ฟื้นสัมพันธ์ 150 ปี ไทย-รัสเซีย รับชื่นมื่น วลาดิมีร์ ปูติน
 




  

หมวด เนื้อหาทั้งหมด
    มอสโก
    เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
    โปรแกรมทัวร์
    ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
    วลาดิเมียร์
    ซูซดาล
    ซากอร์ส
    แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
    เวลาและอุณหภูมิโลก
    ของฝากจารัสเซีย
    หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
    ที่สุดของรัสเซีย
    บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
    รวมภาพ ในแต่ละทริป
    คุยกับ เว็บมาสเตอร์
    16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
    เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
    Webcam
    การเดินทางสู่กรุงมอสโก
    ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
    ไปรัสเซียต้องระวัง
    ภาษารัสเซีย ???????
    Golden Ring Cities
    Russian Clips
    ราชตระกูล จักรพงษ์
    Russian TV
    เอกอัครราชทูต
    การก่อการร้ายในรัสเซีย
    ไซบีเรีย
    รัสเซีย : สงครามต่างๆ
    พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
    มรดกโลกของ รัสเซีย
    มาเฟียรัสเซีย
    หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
    รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
    คิง ไกเซอร์ ซาร์
    เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
    อวกาศกับรัสเซีย
    12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
    วอดก้ารัสเซีย
    เขตปกครองของรัสเซีย
    เพชรรัสเซีย
    เสด็จเยือนรัสเซีย
    คาเวียร์
    เครื่องดนตรีรัสเซีย
    น้ำดื่ม (วาดะ)
    ศิลปินรัสเซีย
    Trans-siberian railway
    ze
    8
    

    

ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง








หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 

เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
ฟื้นสัมพันธ์ 150 ปี ไทย-รัสเซีย รับชื่นมื่น วลาดิมีร์ ปูติน
ฟื้นสัมพันธ์ 150 ปี ไทย-รัสเซีย รับชื่นมื่น วลาดิมีร์ ปูติน
โดย ... พนิดา สงวนเสรีวานิช นสพ.มติชน วันที่ 20 ตุลาคม 2546

การประชุมเอเปคเริ่มต้นขึ้นแล้ว เมื่อผู้นำประเทศต่างๆ
ทยอยเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2546 ที่ผ่านมานี้

ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพตระเตรียมทุกอย่างไว้ครบถ้วน เพราะครั้งนี้ไม่ใช่แค่การชุมนุมผู้นำประเทศสำคัญๆ ทางด้านเศรษฐกิจอย่างครั้งที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะหนึ่งในแขกบ้านแขกเมืองครั้งนี้คือ .. ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน .. แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งมาในฐานะ .. พระราชอาคันตุกะ .. ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อดไม่ได้ที่จะนึกถึงภาพของ .. พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 .. ประทับเคียงคู่ .. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว .. ภาพที่มักถูกหยิบขึ้นมาอ้างถึงทุกครั้งที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย เมื่อตอนเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ครั้งนั้นรัสเซียเป็นหนึ่งใน 13 ประเทศ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยือนและทรงได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ

พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 นอกจากจะทรงเป็นพระสหายสนิทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังเป็นผู้ที่ช่วยเจรจาให้ .. ฝรั่งเศส .. หยุดการรุกรานสยามประเทศ หลังจากนั้นไทยยังมีพระบรมวงศานุวงศ์หลายๆ พระองค์ ที่เสด็จไปศึกษาต่อยังรัสเซีย โดยเฉพาะ .. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ .. พระราชโอรสองค์โปรดที่ประสูติใน .. สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี .. เมื่อสำเร็จวิชาการทหารแล้ว ยังทรงรับราชการเป็นนายทหารแห่งกองทัพบกรัสเซีย กระทั่งเกิดตำนาน .. รักข้ามวรรณะ .. ขึ้นในแผ่นดินหมีขาว ทรงแอบอภิเษกสมรสเงียบๆ กับ .. เอกาเทรินา เดสนิตสกายา .. หรือ .. แคทยา .. ให้ทายาทสืบทอดสายสกุล .. จักรพงษ์ .. ในปัจจุบัน

