|
State Visit by The Tsarevich Nicholas Aleksandrovich (The Future Tsar Nicholas II of Russia)
|
|
Seated from left to right, Crown Prince Maha Vajirunhis of Siam, the Tsarevich Nicholas Aleksandrovich of Russia, King Chulalongkorn (Rama V) Grand Duke George Aleksandrovich, younger brother of the Tsarevich, Prince Chaturanta Rasmi, younger brother of the King. (See close-up below) This was taken when the Tsarevich made a visit to Siam in March 1891, taken at Bang Pa-in Summer Palace.
|
|
|
I was very interested in this photograph, which shows the beginning of a great friendship between the King and the Tsar, and of Siam and Russia. I am currently finding out more information on the visit. Later on, King Chulalongkorn made a visit to Russia and sent a son, HRH Prince Chakrabongse to study in Russia under the care of the Tsar. The friendship between the two countries consequently put Siam on the map. It was also King Chulalongkorn's visits to Europe, and his friendship with the powerful countries that made Siam an acceptable, as well as an exotic ally.
|
|
A Brief History Nicholas II, Emperor and Autocrat of All Russia (6 May 1868 to 4 July 1918 in the Julian Calendar, or 18 May 1868 to 17 July 1918 in the Gregorian Calendar), was the last Emperor of Imperial Russia. He ruled from November 1, 1894 until his abdication on March 15, 1917, and was killed with his family in 1918.
Nicholas's full name was Nikolai Aleksandrovich Romanov. His official title was Bozhiyeyu Milostiyu, Imperator i Samodyerzhets Vserossiysky (By the Grace of God, Emperor and Autocrat of All Russia). The title Tsar (or Czar), derived from the Roman title Caesar via the Byzantine form Kaisar, had been officially abolished in 1721 by Peter the Great, but it was informally used throughout Nicholas's reign.
เล่าเรื่องจากภาพ |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ณ พระราชวังฤดูร้อน (Peterhof) เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศรัสเซีย วันที่ ๓ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๔๐
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงฉายกับซาร์นิโคลัสที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๓ (ร.ศ.๑๐๙) ขณะนั้นซาร์นิโคลัสที่ ๒ ยังทรงดำรงตำแหน่ง พระยุพราชแห่งรัสเซีย ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมเมืองไทย และเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดฯให้รับเสด็จที่พระราชวังบางปะอิน พระราชอาคันตุกะเสด็จอยู่เมืองไทยเพียง ๕ วัน (๒๐ มีนาคม ร.ศ.๑๐๙-๒๕ มีนาคม ร.ศ.๑๐๙) ในวันทูลลา โปรดฯให้ฉายพระรูปหมู่ร่วมกัน
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารประทับหน้าเป็นพระองค์แรก แล้วจึงเป็นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงประทับกลาง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ประทับขวาสุด พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จฯ ประพาสยุโรป พ.ศ.๒๔๔๐ ขณะนั้น ซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงครองพระราชอาณาจักรรัสเซียแล้ว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ จึงรับเสด็จอย่างสนิทสนม ดังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชหัตถเลขา พระราชทานมายังสมเด็จพระนางเจ้าเสาภาผ่องศรี พระบรมราชนินาถ
และด้วยความสนิทสนมของพระราชวงศ์ดังนี้จึงเล่ากันว่า เมื่อซาร์ทรงทราบความลำบากพระราชหฤทัยเกี่ยวกับสัมพันธภาพของไทยกับประเทศในยุโรป (เวลานั้นประเทศรัสเซียมีอำนาจมาก) ซาร์จึงมีรับสั่งว่า มาถ่ายรูปกับฉัน ว่ากันว่า เมื่อพระบรมรูปทรงฉายคู่กันนี้ แพร่หลายไปทั่วยุโรป มีผลให้ประเทศที่กำลังเป็นมหาอำนาจเช่นเดียวกันในยุโรป ออกจะเกรงใจเมืองไทยขึ้นมาบ้าง ว่าพระเจ้าแผ่นดินไทยนั้น มิใช่ธรรมดาทรงเป็นพระสหายกับพระเจ้าซาร์ทีเดียวนะ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเล่าถึงพระเจ้าซาร์ และสมเด็จพระพันปีหลวงของพระเจ้าซาร์ในพระราชหัตถเลขา ว่า
" เอมเปอเรอเป็นคนที่ไม่ทำภูมิ แลไม่โปรดการพิธี แต่ไม่ได้เล่นหยุมหยิมกับใคร มีสง่าผ่าเผยมากเจ้านายก็กลัวเกรงนับถือกันตามฉันผู้ใหญ่ผู้น้อย แต่ดูรักใคร่กลมเกลียวกันเล่นหัวกันระริกซิกซี้ไปทั้งนั้น เจ้านายชั้นวัยกาแล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ทำท่าทางเหมือนกรมสมเด็จเป็นพื้น...น้องเธอทั้งหลายเล่นป้วนเปี้ยนเหมือนเราเมื่อเด็กๆ เอมเปอเรอนั้นเข้าได้ทั้งใหญ่ทั้งเล็ก.."
กรมสมเด็จ ทรงหมายถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ (พระยศขณะนั้น) พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๔ ส่วนสมเด็จพระพันปีหลวงของพระจ้าซาร์นั้นทรงเล่าว่า
" เอมเปรสส์ แม่ นั้น เป็นแม่ของคนทั้งปวงแท้ประกอบทั้งความงามและสง่าราศีกิริยาอัธยาไศรยแลสติปัญญา ฉันบูชาเสียเหลือล้น สมควรเป็นสมเด็จแม่จริงๆ... บรรดาข้าราชการแลราษฎรกลัวเกรงเอมเปอเรอยิ่งกว่าคนเรากลัวเกรงเจ้านางเป็นอันมาก เห็นเป็นพระเจ้ามากกว่าเป็นคนพ้นที่จะหาแห่งใดเทียบเทียมได้ความนิยมรักใคร่เจ้านายก็มากเหลือล้น สมเด็จพระพันปีหลวงนั้นสวรรคตก่อนปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ.๒๔๖๐ ได้เล่าเรื่องอันเกี่ยวเนื่องกับพระบรมรูปที่ทรงฉายกับซาร์แห่งรัสเซียแล้ว " |