26 เมษายน วันนี้ครบรอบ 26 ปี โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด
26 เมษายน พ.ศ. 2529 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl Nuclear Power Plant) ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน (สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) ระเบิด
หลังจากที่ทีมวิศวกรตรวจสอบการทำงานของระบบทำความเย็น โดยปิดระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อแรงดันไอน้ำภายในสูงขึ้นอย่างฉับพลันแต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติกลับ ไม่ทำงาน ส่งผลให้ให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ระเบิด สารกัมมันตรังสีเกือบทั้งหมดแพร่กระจายสู่บรรยากาศ ในรัศมี 30 กิโลเมตรมีการเปรอะเปื้อนรังสีสูง ถูกประกาศเป็นเขตอันตราย (Zone of alienation) สารกัมมันตภาพรังสีลอยออกไปปนเปื้อนทั้งในอากาศ แม่น้ำ ผืนดิน ทั่วทวีปยุโรปกว่า 3.9 ล้านตารางกิโลเมตร ต้องอพยพประชาชนประมาณ 336,000 คน
หลังอุบัติเหตุ รัฐบาลยูเครนพยายามปิดข่าว แจ้งเพียงแค่ว่ามีเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิตจำนวน 31 คน มีผู้บาดเจ็บจากกัมมันตรังสี 203 คน แต่ด้วยความต้องการไฟฟ้าจำนวนมาก รัฐบาลยูเครนก็สั่งเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เหลือในปี 2534 ก่อนที่โรงงานแห่งนี้จะปิดตัวเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ในปี 2545 องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้สรุปผลความเสียหายว่า มีผู้เสียชีวิตจากแรงระเบิดโดยตรง 47 ราย และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีก 9,000 คน จากจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดประมาณ 6.6 ล้านคน ซึ่ง 4,000 คนมีสาเหตุจากโรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ที่เหลือจากโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ และโรคอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจอีกจำนวนมาก นับว่าเป็นหายนะภัยจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่รุนแรงที่สุดในโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หายนะภัยเชอร์โนเบลทำให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ ที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิถึง 200 เท่า
บุคคลในคลิป คือทหารรัสเซีย ทั้งหมดวัย 18-25 ปี ที่เสียสละกู้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิล ขณะเกิดอุบัติภัย โดยมีกัมมันตภาพรังสีที่สูงกว่าจุดอันตรายต่อชีวิตถึง 15 เท่า ผลคือกู้สำเร็จ แต่บุคคลในคลิปต้องมาตายเพราะกัมมันตภาพรังสีทุกคน
การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำให้ต้องนึกย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2529 ที่เกิดโศกนาฏกรรมจากภัยพิบัติทางนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของโลก วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2529 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน (สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) เกิดการระเบิด หลังจากที่ทีมวิศวกรตรวจสอบการทำงานของระบบทำความเย็น โดยปิดระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อแรงดันไอน้ำภายในสูงขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติกลับไม่ทำงาน ส่งผลให้ให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ระเบิด ทำให้มีเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิตจำนวน 31 คน มีผู้บาดเจ็บทางกัมมันตรังสี 203 คน
ทั้งนี้สารกัมมันตรังสี ลอยออกไปปนเปื้อนทั้งในอากาศ แม่น้ำ ผืนดิน ทั่วทวีปยุโรปกว่า 3.9 ล้านตารางกิโลเมตร ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซียต้องอพยพประชาชนประมาณ 336,000 คนออกจากพื้นที่อันตรายโดยด่วน ความเสียหายในครั้งนั้นประเมินกันว่า มีความหายนะร้ายแรงกว่าการทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มนางาซากิและฮิโรชิมาใน ญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2488 ถึง 200 เท่า
อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าเชอร์โนบิลจะปิดตัวลงแล้ว แต่ก็ยังคงมีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศ ทำให้ประชาชนอีก 5.5 ล้านคน ที่ยังคงอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นได้รับผลกระทบจากภาวะกัมมันตภาพรังสี ที่แผ่ออกมาปนเปื้อนอยู่ จนหลายๆประเทศต่างหันมาทบทวนโยบานด้านนิวเคลียร์กันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งมีการรวมกลุ่มจัดตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ด้วย
เข้าชม : 9799
|