สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
หมวด เนื้อหาทั้งหมด
มอสโก
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
โปรแกรมทัวร์
ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
วลาดิเมียร์
ซูซดาล
ซากอร์ส
แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
เวลาและอุณหภูมิโลก
ของฝากจารัสเซีย
หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
ที่สุดของรัสเซีย
บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
รวมภาพ ในแต่ละทริป
คุยกับ เว็บมาสเตอร์
16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
Webcam
การเดินทางสู่กรุงมอสโก
ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
ไปรัสเซียต้องระวัง
ภาษารัสเซีย ???????
Golden Ring Cities
Russian Clips
ราชตระกูล จักรพงษ์
Russian TV
เอกอัครราชทูต
การก่อการร้ายในรัสเซีย
ไซบีเรีย
รัสเซีย : สงครามต่างๆ
พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
มรดกโลกของ รัสเซีย
มาเฟียรัสเซีย
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
คิง ไกเซอร์ ซาร์
เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
อวกาศกับรัสเซีย
12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
วอดก้ารัสเซีย
เขตปกครองของรัสเซีย
เพชรรัสเซีย
เสด็จเยือนรัสเซีย
คาเวียร์
เครื่องดนตรีรัสเซีย
น้ำดื่ม (วาดะ)
ศิลปินรัสเซีย
Trans-siberian railway
ze
8
ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด :
ราชตระกูล จักรพงษ์
สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (3 มีนาคม พ.ศ. 2426-13 มิถุนายน พ.ศ. 2463)[1] ทรงเป็นต้นราชสกุล "จักรพงษ์"[2] เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงรับราชการทหารเป็นเสนาธิการทหารบก โดยทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการ ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบินในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย"
ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากนายพลเอกเป็นจอมพล และทรงเป็นผู้ที่จัดส่งทหารอาสาเขาทำการรบในสงครามครั้งนั้น ต่อมาสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระปับผาสะ ขณะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระวรกายที่สิงคโปร์ พระชนม์เพียง 37 พรรษา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เมื่อครั้งทรงมีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถและยังทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาวิชาหนังสือไทยกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และขุนบำนาญวรวัฒน์ (สิงโต) ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวังแล้ว จึงทรงศึกษาต่อที่นี้ทั้งวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีครูสอนภาษาอังกฤษคือ นายวุลสเลย์ ลูวีส และนายเยคอล พิลด์เยมส์[3] เมื่อพระองค์มีพระชนม์ได้ 9 พรรษา ได้ทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพิษณุโลกประชานารถ[5] เมื่อมีพระชนมายุได้ 14 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเพื่อเล่าเรียนภาษาอังกฤษ ทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณีของคนอังกฤษและชาวยุโรปชั้นสูง[6] ในปี พ.ศ. 2439
ในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ก็ได้เสด็จไปเยี่ยมพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ซึ่งเป็นพระสหายของพระองค์ พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 ครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารได้เคยเสด็จเมืองไทยเมื่อวันที่ 20-24 มีนาคม พ.ศ. 2433 และทางราชสำนักไทยได้ถวายการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ จนพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 ทรงพอพระทัยอย่างสูงสุด[7] ต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียแล้ว สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสฯ จึงได้ทรงชักชวนให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ส่งพระราชโอรสไปศึกษาที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งพระองค์ยินดีที่จะอุปการะเสมือนพระญาติวงศ์แห่งพระราชวงศ์โรมานอฟด้วย ผู้หนึ่ง ดังนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งขณะนั้นทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษอยู่แล้ว ให้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้า ซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียต่อไป
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ ขณะประทับศึกษาวิชาการทหารในประเทศรัสเซีย (ในภาพ ทรงฉลองพระองค์สำหรับร่วมงานเลี้ยงที่พระราชวังฤดูหนาวของรัสเซียในปี พ.ศ. 2446) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ เมื่อเข้าประจำโรงเรียนเสนาธิการ
สมเด็จเจ้าฟ้าชายจักรพงษภูวนารถ หรือ “ทูลกระหม่อมเล็ก” ทรงเข้าศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก Corps de Pages ประเทศรัสเซีย เมื่อพระชนมพรรษา 16 ปี[9] ในการไปศึกษาของพระองค์ในประเทศรัสเซียคราวนั้น มีผู้ตามเสด็จไปร่วมเรียนด้วยคือ นายพุ่ม สาคร นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงที่สอบชิงทุนได้เป็นครั้งแรก นายพุ่ม สาคร เป็นนักเรียนโรงเรียนมัธยมเทพศิรินทร์ โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้นายพุ่มฯ เข้ารับการศึกษาร่วมกับพระราชโอรสด้วย ทั้งนี้ก็ด้วยพระบรมราโชบายเพื่อต้องการให้พระราชโอรสได้มีคู่แข่ง ก่อให้เกิดขัติยะมานะพยายามเล่าเรียนอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยพระเจ้าซาร์นิโคลัสฯ ได้รับสั่งให้พลตรี เคาน์ต เค็ลแลร์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก และนายร้อยเอกวัลเดมาร์ฆรูลอฟฟ์ นายทหารม้ารักษาพระองค์ เป็นผู้ดูแลแทนพระองค์อย่างกวดขัน
