The Soviet-German War 1941 - 1945 Congratulations on your Victory Day วันที่ 9 พฤษภาคม ของทุกปี จะเป็นวันรำลึกสงครามโลกครั้งที่ 2 ของรัสเซีย ซึ่งถูกเยอรมันโอบล้อมไว้นาน เพื่อให้ขาดสะเบียงอาหาร แต่แล้วเมื่อเข้าฤดูหนาวทหารเยอรมันก็ทนทุกทรมานกับความเหน็บหนาวไม่ไหวเจ็บป่วยล้มตายไป ส่วนรัสเซียเองก็สูญเสียประชากรและทหารไปเป็นจำนวนมาก ผลสุดท้ายรัสเซียก็ชนะเยอรมันในที่สุด
จุดเริ่มของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเดือนมกราคม 1933 อดอฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคนาซี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง Chancellor ของประเทศเยอรมัน และเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศในที่สุด (Fuhrer) ในปี 1935 ฮิตเลอร์ได้เริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังตกต่ำอย่างรวดเร็ว และในวันที่ 16 มีนาคม 1935 ฮิตเลอร์ก็ประกาศเสริมสร้างกองทัพเยอรมันขึ้นใหม่ ซึ่งเท่ากับเป็นการฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย แต่เนื่องจากนโยบายต่างประเทศของเขา ที่พยายามแสดงให้พันธมิตรเห็นว่า เขาไม่ใช่ภัยคุกคามต่อพันธมิตร และเป็นผู้ที่ต้องการสันติภาพเช่นเดียวกับอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงแต่ต้องการฟื้นฟูประเทศเยอรมันที่ตกต่ำเท่านั้น ทำให้พันธมิตรนิ่งเฉยต่อการดำเนนิการของฮิตเลอร์ และแล้วในเดือนมีนาคม 1936 เขาก็ส่งทหารกลับเข้าไปยึดครองแคว้นไรน์ ที่ตามสนธิสัญญาแวร์ซายกำหนดให้เป็นเขตปลอดทหาร พร้อมๆกับส่งทหารเยอรมันเข้าสนับสนุน กองกำลังชาตินิยมของนายพลฟรังโก ในสงครามกลางเมืองในสเปน และลงนามเป็นพันธมิตรกับมุสโสลินีของอิตาลี เดือนมีนาคม 1938 ผนวกออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดอาณาจักรใหม่ของเยอรมัน นั่นคือ อาณาจักรไรซ์ที่สาม (the Third Reich - new German Empire) จากนั้นก็เข้ายึดครองตอนเหนือของเชคโกลโลวะเกียในเดือนกันยายน 1938 และยึดครองทั้งประเทศใน มีนาคม 1939 พร้อมๆกันนั้นฮิตเลอร์ก็เข้ายึดคองเมืองท่าเมเมล (Memel) ของลิธัวเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายเยอรมัน จากนั้นก็ยึดดานซิกและส่วนที่แบ่งแยกเยอรมัน กับปรัสเซียตะวันออกของโปแลนด์ รุ่งอรุณของวันที่ 1 กันยายน 1939 เครื่องบินของกองทัพอากาศเยอรมัน หรือลุฟวาฟ (Luftwaffe) ก็เริ่มต้นการทิ้งระเบิดถล่มจุดยุทธศาสตร์ในประเทศโปแลนด์ พร้อมๆกับกำลังรถถังและทหารราบ ก็เคลื่อนกำลังผ่านชายแดนโปแลนด์เข้าไปอย่างรวดเร็ว เป็นครั้งแรกที่โลกได้เห็นสงครามสายฟ้าแลบ (Blitzkeieg) ที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดนำ ตามด้วยยานเกราะและทหารราบ เข้าบดขยี้หน่วยทหารโปแลนด์ที่เสียขวัญ จากการทิ้งระเบิดของเครื่องบิน วันที่ 2 กันยายน อังกฤษและฝรั่งเศส ในฐานะประเทศพันธมิตรของโปแลนด์ ยื่นคำขาดต่อฝ่ายเยอรมัน ให้ถอนทหารออกจากโปแลนด์ แต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ วันที่ 3 กันยายน 1939 ฝรั่งเศสและอังกฤษ ประกาศสงครามกับเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อจากนี้ไป โลกจะนองไปด้วยเลือดและน้ำตา อีกเป็นเวลากว่า 5 ปี
บุกโซเวียต (รัสเซีย) หลังจากต้องเสียเวลาในการจัดการกับประเทศในบอลข่านแล้ว ฮิตเลอร์ก็เปิดฉากบุกรัสเซียในเวลา 03.30 รุ่งอรุณของวันที่ 22 มิถุนายน 1941 ในยุทธการบาร์บารอสซ่า เป็นเวลา 129 ปี หลังจากที่นโปเลียนโบนาปาร์ต จักรพรรดิ์แห่งฝรั่งเศส บุกรัสเซียเมื่อปี 1812 ทหารเยอรมันกว่าสามล้านคน รถถัง 3,580 คัน ปืนใหญ่ 7,184 กระบอก เครื่องบินกว่า 2,000 ลำ กำลังมุ่งหน้าเข้าไปสู่หล่มแห่งความหายนะครั้งยิ่งใหญ่ของอาณาจักรไรซ์ที่สาม ของฮิตเลอร์
บุกกรุงมอสโก วันที่ 19 มิ.ย. 1941 กลุ่มกองทัพกลาง (Army Group Centre) ของเยอรมัน เข้าโจมตี สโมเลนส์ (Smolensk) ห่างจากรุงมอสโคว์ 322 กม. กรุงมอสโคว์เป็นเป้าหมายหลักของกองทัพกลุ่มนี้ เพราะเป็นเมืองหลวง เป็นที่ตั้งของรัฐบาลสตาลิน ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ฮิตเลอร์ได้สั่งการให้กองทัพกลุ่มกลางแบ่งกำลังสองส่วน คือ กลุ่มกองทัพยานเกราะที่ 3 (3rd Panzer) ของนายพลแฮร์มาน โฮท (Hermann Hoth) และกลุ่มกองทัพยานเกราะที่ 2 (2nd Panzer) ของนายพลไฮนซ์ กูเดเรียน (Heinz Guderian) ไปช่วยกองทัพกลุ่มเหนือและใต้ แม้ว่าจะได้รับการทัดทานจากฝ่ายเสนาธิการว่าการแยกกำลังดังกล่าวออกไป จะทำให้ศักยภาพของกองทัพกลุ่มกลางด้อยลงและทำให้การยึดมอสโคว์ล่าช้าออกไป แต่ฮิตเลอร์ก็ไม่สนใจ เพราะฮิตเลอร์มองว่าเป็าหมายที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเขาก็คือ เลนินกราดทางตอนเหนือ และคอเคซัส ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันมหาศาลทางตอนใต้ ที่ฮิตเลอร์ต้องการเพื่อใช้ในการรุก ในที่สุดก็เป็นจริงตามที่ฝ่ายเสนาธิการได้คาดการณ์ไว้ การที่มียานเกราะไม่เพียงพอของกลุ่มกลาง ทำให้การรุกสู่มอสโคว์ช้ากว่าที่คาด กองทัพรัสเซีย ทำการต่อต้านอย่างเหนียวแน่นเกินคาด เยอรมันต้องปรับแนวรุกเป็นแนวตั้งรับฤดูหนาวเริ่มใกล้เข้ามาเรื่อยๆ กองทหารเยอรมันแทบไม่มีอุปกรณ์สำหรับการรบในฤดูหนาวที่ทารุณในรัสเซียเลย ฮิตเลอร์เองก็ตระหนักในเรื่องนี้ดี เขาจึงสั่งการให้กองทัพกลุ่มเหนือและใต้ส่งกำลังกลับไปสนับสนุนกองทัพกลุ่มกลางยึดมอสโคว์ แต่ทุกอย่างเริ่มส่อแววของความล้มเหลว กองทัพที่ 4 และกองทัพที่ 9 พร้อมทั้งกลุ่มหน่วยยานเกราะที่ 3 และ 4 เปิดฉากรุกสู่มอสโคว์อย่างรุนแรงในวันที่ 30 กันยายน เมืองวาซมา (Vyazma) ซึ่งอยู่ห่างจากมอสโคว์ 200 กม.