กระทั่ง ..เพลงสรรเสริญพระบารมี.. ของไทยเรา ก็ยังประพันธ์โดย .. ไพโอตร์ ชูรอฟสกี้ .. นักประพันธ์เพลงและหัวหน้าวงดนตรีชาวรัสเซีย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงสดับเสียงดนตรีเป็นครั้งแรก ทรงพอพระทัยถึงกับพระราชทานกล่องยานัตถ์ทำด้วยเงินสลักพระปรมาภิไธยให้แก่ผู้ประพันธ์

ถ้านับย้อนกลับไป ในประวัติศาสตร์จะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทย-รัสเซีย เริ่มต้นขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ครั้งนั้นเรือเร็ว .. ไคดาม้าก .. และเรือลาดตระเวน .. โนวิก .. ของกองทัพรัสเซีย เข้ามาทอดสมอที่บริเวณปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2406 รัฐบาลไทยในสมัยนั้น แม้จะแคลงใจต่อการมาเยือนของเรือรบรัสเซีย ด้วยคาดไม่ถึง แต่ก็ต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดี ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-รัสเซีย ที่ก่อเกิดเมื่อ 150 ปีก่อน

ว่ากันว่า เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่มีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ทว่า ถ้าพิจารณาในรายละเอียดลึกๆ แล้วจะพบว่าไม่ได้เป็นเรื่องของมิตรภาพเพียวๆ .. ฉลอง สุนทราวณิชย์ .. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย จากสถานการณ์ในขณะนั้นไว้อย่างน่าสนใจ ใน .. รุสเซีย-ไทย สมัยรัชกาลที่ 5-6 .. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบันฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บันฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2516 สรุปได้ว่า ......

เรือรัสเซีย เข้ามาน่านน้ำเจ้าพระยาก็เพื่อดูลาดเลาสถานการณ์ ที่ทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษกำลังพยายามขยายอาณานิคมเข้ามาในไทย ด้วยเกรงจะกระทบกระเทือนผลประโยชน์ของตนในจีน ขณะที่ไทยเองก็หวังจะให้รัสเซียเข้ามาช่วยเจรจาให้ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมิตรกับรัสเซีย ยุติการรุกอธิปไตยของไทย

ฉะนั้น เมื่อมีข่าวว่ามกุฎราชกุมารของรัสเซียจะเสด็จผ่านทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อวางศิลาฤกษ์ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย ทรงส่ง .. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ .. เสนาบดีว่าการต่างประเทศในสมัยนั้น ให้ทูลเชิญประพาสไทย พร้อมทั้งให้อุปทูตไทยที่เบอร์ลินเดินทางไปเฝ้า .. พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก .. พระสหายสนิทของรัชกาลที่ 5 และเป็นพระญาติผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดทางฝ่ายพระราชมารดาของมกุฎราชกุมาร ช่วยสนับสนุนคำทูลเชิญของรัฐบาลไทย อันเป็นจุดเริ่มต้นของความแนบแน่นของสองราชวงศ์ .. โรมานอฟ-จักรี ..

20-24 มีนาคม พ.ศ.2433 มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซียเสด็จประพาสไทย พอปี พ.ศ.2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ทรงเสด็จเยือนพระสหาย-พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทว่า เมื่อรัสเซียประสบปัญหาสงครามกับญี่ปุ่นในตะวันออกไกล ประกอบกับความคาดหวังที่ว่า .. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ .. เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะกลับไปรับตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาล กลับหาเป็นเช่นนั้นไม่ ความสัมพันธ์กับไทยจึงห่างไป ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไทยแสดงความประสงค์ค่อนข้างชัดเจนกับความปรารถนาจะเจริญสัมพันธ์ทางการค้ากับรัสเซียเช่นที่มีต่อมหาอำนาจอื่นๆ

