| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : 16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
10. จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช (Empress Catherine II) | 10. จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช (ผู้ทรงธรรม) Empress Catherine II
9 กรกฎาคม – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1762 – ค.ศ. 1796
สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย (อังกฤษ: Catherine II of Russia) ซึ่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "มหาราชินี" (หรือภาษารัสเซีย: Екатерина II Великая; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2272 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2339) ทรงปกครองประเทศรัสเซียในฐานะพระจักรพรรดินีนาถแห่งรัสเซียเป็นเวลา 34 ปี ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2305 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น พระประมุขสูงสุดที่ทรงภูมิธรรม (an enlightened despot)
โซฟี เฟรดเดอริค ออกัสเต้ (Sophie Friederike Auguste von Anhalt-Zerbst, ชื่อเล่น "Figchen") เป็นธิดาของ คริสเตียน ออกัสเต้ เจ้าชายแห่งอันฮันต์-แชร์บส์ กับ โจฮาน่า อลิซาเบท เจ้าหญิงแห่งโฮลส์เทนต์-ก็อตทรอป โซฟีเกิดวันที่ 2 พฤษภาคม 1729 ในเมืองสเตติน(ปัจจุบันคือ เมืองเชสเช็คซิน,โปแลนด์)โซฟีได้รับการศึกษาส่วนใหญ่จากหญิงรับเลี้ยงเด็ก ตามบ้านผู้ดีและอาจารย์สอนพิเศษ โซฟีมีความหวังว่าจะได้เป็นพระชายาในแกรน ดยุค ปีเตอร์ แห่งโฮลส์เทนต์-ก็อตทรอป องค์รัชทายาทแห่งจักรวรรดิรัสเซีย และเนื่องจากทูตคนหนึ่งของพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 2 แห่งปรัสเซียได้เสนอตัวโซฟี โซฟีจึงมีโอกาสสูง อีกประการหนึ่งขณะนั้นปรัสเซียกับออสเตรียบาดหมางกันอย่างหนัก ปรัสเซียจึงต้องการสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับรัสเซียให้แน่นแฟ้นขึ้นหลังจากที่ ลดลง เพื่อที่จะให้รัสเซียหนุนหลังการทำสงครามกับออสเตรีย ขณะที่คณะทูตเพิกเฉย กำหนดการต่างๆจึงถูกแทรกโดยแม่ของโซฟี ที่เป็นผู้หญิงที่ปราดเปรื่องอัฉริยะและทะเยอทะยาน ถึงแม้ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์แล้ว แม่ของโซฟีเป็นคนที่ปราศจากความรู้สึกใดๆและเย็นชา ท้ายที่สุดแล้วโซฟีก็ถูกส่งตัวไปรัสเซียเพื่ออภิเษกสมรสกับเจ้าชายปีเตอร์ เนื่องจากความต้องการชื่อเสียงลาภยศภายหลังจากการที่โซฟีขึ้นเป็นจักรพรรดิ นีแห่งรัสเซียของแม่ของโซฟี เมื่อโซฟีถูกนำตัวไปแล้วพระนางเจ้าอลิซาเบทพระจักรพรรดินีแห่งรัสเซียในขณะ นั้น ก็ทรงโปรดโซฟีมาก และต่อมาไม่นานก็มีการอภิเษกสมรสกันระหว่าง แกรน ดยุค ปีเตอร์ แห่งรัสเซีย กับ โซฟี เฟรดเดอริค ออกัสเต้ แห่งปรัสเซีย ในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1745 ซึ่งพระนางเจ้าเอลิซาเบททรงรู้จักตระกูลของโซฟีเป็นอย่างดี
เจ้าหญิงโซฟีทรงมุ่งมานะพยายามไม่ใช่เฉพาะกับพระนางเจ้าเอลิซาเบทเท่านั้น แต่เป็นกับทั้งพระราชสวามีของพระองค์และประชาชนชาวรัสเซีย โดยพระองค์ทรงแปลงโฉมพระองค์ใหม่โดยทรงพระอักษรภาษารัสเซีย พระองค์ทรงพระอักษรดีขึ้นตามลำดับและมักดำเนินรอบห้องในเวลากลางคืนเพื่อ ท่องจำบทเรียน ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1744 พระองค์ทรงมีอาการปอดอักเสบ และก็นี้คือผลจาการลงมือกวดขันอย่างหนักของพระองค์ ในการทรงพระอักษรของพระองค์พระองค์ทรงบันทึกไว้ว่า เมื่อเวลาที่พระองค์ทรงเสด็จมาถึงรัสเซียพระองค์ก็ทรงทำให้ราวกับว่ามันเป็น เรื่องธรรมดา พระองค์ปฏิญาณตนไว้ว่าจะยึดมั่นอยู่ในกฏระเบียบข้อบังคับต่างๆ และยอมรับระเบียบแบบแผนและกลายเป็นผู้มีคุณวุฒิเพื่อที่จะได้สวมมงกุฎของ สมเด็จพระจักรพรรดินี พระองค์ยังคงไม่เปลี่ยนพระอัฌาสัยตลอดรอดฝั่ง เฉกเช่นเดิมตั้งแต่พระชนมายุ 15 พรรษา ที่ทรงกลายเป็นผู้ใหญ่ บิดาของพระองค์ยังคงเลื่อมใสพวกนิกายโปรเตสแตนต์แต่เมื่อพระองค์กลับเปลี่ยน นิกายเป็นนิกายรัสเซียออร์โธด็อกซ์ ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1744 แม้จะขัดต่อคำสั่งสอนของพระบิดาก็ตาม และภายหลังการเข้านับถือนิกายนี้ พระองค์จึงฉลองพระนามใหม่ว่า แคทเธอรีน เอราเกตรีน่า อเล็กเซเยว่า ตามระเบียบราชประเพณี ต่อมาพระองค์จึงได้เข้าพิธีหมั้น และอภิเษกสมรสกับแกรน ดยุค ปีเตอร์ ใน พระราชวังโอแรนเนี่ยนบวม,เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
หลังจากที่พระนางเจ้าเอลิซาเบททรงสวรรคต แกรน ดยุค ปีเตอร์ผู้ชิงชังรัสเซียและนิยมชมชอบปรัสเซียได้ขึ้นเป็น พระเจ้าปีเตอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย พระเจ้าปีเตอร์ทรงยินดีปรีดามากที่พระนางเจ้าเอลิซาเบทสวรรคต และทรงสั่งให้กองทัพรัสเซียถอยทัพกลับขณะที่กำลังบุกปรัสเซียที่พระองค์รัก ทรงเปลี่ยนเครื่องแบบราชสำนักรัสเซียจากสีเขียวของรัสเซียเป็นแบบสีน้ำเงิน ของปรัสเซีย นี้สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับประชาชนชาวรัสเซีย กองทัพ รวมถึงแคทเธอรีนด้วย ซึ่งแคทเธอรีนเองก็ชิงชังปีเตอร์มาตั้งแต่ต้น ด้วยที่ว่าปีเตอร์ไม่เอาไหน ซ้ำยังทำตัวเป็นเด็กเอาแต่ใจ มันจึงไม่โรแมนติกเลยสำหรับแคทเธอรีนที่จะอยู่ร่วมกัน และเมื่อทหารที่ชิงชังปีเตอร์ได้ร่วมก่อกบฏ และเมื่อขับไล่ปีเตอร์ได้แล้ว จึงได้มีการป่าวประกาศให้แคทเธอรีนเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งรัสเซีย ในวันที่ 13 กรกฎาคม และ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1762 หลังจาก 6 เดือนที่ปีเตอร์เสวยราชสมบัติ 3วันหลังจากการก่อกบฎ วันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1762 ปีเตอร์สวรรคตใน โรปชา ด้วยมือของ อเล็กเซ่ ออโลฟ ตามคำสั่งประหารของแคทเธอรีน
สิ่งยั่วพระทัยพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียมานานหลายปีนั่นก็คือการยึดแหลมไค รเมียร์มาจากจักรวรรดิออตโตมัน เพื่อที่รัสเซียจะได้มีทางออกสู่ทะเลดำ และพระนางเจ้าแคทเธอรีนก็ทรงมีชัยเหนือจักรวรรดิออตโตมันในการครอบครองแหลม ไครเมียร์เป็นพระองค์แรก ปัจจุบันแหลมไครเมียร์ตกเป็นของประเทศยูเครน
ตลอดการครองราชสมบัติของพระนางเจ้าแคทเธอรีน พระองค์ทรงทำนุบำรุงจักรวรรดิ ปฏิรูปประเทศ วางตัวเหมาะสมเพื่อให้เป็นที่สนใจ และยังนำเบี้ยกำนัลจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นของขวัญให้กับชาวไร่ชาวนา และทาสมากมาย แคทเธอรีนมีพระโอรส 1 พระองค์ นามว่าพอล พอลเป็นโอรสของแคทเธอรีน กับ ปีเตอร์ ถึงแม้แคทเธอรีนจะมีสามีใหม่ พอลก็ไม่ค่อยจะยอมรับสักเท่าไหร่ ถึงแม้ระยะครองราชย์จะยาวนานแต่ไม่ว่ากิจการใดที่เป็นหน้าที่ของพระมหา กษัตริย์ แคทเธอรีนก็ไม่เคยย้อท้อ เมื่อพอลอภิเษกสมรสพอลก็มีโอรส 1 พระองค์นามว่า อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ซึ่งแคทเธอรีนหวังจะให้เป็นองค์รัชทายาทสืบไปหลังจากที่แคทเธอรีนทรงเล็ง เห็นว่าพอลไม่สามารถเป็นพระเจ้าซาร์ได้
วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1796 ระหว่างที่ทรงอยู่ในห้องน้ำ พระองค์ก็ทรงเป็นลมล้มลงไป และทรงสวรรคตบนที่บรรทม เวลา 10:15 หลังจากที่เย็นวันก่อนทรงกลับมามีสติอีกครั้งในเวลาอันสั้น หลังจากเสด็จสวรรคตข่าวลือก็เกิดขึ้นทั่วรัสเซียและ และข่าวลือยิ่งครึกโครมขึ้นเมื่อขุนนางฝรั่งเศสออกมาอ้างว่าพระนางเจ้าแค ทเธอรีนทรงตกม้าขณะทรงม้า พระนางถูกฝังที่โบสถ์ปีเตอร์พอล ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก |
|