ถูกโอบล้อมและตกเป็นของเยอรมัน มีทหารรัสเซีย 663,000 คนถูกจับเป็นเชลย รถถัง 1,242 คัน และปืนใหญ่ 5,412 กระบอกถูกยึด ในวันที่ 14 ตุลาคม เมืองคาลินิน (Kalinin) แตก สตาลินซึ่งอยู่ที่มอสโคว์สั่งการอพยพ และเสริมแนวป้องกัน โดยมอบหมายให้นายพลซูคอฟ (Zhukov) เป็นผู้บัญชาการ ฝนก่อนฤดูหนาวเริ่มตกลงมาอย่างหนัก ดินเริ่มกลายเป็นโคลนเลนที่สูงนับเป็นเมตร การรุกถูกทำให้ช้าลง ถนนหนทางแทบใช้การไม่ได้ ช่วงนี้เองที่ทางรัสเซียทำการเสริมแนวรบอย่างเต็มที่ ซูคอฟได้ระดมกำลังพลที่สดชื่น มีอุปกรณ์สำหรับฤดูหนาวมาจากไซบีเรีย โดยที่ฝ่ายข่าวกรองของเยอรมันไม่รู้ระแคะระคาย ซูคอฟรู้ดีว่ากำลังของเขาที่มีอยู่กำลังจะได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรที่สำคัญของรัสเซียนั่นคือ ฤดูหนาว (General Winter)
ขณะที่กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปเรื่อยๆนั้น ฝนก่อนฤดูหนาวก็มาถึง พื้นดินทั่วไป ตลอดจนถนนหนทางที่เป็นฝุ่นหนาเตอะ กลายเป็นโคลนตม ขัดขวางการรุกของยานเกราะเยอรมัน ความล่าช้าที่เกิดขึ้น ทำให้รัสเซียมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น กองหนุนจำนวนมหาศาลจากไซบีเรียได้เดินทางมาถึงโดยที่เยอรมันไม่รู้เลย ทหารเหล่านี้มีอุปกรณ์กันหนาวมาพร้อม มีความสดชื่น และกำลังใจที่ดีเยี่ยม ทหารเยอรมันคนหนึ่งเขียนในจดหมายว่า พวกไซบีเรียนี้สามารถนอนพรางอยู่ในหิมะได้ทั้งวันโดยที่ไม่สามารถสังเกตุเห็นได้ พอตกกลางคืน พวกทหารเหล่านี้ก็จะโผล่ออกมาโจมตี วันที่ 3 พฤศจิกายน ความหนาวเย็นแรกก็มาถึง โคลเลนได้จับตัวเป็นน้ำแข็ง ยานเกราะของเยอรมันเริ่มรุกไปข้างหน้าได้สะดวกขึ้น แต่อุณหภูมิที่ต่ำกว่าสามสิบองศาใต้จุดเยือกแข็ง ทำให้ทหารเยอรมันที่ไม่ได้เตรียมอุปกรณ์สำหรับการรบในฤดูหนาวที่ทารุณมาเลยประสบกับปัญหา ทหารจำนวนมากถูกหิมะกัด ยานเกราะ ยานหาหนะทั่วไปติดเครื่องไม่ได้ เพราะน้ำมันเครื่องจับตัวเป็นน้ำแข็ง อาวุธปืนไม่ทำงาน น้ำแข็งเกาะอยู่ในรังเพลิงและลูกเลื่อน น้ำมันชโลมปืนกลายเป็นน้ำแข็ง อย่างไรก็ตามทหารเยอรมันที่อ่อนล้าจากการรุกมาตั้งแต่เปิดยุทธการบาร์บารอสซ่า ก็ยังแสดงให้เห็นถึงเป็นนักรบที่ห้าวหาญ พยายามรุกเข้าสู่มอสโคว์ต่อไป วันที่ 4 ธันวาคม 1941 กองพันลาดตระเวณของหน่วยเอส.