เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : 12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
ยูเครน (Ukraine) ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
ยูเครน (อังกฤษ: Ukraine; ยูเครน: Україна, Ukrayina [ukraˈjina]; รัสเซีย: Украина) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ส่วนทางใต้จรดทะเลดำยูเครนก็เคยเป็นดินแดนของรัสเซีย
พื้นที่ประเทศยูเครนในคริสต์ศตวรรษที่ 9 เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมสลาฟตะวันออกในยุคกลาง ซึ่งส่งผลให้เกิดรัฐที่มีอำนาจในแถบนั้นในชื่อ เคียฟรุส (Kievan Rus') อีกหลายศตวรรษหลังจากนั้นจึงถูกแบ่งไประหว่างกลุ่มอำนาจต่าง ๆ โดยเฉพาะรัสเซีย โปแลนด์ และจักรวรรดิออตโตมัน โดยมีเอกราชระยะสั้น ๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2460-2464 อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติรัสเซีย จากนั้นได้กลายเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2465 ชายแดนในปัจจุบันเพิ่งได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 2497 ยูเครนเป็นเอกราชอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534
ยูเครน ( Ukraine)
เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ส่วนทางใต้จรดทะเลดำยูเครนก็เคยเป็นดินแดนของรัสเซีย พื้นที่ประเทศยูเครนในคริสต์ศตวรรษที่ 9 เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมสลาฟตะวันออกในยุคกลาง ซึ่งส่งผลให้เกิดรัฐที่มีอำนาจในแถบนั้นในชื่อ เคียฟรุส ( Kievan Rus') อีกหลายศตวรรษหลังจากนั้นจึงถูกแบ่งไประหว่างกลุ่มอำนาจต่าง ๆ โดยเฉพาะรัสเซีย โปแลนด์ และจักรวรรดิออตโตมัน โดยมีเอกราชระยะสั้น ๆ ในช่วงปี พ . ศ . 2460-2464 อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติรัสเซีย จากนั้นได้กลายเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียตในปี พ . ศ . 2465 ชายแดนในปัจจุบันเพิ่งได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ . ศ . 2497
เมืองหลวง กรุงเคียฟ ( Kyiv) ประชากรจำนวน 2.8 ล้านคน เป็นเมืองหลวงเก่าของอาณาจักรคีฟรุสโบราณ ( Kievan Rus) และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ในสมัยจักรวรรดิรัสเซีย และสหภาพโซเวียต รองจากมอสโก และเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ที่ตั้ง
อยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ติดกับทะเลดำ และอยู่ระหว่างโปแลนด์ กับรัสเซีย ทิศเหนือจรดพรมแดนรัสเซียและเบลารุส ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อรัสเซีย ทิศตะวันตกจรดพรมแดนโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทิศใต้ติดทะเลดำและทะเล Azov ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดพรมแดนโรมาเนีย และมอลโดวา
พื้นที่ 603,700 ตารางกิโลเมตร ( ใหญ่เป็นอันดับสองในยุโรป รองจากรัสเซีย และเป็น 1.17 เท่าของไทย ) ร้อยละ 58 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ มีเทือกเขา Carpathian ทางด้านตะวันตก เฉียงใต้ มีแม่น้ำสำคัญๆ ของทวีปยุโรปไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำดนีเปอร์ แม่น้ำดนีสเตอร์ และแม่น้ำดานูบ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลดำ
ประชากร 46,299,862 คน ( กรกฎาคม 2550)