ครั้นในปี พ.ศ. 2442 พระองค์ได้เสด็จกลับมาเยี่ยมประเทศไทยเป็นครั้งแรก ต่อมาพระองค์เสด็จกลับไปศึกษาต่อยังประเทศรัสเซียในปี พ.ศ. 2443 จนถึงปี พ.ศ. 2445 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของพระองค์ แล้วด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ผลการสอบของพระองค์ในโรงเรียนนายร้อยฯ ปรากฏว่าพระองค์ทรงสอบไล่ได้ที่ 1 นายพุ่มสอบได้เป็นที่ 2 ยิ่งกว่านั้นผลการสอบของพระองค์ในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กในราชสำนักกรุง รุสเซีย ทรงทำคะแนนได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของโรงเรียน ดังนั้นพระนามของพระองค์จึงได้ถูกจารึกไว้บนแผ่นศิลาอ่อนของโรงเรียน[8] ในเวลาต่อมา ทั้งพระองค์ฯ และนายพุ่มได้รับการบรรจุเป็นนายทหารม้าประจำกรมทหารม้าฮุสซาร์ของสมเด็จพระ เจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในปีนั้นเอง
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษา ได้เสด็จกลับมาเยี่ยมประเทศไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2446 พร้อมกันนั้นพระองค์ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายร้อยเอก และในปีเดียวกันนั้นเองก็ได้เสด็จกลับเพื่อการศึกษาชั้นสูงต่อไป เข้าประจำโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการเป็นเวลา 2 ปี พร้อมกับนายพุ่ม พระสหายจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2448 ปรากฏว่าพระองค์ฯ ทรงสอบได้เป็นที่ 1 อีกครั้ง และพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงพอพระทัยยิ่ง ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็น นายพันเอกพิเศษในกองทัพบกรัสเซียและเป็นนายทหารพิเศษในกรมทหารม้าฮุสซาร์ของ สมเด็จพระจักรพรรดิ อีกทั้งยังทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์อันเดรย์ ชั้นสายสะพาย ซึ่งเป็นตราสูงสุดของประเทศรัสเซียสมัยนั้น รวมทั้งตราเซนต์วลาดิเมียร์อีกด้วย
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน
30-07-2010
Views : 13858
หมวด
ราชตระกูล จักรพงษ์ : 8 หัวข้อ
30-07-2010
ม.ร.ว.นริศรา พระธิดาพระองค์จุลจักรพงษ์ เผยชีวิตการเป็นเจ้าลูกครึ่ง
30-07-2010
ม.ร.ว. จุลจักร จักรพงษ์
30-07-2010
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
30-07-2010
สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
31-07-2010
หม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา
01-08-2010
หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก
01-08-2010
วังจักรพงษ์
28-08-2010
วังปารุสกวัน
๏ปฟ
เวลาท้องถิ่น
กรุงเทพฯ
มอสโก
ลอนดอน
โรม
ฮ่องกง
โตเกียว
ซิดนีย์
ฟิจิ
ฮาวาย
ซานฟรานซิสโก
นิวยอร์ค
44.220.181.180 = UNITED STATES Sunday 15th September 2024
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน
น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
-
พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
-
ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
-
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
-
ราชวงค์โรมานอฟ
-
จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
-
พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
-
ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
-
กรุงมอสโก
-
นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
-
เมืองเขตโกล์เด้นริง
-
รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
-
เมืองวลาดิเมียร์
-
เมืองซากอร์ส
-
ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
-
สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
-
ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
-
แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
-
รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
-
จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
-
Trans-Siberian Railway
-
วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
-
ว้อดก้ารัสเซีย
-
เพชรรัสเซีย
-
รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
-
ดู RT TV online (eng)
-
ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
-
เชชเนีย
-
ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
-
สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
-
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
-
เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
-
พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
-
สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
-
สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
-
เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย
เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
อาร์เมเนีย (Armenia)
พศ. 2534
อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan)
พศ. 2536
เบลารุส (Belarus)
พศ. 2534
จอร์เจีย (Georgia)
พศ. 2536-2551
คาซัคสถาน (Kazakhstan)
พศ. 2534
คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan)
พศ. 2534
มอลโดวา (Moldova)
พศ. 2534
รัสเซีย (Russia)
พศ. 2534
ทาจิกิสถาน (Tajikistan)
พศ. 2534
เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan)
พศ. 2548
ยูเครน (Ukraine)
พศ. 2534
อุซเบกิสถาน (Uzbekistan)
พศ. 2534
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com