เอส. ดาส ไรซ์ (Das Reich) ได้รุกไปถึงสนานีรถรางชานเมืองมอสโคว์ แต่ความหนาวเย็นที่โหดร้าย สร้างความเสียหายให้เยอรมันอย่างมาก บางคนถูกหิมะกัดจนเนื้อเน่าเฟะ แม้จะพยายามฆ่าตัวตายหนีความทรมานก็ทำไม่ได้เนื่องจากอาวุธปืนใช้ไม่ได้ สิ่งที่สามารถทำได้ก็คือปลดสลักระเบิด ซึ่งเป็นอาวุธอย่างเดียวที่ยังทำงานอยู่ แล้วนอนกอดมันไว้เท่านั้น วันที่ 18 ธันวาคม นายพลซูคอฟได้ใช้กำลังจากไซบีเรียตีโต้เยอรมันในทุกแนวรบที่ยาว 322 กิโลเมตร วันที่ 18 ธันวาคม ฮิตเลอร์ประกาศสงครามกับอเมริกา ภายหลังจากที่ญี่ป่นโจมตีเพริล ฮาร์เบอร์ เยอรมันกำลังเผชิญกับแนวทั้งสองด้าน ข่าวร้ายล่าสุดที่มาถึงก็คือ กองเยอรมันถูกตีแตก ต้องร่นถอยมาปรับแนวเป็นแนวตั้งรับที่มอสดคซ์ โอกาสที่จะยึดครองมอสโคว์นั้นหมดไปแล้ว กำลังรัสเซียสดชื่น และกำลังทหารเยอรมันอ่อนล้าเกินไป รวมทั้งฤดูหนาวก็ทารุณเกินไปสำหรับการรุกของเยอรมัน
บุกสตาลินกราด (โวลโกกราด) การรบที่สตาลินกราดนั้น เป็นเสมือนจุดหักเหอีกจุดหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ต้องการยึดเมืองนี้ให้ได้ เพื่อขวัญและกำลังใจของกองทัพเยอรมัน รัสเซียก็ต้องพยายามรักษาเมืองนี้ให้ได้ เพราะชื่อของเมือง เป็นสัญญลักษณ์ของสตาลิน ผู้นำประเทศรัสเซียในขณะนั้น การรบที่ต้องเดิมพันกันด้วยเกียรติยศของชาติจึงได้เกิดขึ้นที่เมืองสตาลินกราดแห่งนี้ ทหารเยอรมันขณะเริ่มยุทธการบาร์บารอสซา (Barbarrossa) เพื่อรุกเข้าสู่ประเทศรัสเซีย โดยไม่คาดว่าความหายนะครั้งยิ่งใหญ่กำลังรออยู่ข้างหน้า นับแต่เริ่มยุทธการบาร์บาร์รอสซ่า (Barbarrossa) เยอรมันทำการรบอย่างสายฟ้าแลบ ท่ามกลางความตื่นตระหนก และเสียขวัญของกองทัพรัสเซีย เพราะไม่คาดคิดมาก่อนว่า เยอรมันจะโจมตีตนเอง กองทัพเยอรมันรุกอย่างรวดเร็ว หน่วยยานเกราะ Panzer เป็นหัวหอกนำ สนับสนุนด้วยหน่วยบิน Lufwaffe ที่ทิ้งระเบิดโจมตีจุดยุทธศาสตร์ และกองกำลังของรัสเซีย หน่วยทหารตามเข้าตีอย่างต่อเนื่อง ในช่วงแรกๆ มีทหารรัสเซียถูกจับเป็นเชลยนับแสน อย่างไรก็ตาม ยิ่งรุกเร็วมากเท่าไร หน่วยส่งกำลังบำรุงและเสบียงของกองทัพเยอรมันก็ยิ่งถูกทิ้งห่างจากแนวหน้ามากขึ้นเท่านั้น และในที่สุด กองทัพที่ 6 ของเยอรมัยก็รุกเข้าไปจนสุดสายการส่งกำลังบำรุง ณ เมืองเมืองหนึ่ง ริมแม่น้ำวอลก้า เมืองที่มีชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำรัสเซีย โจเซฟ สตาลิน นั่นคือเมือง สตาลินกราด กองทัพที่ 6 ของนายพล ฟอน เปารัส (Paulus) มีเป้าหมายหลักที่สำคัญอยู่ที่เมืองสตาลินกราด โดยมีกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ของพลเอก แฮร์มนาน์ โฮท (Colonel General Hermann Hoth) กองทัพทั้งสองได้มุ่งหน้าสู่เมืองสตาลินกราดอย่างมั่นคง กวาดล้างกองทัพแดง ของรัสเซียลงอย่างราบคาบ แต่แล้ว ฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีเยอรมัน ก็ได้เข้ามาก้าวก่ายการวางแผนของฝ่ายเสนาธิการเยอรมัน โดยสั่งการให้ กองทัพแพนเซอร์ที่ 4 มุ่งหน้าลงใต้สู่คอเคซัส ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันที่มีค่ามหาศาล เพื่อยึดทรัพยากรดังกล่าว แม้ฝ่ายเสนาธิการจะได้ทัดทานว่า การกำหนดเป้าหมายหลักทางทหารสองแห่งพร้อมๆกัน จะทำให้กำลังที่กำลังรุกไปข้างหน้าเสียสมดุล และขาดความเข็มแข็งที่แท้จริง เนื่องจากจะต้องมีแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน แทนที่จะทุ่มไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่ฮิตเลอร์ก็หาได้ฟังคำทัดทานนั้นไม่ กองทัพแพนเซอร์ที่ 4 จึงถูกแยกออกจากกองทัพที่ 6 และทำให้ กองทัพที่ 6 รุกไปสู่สตาลินกราดได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ฝ่ายรัสเซียมีเวลาในการเตรียมการ และนั่นคือจุดผิดพลาดอันยิ่งใหญ่จุดหนึ่งของเยอรมัน
ครึ่งเดือนต่อมา ฮิตเลอร์เปลี่ยนใจและสั่งการให้กองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ซึ่งเป็นกองทัพยานเกราะ กลับไปช่วยกองทัพที่ 6 ของนายพลเปารัส แต่ก็ช้าไป ในวันที่ 9 สิงหาคม 1942 เนื่องจากต้องเคลื่อนย้ายไปๆมาๆ ทำให้กองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ของนายพลโฮท ต้องหยุดลงเนื่องจากขาดน้ำมันและอาหาร โดยหยุดอยู่ห่างจากสตาลินกราดเพียง 160 กิโลเมตร ในขณะที่กองทัพที่ 6 ได้ข้ามแม่น้ำดอน (Don) มุ่งเข้าสู่ชานเมืองสตาลินกราด กองทัพที่ 62 และ 64 ของฝ่ายรัสเซียที่อยู่ในเมืองทำการต่อต้านอย่างเหนียวแน่น เยอรมันสร้างสนามบิน เพื่อการส่งกำลังบำรุงบริเวณช่องว่างระหว่างแม่น้ำดอน และแม่น้ำวอลก้า (Volga) เพื่อให้กองทัพอากาศที่ 4( Luftflotte 4) สามารถลำเลียงอาวุธยุทธปัจจัยได้สะดวกขึ้น และในวันที่ 2 กันยายน กองทัพที่ 6 และกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 จึงสามารถเชื่อมต่อกันได้
การรุกเข้าไปสู่สตาลินกราด กล่าวได้ว่าทุกเมตร ทุกหลา เต็มไปด้วยการต่อสู้อย่างนองเลือด เยอรมันพยายามทำลายตึกรามต่างๆ ด้วยปืนใหญ่และการทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน แต่สตาลินกราดเป็นเมืองสมัยใหม่ ตึกต่างๆถูกสร้างอย่างแน่นหนา การโจมตีของเยอรมันจึงเพียงแต่ทำลายรูปทรงอาคารเท่านั้น ตึกต่างๆถูกยุบ ทำลายลงเป็นเสมือนป้อมปราการให้ฝ่ายรัสเซีย ที่ใช้ทุกมุม ทุกซอก ต่อต้านทหารเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการต่อสู้อย่างหนัก เยอรมันก็เข้าถึงใจกลางเมืองได้ และมุ่งหน้าสู่เขตอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดหนัก ในวันที่ 29 กันยายน