ชาวยูเครน 77.8% ชาวรัสเซีย 17.3% อื่นๆ 4.9 % (2544) วันชาต ิ 24 สิงหาคม ภูมิอากาศ แบบภาคพื้นทวีปอบอุ่น มี 4 ฤดู ยกเว้นบริเวณชายฝั่งทะเลแถบแหลมไครเมียทางตอนใต้ ซึ่งมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในฤดูหนาวพื้นที่บริเวณภายในประเทศ จะมีอากาศหนาวเย็นกว่าพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลดำ ภาษาราชการ ภาษายูเครน หรือ Little Russian ( ตระกูลภาษาสลาฟ ) เป็นภาษาราชการ และมีการใช้ภาษารัสเซียอย่างกว้างขวาง
ศาสนา
ศาสนาคริสต์นิกาย Ukrainian Orthodox เป็นศาสนาประจำชาติ นับถือกว่า ร้อยละ 85 เขตการปกครอง 24 จังหวัด ( Oblasts) 1 เขตการปกครองอิสระ และ 2 เทศบาล โดยมีสถานะเทียบเท่าจังหวัด หน่วยเงินตรา Hryvnia ( กริฟน่า ) อัตราแลกเปลี่ยน 1 USD = 5.05 Hryvnia (14 มกราคม 2551) เช็คอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก เขตเวลา UTC/GMT +2 ชั่วโมง ( เวลาที่กรุงเคียฟช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมงในฤดูร้อน และช้ากว่าไทย 5 ชั่วโมงในฤดูหนาว )
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป สมัยประวัติศาสตร์
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาว Nomad โดยเฉพาะชาว Scythian เป็นพวกแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในยูเครนในช่วงก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวเผ่าสลาฟได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลางและตะวันออกของยูเครน อย่างไรก็ดี ชนชาติสำคัญที่มีบทบาทในการรวบรวมดินแดนบริเวณนี้ให้เป็นปึกแผ่นคือชาวรุส ( Rus) ที่มาจากสแกนดิเนเวีย โดยต่อมาชาวรุสได้สถาปนาอาณาจักร Kievan Rus ขึ้นในศตวรรษที่ 6 และปกครองชาวสลาฟที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ และต่อมาได้ขยายดินแดนออกไปรวบรวมเผ่าสลาฟและชนชาติต่างๆ จนเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในศตวรรษที่ 11 แต่ในศตวรรษที่ 12 อาณาจักรนี้ได้เสื่อมสลายลง เนื่องจากสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่างๆ และการรุกรานจากชาวมองโกลในศตวรรษต่อมา หลังจากนั้น ดินแดนบางส่วนของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรต่างๆ อาทิ ลิทัวเนีย โปแลนด์ ออสโตร - ฮังกาเรียน และรัสเซีย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยูเครนได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซียและราชวงศ์ฮับสบวร์กเป็นครั้งแรกในปีค . ศ .1918 แต่ต่อมากระแสการปฏิวัติในรัสเซียได้ลุกลามมายังยูเครน ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น หลังจากนั้น ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับโปแลนด์ ในขณะที่ดินแดนตอนกลางและตะวันออกถูกผนวกรวมกับรัสเซียในฐานะ Ukrainian Soviet Socialist Republic ในปีค . ศ .1922 ภายใต้ระบอบสหภาพโซเวียต ชาวยูเครนถูกบังคับให้เลิกใช้ภาษาของตนเอง นอกจากนี้ ในช่วงปี ค . ศ . 1932-1933 ประธานาธิบดีสตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต ยังได้ใช้มาตรการ Holodomor (Famine) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระบบนารวมของสหภาพโซเวียตกับชาวยูเครน อันส่งผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงและการขาดแคลนอาหารขึ้นทั่วประเทศ และชาวยูเครนกว่า 7 ล้านคนต้องเสียชีวิตลง ชาวนาและปัญญาชนที่ต่อต้านระบบดังกล่าวถูกกวาดล้างหรือเนรเทศไปยังไซบีเรีย