กระทั่งผลัดแผ่นดิน .. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว .. ทรงรับรองการอภิเษกสมรสและพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถอย่างเป็นทางการ ทำให้ฐานะสมเด็จเจ้าฟ้าไทยผู้มีปฏิสัมพันธ์ทางใจกับรัสเซีย มั่นคงขึ้นในราชสำนักและคณะรัฐบาล ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซียจึงฟื้นฟูขึ้นใหม่

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 รัสเซียเข้าร่วมสงครามข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ขณะที่ไทยประกาศความเป็นกลาง รัสเซียเริ่มหันมาสนใจทำสนธิสัญญาทางการค้า โดยหวังผลทางการเมืองเป็นสำคัญ ยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศรัสเซียทวีความคับขัน ยิ่งต้องหาทางยุติสงคราม .. โยเซฟ ลอลิส-เมลิกอฟ .. รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศคนใหม่จึงพยายามโน้มน้าวให้ไทยเข้าสู่สงคราม และแล้วเมื่อกลุ่มบอลเชวิคส์ยึดอำนาจจากรัฐบาลชั่วคราวสำเร็จ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เอกสารลับ เปิดเผยเบื้องหลังการเข้าสู่สงครามของรัฐบาลรัสเซียในอดีต

ปรากฏว่า ในนั้นมีเอกสารลับของ .. นายลอริส เมลิกอฟ .. ถึงกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย กล่าวหาว่า สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงรับสินบนจากรัฐบาลอังกฤษ ขณะเดียวกัน ..นายลอริส เมลิกอฟ.. ไม่มาชี้แจงข้อเท็จจริง ด้วยเหตุผลที่ว่าถูกเรียกตัวไปช่วยรัฐบาลชั่วคราวที่เมืองออมสก์ในไซบีเรีย ไม่อาจกลับเข้ามาทำหน้าที่ในตำแหน่งเดิมในกรุงเทพฯได้ ที่สุด เมื่อพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกปลงพระชนม์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1918 หรือ พ.ศ.2461 ความสัมพันธ์ระหว่างสองราชวงศ์ โรมานอฟ-จักรี เป็นอันสิ้นสุดลง

ศักราชแห่งความสัมพันธ์ครั้งใหม่ ระหว่างไทย-รัสเซีย อาจกล่าวได้ว่าเริ่มต้นขึ้นปลายปี พ.ศ.2534 เมื่อไทยรับรองสหพันธรัฐรัสเซียในฐานะรัฐอธิปไตย และกลับมายืนยันความประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความเป็นมิตร และความร่วมมือทางผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน แม้ว่าหลังจากการล่มสลายของสหภาพรัสเซีย .. หมีขาว .. พี่ใหญ่ของโลกฝ่ายซ้ายจะแตกออกเป็น 15 ประเทศ ทั้งยังประสบปัญหาด้านเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศและวิกฤตเศรษฐกิจ

ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีปูติน เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่แพ้ประเทศทางตะวันตก ห้วงเวลาของปลาใหญ่ล่าปลาน้อยเมื่อยุคอาณานิคมเปลี่ยนรูปแบบไปแล้ว การจะหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมในรูปแบบใหม่จำต้องปรับกระบวนยุทธ์ใหม่ จึงเกิดความสัมพันธ์ครั้งใหม่ไทย-รัสเซียในยุคที่เศรษฐกิจควบคู่ไปกับการเมือง โดยเฉพาะการประชุมผู้นำเอเปคที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในครั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจับตามองแบบห้ามกะพริบตา..!!
   ส่งหน้านี้ให้เพื่อน      ติดต่อเว็บมาสเตอร์    
13-03-2006 Views : 9568
หมวด ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย : 40 หัวข้อ   
    13-03-2006
  • ฟื้นสัมพันธ์ 150 ปี ไทย-รัสเซีย รับชื่นมื่น วลาดิมีร์ ปูติน
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ















18.97.9.168 = UNITED STATES    Saturday 14th December 2024  IP : 18.97.9.168   คนที่กำลังอ่าน      ส่งหน้านี้ให้เพื่อน     Bookmark and Share
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย

น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com