| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : 12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
ทาจิกิสถาน (Tajikistan) | ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
ทาจิกิสถาน (อังกฤษ: Tajikistan) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน (อังกฤษ: Republic of Tajikistan; ทาจิก: Ҷумҳурии Тоҷикистон, جمهوری تاجیکستان) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคเอเชียกลาง มีอาณาเขตติดต่อกับอัฟกานิสถาน จีน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
ทาจิกิสถานได้ได้รับเอกราชในปี 1990 ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แต่ในช่วงแรก การเมืองภายในประเทศขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มชาตินิยม กลุ่ม Neo-communist และกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว 60,000 คน ต่อมากลุ่มอิสลามหัวรุนแรงได้อพยพออกนอกประเทศพร้อมด้วยประชาชนหลายหมื่นคน ไปตั้งมั่นอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และกลับเข้ามาปฏิบัติการแบบกองโจรในทาจิกิสถาน ทำให้รัฐบาลทาจิกิสถานต้องพึ่งกองกำลังรัสเซียดูแลแนวชายแดนทาจิกิสถาน-อัฟกานิสถาน และมีการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี จนในปี 1997 จึงมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างประธานาธิบดี Emomali Rahmonov กับนาย Sayed Abdulla Nuri ผู้นำกลุ่มแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล (United Tajik Opposition - UTO)
สถานการณ์ทางการเมืองของทาจิกิสถานมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2005 ปรากฏว่า พรรค Peoples Democratic ของประธานาธิบดี Rahmonov ได้ รับคะแนนเสียงร้อยละ 80 ทั้งนี้ ทาจิกิสถานถูกวิพากษ์วิจารณ์มากจาก The Organization for Security and the Cooperation in Europe (OSCE) และพรรคฝ่ายค้านว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใส สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งนักวิเคราะห์การเมืองคาดว่า ประธานาธิบดี Emomali Rahmonov จะได้รับชัยชนะอีกครั้งหนึ่ง
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ทาจิกิสถานเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดใน CIS ไม่มีน้ำมันและทางออกทะเล สินค้าเด่นคือ ฝ้ายและอลูมิเนียม และสามารถสามารถผลิตพลังงานน้ำได้ร้อยละ 4 ของผลการผลิตพลังงานน้ำโลกทั้งหมด แต่ในปัจจุบันยังขาดการลงทุน จึงยังไม่สามารถผลิตได้เต็มศักยภาพ รวมทั้งยังอยู่ระหว่างการวางระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็น ปัจจุบัน มีบริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนและดำเนินธุรกิจหลายประเทศ ที่สำคัญ คือ สหราชอาณาจักร รัสเซีย สหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ยังมีประเทศอื่นๆ อาทิ อิหร่าน จีน อินเดีย ตุรกี เกาหลีใต้ อิตาลี เวียดนาม อินโดนีเซีย
สถานการณ์ด้านสังคม ปัญหาความยากจน การว่างงาน ระบบสุขอนามัยที่ไม่ได้มาตรฐาน และ
ยาเสพติด เป็นปัญหาสำคัญในทาจิกิสถาน
มรดกโลกของ ทาจิกิสถาน
Proto-urban site of Sarazm (แหล่งโบราณคดีกึ่งก่อนเมืองซาราซัม)
ซาราซัม หมายถึง "ที่ซึ่งแผ่นดินเริ่มขึ้น" เป็นแหล่งโบราณคดีที่แสดงหลักฐานพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในเอเชียกลาง มีอายุตั้งแต่ ๔,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ซากปรักหักพังแสดงถึงพัฒนาการในช่วงต้นของสังคมกึ่งก่อนเมืองในภูมิภาคแถบนี้
ศูนย์กลางของการตั้งถิ่นฐานนี้เป็นหนึ่งในแหล่งที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียกลาง การตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ระหว่างภูเขาที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสัตว์แบบตามทุ่งโดยพวกเร่ร่อน และพื้นที่หุบเขาอันกว้างใหญ่นำไปสู่พัฒนาการด้านเกษตรกรรมและชลประทานโดยประชากรกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในบริเวณนี้ ซาราซัมแสดงให้เห็นว่ามีการแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างผู้คนที่แผ่ขยายออกไปตามสภาพภูมิศาสตร์ จากทุ่งหญ้าสเตปป์ในเอเชียกลางและเติร์กเมนิสถานไปยังที่ราบสูงอิหร่าน ลุ่มแม่น้ำสินธุ และไกลไปถึงมหาสมุทรอินเดีย |
|