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวยูเครนให้การสนับสนุนกองทัพของนาซีเยอรมัน เพื่อเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต แต่ต่อมาได้หันไปต่อต้าน เนื่องจากกองทัพเยอรมันปกครองอย่างกดขี่และทารุณ โดยในช่วงดังกล่าว ชาวยิวในยูเครนกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารหมู่และ กรุงเคียฟ ถูกเผาทำลาย อย่างไรก็ดี หลังจากที่กองทัพนาซีบุกโปแลนด์ในปีค . ศ .1939 ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนที่เดิมอยู่ภายใต้โปแลนด์ได้ถูกผนวกรวมกับสหภาพโซเวียต
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสชาตินิยมในยูเครนขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสหภาพโซเวียต ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วสหภาพโซเวียตและการพยายามปิดบังข้อมูลของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพโซเวียตต่อกรณีการระเบิดของโรงงานปฏิกรณ์ปรมาณู Chernobyl ที่ตั้งอยู่ในยูเครนในปีค . ศ .1986 และเมื่อประธานาธิบดีกอร์บาชอฟดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางการเมือง ได้ส่งผลให้รัฐบาลของสหภาพโซเวียตจำเป็นต้องให้อำนาจแก่สาธารณรัฐและดินแดนปกครองตนเองต่างๆ มากขึ้น กระแสการเรียกร้องสิทธิที่จะปกครองตนเองในยูเครนดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง และในที่สุดยูเครนได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค . ศ . 1991 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค . ศ .1991 ชาวยูเครนได้ลงประชามติให้ยูเครนประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต
สถานที่ท่องเที่ยวของยูเครน
จัตุรัส Jaturus mykhailivska
จัตุรัสที่สวยงามคลาสสิค และเป็นจุดโดดเด่นที่สุดของกรุงเคียฟ และเป็นที่ตั้ง อาคารรัฐสภายูเครน ซึ่งสร้างเมื่อปี 1936 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ถูกทำลายลงและได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่เมื่อปี 1946 นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้ง อนุสาวรีย์แห่งมิตรภาพของรัสเซียและยูเครน ที่มีการสร้างด้วยหินแกรนิตโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม ทำให้มีลักษณะสวยงามและเป็นอนุสรณ์สถานแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด
โบสถ์เซนต์ไมเคิล
สร้างในศตวรรษที่ 12 ซึ่งถูกทำลายในสมัยที่ปกครอง ด้วยระบอบสังคมนิยม ภายหลังจากที่ระบอบสังคมนิยมล่มสลาย ประชาชนได้เรียกรองให้มีการสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่ โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี ในการบูรณะซ่อมแซม โบสถ์เซนต์ไมเคิลหรือ โดมทองคำ ( St.Michaels Golden-Domed) เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาคริสต์นิกายยูเครนเนีย ออร์โธด็อกซ์ อยู่ริมแม่น้ำนีเปอร์ และอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาวิหารเซนต์โซเฟีย ( St.Sophia Cathedral) โบสถ์เซนต์ไมเคิลสร้างในยุคกลางสมัยกษัตริย์ Sviatopolk II Iziaslavich ที่ปกครองดินแดน Kievan Rus ในปี 1050-1113
ดินแดนแห่งนี้เป็นรัฐอิสระ มีอาณาเขตอยู่ในประเทศยูเครนปัจจุบัน รูปแบบการก่อสร้างเป็นศิลปะแบบยูเครนเนีย บาร็อก ด้านในตกแต่งแบบไบแซนไทน์ มีลักษณะเหมือนโบสถ์หลายแห่งในรัสเซียและตุรกี นับตั้งแต่ยูเครนได้รับเอกราชจากรัสเซีย รัฐบาลได้ทำการบูรณะโบสถ์แห่งนี้ใหม่หมด พร้อมทั้งเปิดอย่างเป็นทางการให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 1999