ทหารรัสเซียภายใต้การนำของนายพลชุยคอฟ (Chuikov) ก็เข้าตีตอบโต้ นายพลของรัสเซียอีกคนหนึ่งคือนายพลซูคอฟ (Zhukov) ได้เตรียมกำลังที่สดชื่นและมีจำนวนมหาศาล รอคอยการตีโต้ตอบด้วยเช่นกัน การตีโต้เริ่มขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน กำลังจำนวนมหาศาลของรัสเซียสร้างความประหลาดใจให้กับกองทหารเยอรมันที่อ่อนล้า ภายในเวลาแค่ 24 ชม. กองทหารเยอรมัน และทหารรูเมเนีย ซึ่งร่วมกับทหารเยอรมันในฐานะฝ่ายอักษะ ถูกตีแตกกระจัดกระจายและทำการโอบล้อมทหารเยอรมันจำนวน 270,000 คนให้ตกอยู่ในวงล้อมภายในสตาลินกราด
ในขณะที่วงล้อมยังไม่แข็งแรง ฝ่ายเสนาธิการของเยอรมันเสนอให้ฮิตเลอร์ถอนกองทัพที่ 6 ออกจากสตาลินกราด เพื่อจัดแนวใหม่ แต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ พร้อมกับออกคำสั่งให้ทหารเยอรมันสู้จนคนสุดท้าย นับเป็นความผิดพลาดอีกครั้งหนึ่ง ทหารเยอรมันต่อสู้อย่างสมเกียรติ และห้าวหาญ นายพลแมนสไตน์ (Erich Von Manstein) ของเยอรมันนำทัพมาช่วย โดยอยู่ห่างจากเมือง 48 กม. และขอให้นายพลเปารัศ นำกองทัพที่ 6 ฝ่าออกมา แต่เปารัสปฏิเสธ และขอสู้ตามคำสั่งของฮิตเลอร์ ฮิตเลอร์ตอบสนองด้วยการแต่งตั้งเปารัสเป็นจอมพล เพราะยังไม่เคยมีจอมพลของเยอรมันที่ยอมแพ้ข้าศึก ขณะเดียวกันรัสเซียก็เริ่มบีบวงล้อมให้แน่นขึ้น สนามบินซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่สามารถส่งกำลังบำรุงให้กองทัพที่ 6 ก็ตกเป็นของรัสเซีย ในวันที่ 25 มกราคม จากวิทยุที่ได้รับรายงานจากสตาลินกราด แสดงให้เห็นว่าทหารรัสเซียกำลังบุกเข้ามาทุกทิศทุกทาง บางส่วนอยู่ที่หน้ากองบัญชาการของจอมพลเปารัส กองทัพน้อยที่ 11 ของเยอรมันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพที่ 6 พยายามต่อต้านอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่สามารถต้านทานได้ เนื่องจากขาดกระสุน และยุทโธปกรณ์ที่จำเป็น ในที่สุด วันที่ 2 กุมภาพันธ์ จอมพลเปารัสก็สั่งให้ทหารเยอรมันยอมจำนน ทหารเยอรมันกว่า 200,000 คนถูกจับ จำนวนนี้เพียง 5,000 คนที่รอดชีวิตจากค่ายเชลยอันทารุณของรัสเซีย ฮิตเลอร์ ได้รับรู้ถึงรสชาดของความพ่ายแพ้ ความพ่ายแพ้ที่เป็นจุดวกกลับจุดหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2
การรบเกิดขึ้นเมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2485 -2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 สถานที่ทำการรบ สตาลินกราด, สหภาพโซเวียต
- ผลการรบ โซเวียตชนะศึก
- รัสเซีย เสียชีวิต 1,100,000 นาย
- และได้รับบาดเจ็บสาหัสและถูกจับเป็นเชลย 750,000 นาย
- ส่วนพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 40,000 คน
|