คน เท่านั้นที่ข้ามแม่น้ำเบเรซีน่า (Berezina River) นโปเลียนจากกองทัพของเขาเข็าสู่ปารีส และเตรียมการป้องกันโปแลนด์จากการไล่ติดตามของกองทัพรัสเซีย สถานการณ์ของฝ่ายรัสเซียเองก็ไม่ดีไปกว่าฝรั่งเศสนัก รัสเซียเสียทหารไปราว ๔๐๐,๐๐๐ คน แต่ได้เปรียบตรงที่สายการส่งกําลังบํารุงใกล้กว่าฝรั่งเศส และยังเสริมกําลังพลได้เร็วกว่ามาก
ช่วงสงคราม ค.ศ. 1812 พระเจ้านโปเลียนทรงนำทัพบุกรัสเซียนั้น เป็นช่วงกลางฤดูหนาวที่หนาวมาก รัสเซียหลอกล่อให้ทัพฝรั่งเศสเข้าไปอดอาหารและหนาวตายในรัสเซีย แม้จะไปถึงมอสโคว์แต่ทั้งเมืองก็ถูกเผาอย่างจงใจเพื่อมิให้เสบียงตกถึงมือนโปเลียน ทำให้การบุกรัสเซียเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนโปเลียน ชัยชนะของรัสเซียปลุกระดมชาติต่างๆให้รวมตัวกันเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 6 (Sixth Coalition) เอาชนะนโปเลียนในการรบที่ไลป์ซิก (Leipzig) ทำให้นโปเลียนถอยกลับฝรั่งเศส
รายละเอียด : ปฏิบัติการที่คาบสมุทรอีเบเรีย ออสเตรีย และรัสเซีย
เนื่องด้วยแนวคิดของอังกฤษที่จะกีดกันเรือสินค้าฝรั่งเศส สมเด็จพระจักพรรดินโปเลียนที่ 1 เลยพยายามจะบังคับให้เกิดการกีดกันภาคพื้นทวีป โดยมีวัตถุประสงค์จะหยุดยั้งกิจกรรมทางการพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอังกฤษ โปรตุเกส อันเป็นประเทศพันธมิตรของอังกฤษมาเป็นเวลาช้านาน ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญานี้ สมเด็จพระจักพรรดินโปเลียนที่ 1 จึงทรงขอความช่วยเหลือจากสเปนในการบุกโปรตุเกส ในที่สุดพระองค์ก็ได้รุกรานประเทศสเปน และตั้งโฌแซฟ โบนาปาร์ต น้องชายขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองที่นั่น และโปรตุเกสก็ถูกสมเด็จพระจักพรรดินโปเลียนที่ 1 รุกรานเช่นกันในปี พ.ศ. 2350 (ค.ศ. 1807) ประชากรส่วนหนึ่งของสเปนที่คลั่งใคล้ในกลุ่มนักบวชได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านชาวฝรั่งเศส ในไม่ช้า กองพลทหารราบฝีมือเยี่ยมของอังกฤษ บัญชาการโดยว่าที่ดยุคแห่งเวลลิงตัน (อาร์เธอร์ เวลสลีย์) ก็ได้เคลื่อนทัพสู่สเปน โดยผ่านประเทศโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2351 (ค.ศ. 1808) และด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มผู้รักชาติชาวสเปน ก็ได้ผลักดันกองทัพฝรั่งเศสออกจากคาบสมุทรอีเบเรีย ในขณะที่กองทหารที่ฝีมือดีที่สุดของฝรั่งเศสดำเนินภารกิจอยู่ในสเปน ออสเตรียก็ได้บุกฝรั่งเศสอีกครั้งจากแถบเยอรมนี และถูกปราบลงอย่างราบคาบในสมรภูมิที่เมืองวากร็อง จอมพลลานส์ เพื่อนและผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ของจักรพรรดิสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองเอสลิง
หลังจากที่พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในรัสเซียที่เข้าข้างฝ่ายอังกฤษ ก็ได้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับสมเด็จพระจักพรรดินโปเลียนที่ 1 ในการโจมตีสหราชอาณาจักร สมเด็จพระจักพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งเชื่อว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงครามกับอังกฤษได้ ได้กรีฑาทัพบุกรัสเซียในปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) ทัพใหญ่ของสมเด็จพระจักพรรดินโปเลียนที่ 1 ประกอบด้วยกองทัพพันธมิตรอิตาลี เยอรมนี และออสเตรียมีขนาดมหึมา มีทหารกว่า 600,000 นายที่ร่วมเดินทัพข้าม แม่น้ำนีเมน
พวกรัสเซียที่บัญชาการโดยมิคาอิล อิลลาริโอโนวิทช์ โกเลนิทเชฟ-คูตูโซฟ ได้ใช้ยุทธวิธี แผ่นดินเดือด โดยถอยร่นให้ทัพฝรั่งเศสตามเข้ามาให้รัสเซีย การรบที่สมรภูมิเมืองมอสโควเมื่อวันที่ 12 กันยายน ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ แม้ว่าพวกรัสเซียจะเป็นฝ่ายทิ้งชัยภูมิ แต่ทั้งสองฝ่ายก็เสียทหารไปในจำนวนเท่าๆ กัน
วันรุ่งขึ้นหลังจากกองทัพฝรั่งเศสเคลื่อนทัพเข้ากรุงมอสโคว ก็พบว่ามอสโกกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อฝรั่งเศสตายใจ พวกรัสเซียได้จุดไฟเผากรุงมอสโควในทันที ทำให้สมเด็จพระจักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถอยทัพ ฤดูหนาวอันโหดร้าย กำลังจะมาเยือนดินแดนแถบรัสเซียในอีกเพียงไม่กี่วัน สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ที่คาดว่าจะมีความเคลื่อนไหวจากพระเจ้าซาร์ได้ชะลอการถอยทัพไปจนถึงนาทีสุดท้าย
กองทัพฝรั่งเศสได้ถอยทัพอย่างทุลักทุเลไปทางเยอรมนี ในช่วงฤดูหนาวของรัสเซีย ผ่านดินแดนที่เคยเป็นทางผ่านตอนขามาและถูกโจมตีเสียย่อยยับ ในจำนวนทหารเกือบ 500,000 นายที่เข้าร่วมรบ มีเพียงหมื่นกว่านายที่สามารถข้ามแม่น้ำเบเรซินากลับมาได้ แถมยังถูกกองทัพรัสเซียดักโจมตี ทัพใหญ่ของสมเด็จพระจักพรรดินโปเลียนที่ 1ต้องถึงกาลล่มสลายเนื่องด้วยไม่รู้จักพื้นที่ดีพอ
หลังจากที่ได้ใจจากข่าวความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในรัสเซีย กษัตริย์ยุโรปหลายพระองค์ได้แปรภักดิ์จากฝ่ายสมเด็จพระจักพรรดินโปเลียนที่ 1และยกทัพมารบกับฝรั่งเศส สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งถูกคนในกองทัพของพระองค์เองทรยศ ได้พบกับความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงที่สมรภูมิเมืองไลพ์ซิก หรือที่รู้จักในนามของ สงครามนานาชาติ ซึ่งกองทัพฝรั่งเศส 180,000 นายปะทะกับกองทัพพันธมิตร 300,000 นาย (รัสเซีย ออสเตรีย เยอรมนี สวีเดน) จอมพลโจเซฟ แอนโทนี โปเนียโตวสกี เจ้าชายแห่งโปแลนด์และพระราชนัดดาของกษัตริย์องค์สุดท้ายของโปแลนด์ ได้สิ้นพระชนม์ลงในการรบครั้งนี้ หลังจากพยายามนำทหารของพระองค์ข้ามแม่น้ำเอลสเตอร์ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 100,000 คน
ความพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส
ในปี พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) สหราชอาณาจักร รัสเซีย ปรัสเซีย และออสเตรีย ได้ร่วมเป็นพันธมิตร แม้ว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จะมีชัยอย่างไม่น่าเชื่อในการรบที่ ฌองโปแบร์ และ มองต์มิไรล์ ด้วยการนำทัพทหารใหม่ขาดประสบการณ์ (กองทัพมารี-ลุยส์ ที่ตั้งชื่อตามมารี-ลุยส์ แห่งออสเตรีย จักรพรรดินีของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1) กรุงปารีสถูกตีแตกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม และเหล่าจอมพลได้บังคับให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1สละราชบัลลังก์
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงคิดว่าฝ่ายพันธมิตรจะแยกเขาออกจากจักรพรรดินีมารี-ลุยส์ และจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 กษัตริย์แห่งโรม พระโอรสของพระองค์ ดังนั้น ในคืนวันที่ 12 และเช้าวันที่ 13 เมษายน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ทรงเสวยยาพิษไปในปริมาณที่จะปลิดชีพพระองค์เองได้ นั่นคือ ฝิ่นผสมกับน้ำเล็กน้อย มีคนบอกพระองค์ว่าส่วนผสมดังกล่าวมีพิษมากพอที่จะฆ่าคนได้ถึงสองคน
พระองค์เลือกที่จะฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้เพราะเชื่อว่าศพของพระองค์จะต้องถูกประจานให้คนฝรั่งเศสดู พระองค์ต้องการให้ข้าราชบริพารของพระองค์จำพระพักตร์ที่เรียบเฉยได้ เช่นเดียวกับที่เคยเห็นพระองค์ในสมรภูมิ
หลังจากผ่านพ้นเวลาเที่ยงคืนมาอย่างทุกข์ทรมาน จักรพรรดิก็บ่นว่าส่วนผสมฝิ่นของพระองค์ออกฤทธิ์ช้าไป
พระองค์ได้ประกาศต่ออาร์มองด์ ออกุสตัง ลุยส์ เดอ โกลังกูร์ ว่า "เราตายด้วยความทุกข์ทรมาน เราทุกข์ที่มีรัฐธรรมนูญที่ยืดชีวิตออกไปและทำให้ข้าจบชีพลงช้ากว่าเดิม!"
อาการอาเจียนของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุนแรงขึ้นทุกทีจนไม่อาจกลั้นอาเจียนไว้ได้อีกต่อมา จนกระทั่งอาเจียนออกมาอย่างรุนแรง พระองค์ทรงทุกข์ทรมานอย่างไม่สิ้นสุดจนกระทั่งนายแพทย์อีวองมาถึง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ทรงขอให้แพทย์ให้ยาพิษอีกขนานเพื่อจะได้สวรรคตเสียที แต่นายแพทย์ปฏิเสธโดยกราบทูลว่าเขาไม่ใช่ฆาตรกรและเขาจะไม่ยอมทำในสิ่งที่ขัดต่อสามัญสำนึกของตนอย่างเด็ดขาด
ความทรมานของจักรพรรดิยังคงดำเนินต่อไป โกลังกูร์ ออกจากห้องและบอกให้ข้ารับใช้ส่วนพระองค์และข้าราชบริพารฝ่ายในเงียบเสียง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เรียกโกลังกูร์และบอกว่าพระองค์ยอมตายเสียดีกว่ายอมลงนามในสนธิสัญญา
ยาพิษได้คลายฤทธิ์ลง และพระองค์ก็สามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ในที่สุด แต่ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเหตุใดองค์จักรพรรดิจึงรอดชีวิตมาได้จากการกลืนฝิ่นเข้าไปในปริมาณขนาดนั้น ไม่กระเพาะของพระองค์ขย้อนออกมา ไม่ก็ยาพิษได้เสื่อมฤทธิ์ลงไปเอง
ในปี ค.ศ. 1813 จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสทรงสละบัลลังก์ เพราะได้รับการต่อต้านจากชาวฝรั่งเศส ในค.ศ. 1814 สัมพันธมิตรเข้าบุกยึดกรุงปารีส ทำสนธิสัญญาฟองแตงโบล (Fontainebleau) เนรเทศพระเจ้านโปเลียนไปเกาะเอลบา (Elba) ในอิตาลี |
|