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสมบัติล้ำค่าของยูเครน เช่นเครื่องเพชรพลอยโบราณ และภาพวาด ฯลฯ นำท่านชม พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ชมอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่ปลดประจำการสมัยสงครามโลก ครั้งที่นาซีเยอรมัน บุกเข้ากรุงเคียฟ ซึ่งภายหลังจากสงครามสงบแล้ว ได้เก็บรวบรวมอาวุธต่างๆ เพื่อไว้เตือนใจชนรุ่นหลังให้ระลึกถึงเหล่าวีรชนผู้กล้าหาญ
พระราชวังโวรอนซอฟ (VORONTSOVS PALACE)
ซึ่งเป็นพระราชวัง ที่ถูกดำริให้สร้างในปี 1828 โดย MIKHAIL VORONTSOV มีพื้นที่ทั้งหมด 40 เฮกเตอร์ ) ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ E.BLORE ห้องต่างๆที่อยู่ในพระราชวังมีถึง 150 ห้อง ซึ่งได้รับการยกย่องว่าตกแต่งอย่างสวยงาม ที่สุดในประเทศยูเครนสไตล์ในการตกตแต่งห้องนั้นเกิดจากการผสมผสานสถาปัตยกรรมระหว่าง อังกฤษ และ ตะวันออก ได้อย่างลงตัว และนอกจากนี้ ยังเคยใช้เป็นที่รับรองบุคคลสำคัญต่างๆ เช่น เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล แห่งประเทศอังกฤษ พระราชวังโวรอนซอฟ ( VORONTSOVS PALACE)
พระราชวังลิวาเดีย (LIVADIA PALACE)
ซึ่งเป็นพระราชวังของพระเจ้าซาร์รัสเซีย เคยใช้ ในการเป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระเจ้าซาร์เมื่อเสด็จมายังแหลมไครเมียในช่วงฤดูร้อนและเป็นสถานที่ประชุมผู้นำระดับโลกคือ ประธานาธิบดี รูสเวลท์ แห่งสหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรี เชอร์ชิล ของอังกฤษ และประธานาธิบดี สตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1945 พระราชวังแห่งนี้ได้เปิดให้เข้าชมเมื่อปี 1974 ประกอบไปด้วยอาคาร 60 หลัง ซึ่งมีความงดงามของพระราชวังที่ถูกสร้างขึ้นด้วยศิลปะ สไตล์ อิตาเลียน (เรอเนซองซ์ ที่ดูเรียบง่ายแต่คลาสสิค)
แหล่งมรดกโลกของยูเครน
Kiev: Saint-Sophia Cathedral and Related Monastic Buildings, Kiev-Pechersk Lavra (เคียฟ : อาสนวิหารเซนต์ โซเฟีย และอาคารทางศาสนาที่เกี่ยวข้อง เคียฟ-เปเชอร์สค์ ลาวรา)
ออกแบบเพื่อแข่งขันกับอายา โซเฟีย (Hagia Sophia) ในคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) อาสนวิหารเซนต์โซเฟีย (Saint-Sophia Cathedral) ของเคียฟเป็นสัญลักษณ์ของ คอนสแตนติโนเปิลใหม่ (new Constantinople) เมืองหลวงของเขตเจ้าผู้ครองนครคริสเตียนเคียฟ (Christian principality of Kiev) ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ (พุทธศตวรรษที่ ๑๖) ในแคว้นที่เปลี่ยนมานับถือคริสตศาสนาหลังจากพิธีแบ็พติสต์ของนักบุญวลาดิเมียร์ (St Vladimir) ใน คริสต์ศักราช ๙๘๘ (พุทธศักราช ๑๕๓๑) อิทธิพลทางจิตวิญญาณและภูมิปัญญาของเคียฟ-เปเชอร์สค์ ลาวรา (Kiev-Pechersk Lavra) มีคุณูปการต่อการเผยแผ่ความคิดและศรัทธาของนิกายออร์โธดอกซ์ (Orthodox) ในโลกรัสเซียจากคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗-๑๙ (พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔)
Lviv the Ensemble of the Historic Centre (ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์แห่งลวิฟ)
เมืองลวิฟ (Lviv) ก่อตั้งในปลายยุคกลาง เป็นศูนย์กลางการบริหาร ศาสนา และการค้าที่รุ่งเรืองเป็นเวลาหลายศตวรรษ ภูมิภาพของชุมชนเมืองยุคกลางได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างเกือบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง (โดยเฉพาะหลักฐานของชุมชนต่างเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่ที่นี่) รวมถึงอาคารที่งดงามยุคบาโรคและยุคหลังจากนั้น
Primeval Beech Forests of the Carpathians and the Ancient Beech Forests of Germany (ป่าต้นบีชโบราณของคาร์ปาเธียน)
ป่าต้นบีชโบราณของคาร์ปาเธียน ตัวอย่างที่โดดเด่นของป่าเขตอบอุ่นที่ไม่ถูกรบกวนและมีความซับซ้อน เป็นสมบัติระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยพื้นที่ ๑๐ พื้นที่ ตลอดแนวแกน ๑๘๕ กิโลเมตรจากภูเขาราคีฟ (Rakhiv Mountains) และเทือกเขาคอร์โนเฮียร์สกี (Chornohirskyi) ในยูเครน (Ukraine) ทางตะวันตกไปตามสันเขาพอโลนีเนียน (Polonynian) จนถึงบูคอฟสเก วรึคี (Bukovské Vrchy) และภูเขาวิฮอร์ลัต (Vihorlat Mountains) ในสโลวะเกีย แหล่งนี้เป็นที่รวมของพันธุ์ไม้บีชที่ล้ำค่า รวมทั้งสปีชีส์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและพึ่งพาป่าแห่งนี้ นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการเข้ามาก่อตัวใหม่ และพัฒนาการของระบบนิเวศและกลุ่มสิ่งมีชีวิตบนพื้นดินหลังจากยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้าย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยังคงดำเนินอยู่จนปัจจุบัน
Struve Geodetic Arc (เส้นโค้งสำรวจโลกสตรูเวอ)
เส้นโค้งสตรูเวอ (Struve Arc) คือแนวเส้นการสำรวจด้วยระบบสามเหลี่ยม (triangulations) ที่ทอดยาวจากฮัมเมอร์เฟสท์ (Hammerfest) ประเทศนอร์เวย์จนถึงทะเลดำผ่าน ๑๐ ประเทศ เป็นระยะทางกว่า ๒,๘๒๐ กิโลเมตร
การสำรวจดังกล่าวได้ดำเนินการระหว่างปี คริสต์ศักราช ๑๘๑๖-๑๘๕๕ (พุทธศักราช ๒๓๕๙-๒๓๙๘) โดยนักดาราศาสตร์ชื่อฟรีดริช กีออร์ก วิลเฮล์ม สตรูเวอ (Friedrich Georg Wilhelm Struve) นับเป็นผลงานการวัดระยะส่วนหนึ่งของเส้นแวงที่เที่ยงตรงเป็นครั้งแรกของโลก ทำให้สามารถรู้ขนาดและรูปทรงที่แท้จริงของโลก อีกทั้งยังเป็นก้าวสำคัญของพัฒนาการวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและการทำแผนที่ภูมิประเทศ (topographic mapping) งานสำรวจนี้เป็นตัวอย่างพิเศษของความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศ
รวมถึงความร่วมมือของกษัตริย์หลายพระองค์เพื่องานวิทยาศาสตร์ เส้นโค้งเดิมนั้นประกอบด้วยสามเหลี่ยมหลัก ๒๕๘ รูป กับจุดอ้างอิง ๒๖๕ จุด การขึ้นทะเบียนมรดกโลกแหล่งนี้ครอบคลุมจุดอ้างอิงดั้งเดิม ๓๔ จุด ซึ่งมีการทำเครื่องหมายกำกับไว้ต่าง ๆ กัน เช่น รูที่เจาะลงไปในหิน กางเขนเหล็ก กองหิน หรือแท่งโอเบลิสก์ (obelisk สิ่งก่อสร้างรูปเสาทรงสี่เหลี่ยมสอบขึ้นไป หัวเสาเป็นทรงปิรามิด)
Residence of Bukovinian and Dalmatian Metropolitans (เขตที่พักอาศัยแห่งมหานครบูโกวิเนียนและดัลเมเทียน) (new 2011)
เขตที่พักอาศัยแห่งมหานครบูโกวิเนียนและดัลเมเทียน แสดงถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมทีเชี่ยวชาญลงตัวของสถาปนิกชาวเชคที่ชื่อ โจเซฟ ฮวาฟกา ระหว่างปี ค.ศ.1864-1882 หรือ พ.ศ.๒๔๐๗ - ๒๔๒๕ ลักษณะเด่นคือ เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของสถาปัตยกรรมแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ รวมไปถึงโรงเรียนสอนศาสนา และศาสนสถานที่ครอบคลุมอาคารโดม
โบสถ์ในผังรูปกากบาดและสวนที่ตกแต่งรวมอยู่ด้วยกัน อาคารและองค์ประกอบทั้งหมดแสดงถึงอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมจากยุคไบเซนไทน์เป็นต้นมาและกอร์ปรวมขึ้นตามหลักความเชื่อในศาสนาคริสต์นิกายออโธด็อก (หรือแบบประเพณีนิยม) ซึ่งทรงอำนาจในช่วงการปกครองของฮับสเบิร์ก สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายที่ยอมรับศาสนาของอาณาจักรออสโตร-ฮังกาเรียน