เว็บนี้
เน้นให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับประเทศรัสเซีย (ไม่มีการจัดทัวร์) หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ
เพราะอยู่ประเทศไทย อีกทั้งไม่ได้เรียนจบจากรัสเซีย เคยไปเที่ยวเท่านั้น!!
:
สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
ยุคเรอเนสซองส์ ( Renasssance AD 1400-1600 )
หลังจากสงครามครูเสด ศิลปะเริ่มเปลี่ยนแนวที่จะรับใช้เพราะยุคก่อนๆศิลปะทุกๆแขนงจะมุ่งเพื่อรับใช้ศาสนา รับใช้ราชสำนัก จึงเกิดสกุลต่างๆ เช่นจากเวนิชภายใต้อุปถัมภ์ ของเจ้าชายเวนิซ สกุลช่างต่างๆจากเมืองฟลอเรนซ์ในอุปภัมถ์ของตระกูลเดอเมดิซี่ ทั้งสองกลุ่มได้สร้างงานให้กับอิตาลี่มากมายเกินกว่ายุคใดๆ จัดได้ว่ายุคนี้เป็นยุคทองของอิตาลี่
สถาปัตยกรรมในยุคนี้รุ่งเรืองด้วยการก่อสร้างทั้งโบสถ์วิหาร และปราสาทราชวัง จิตกรรมทำขึ้นทั้งเพื่อศาสนา และเพื่อความสวยงาม
ยุคบารอก ( Baroque ศตวรรษที่ ๑๗ )
น้ำพุที่ประดับประดาด้วยรูปปั้นรูปสลักอลังการในโรมคือสัญลักษณ์ของยุคนี้ เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมอันหรูหรา แต่ในทางจิตรกรรมแนวทางเริ่มแตกแยก เพราะบางกลุ่มจะหันไปทางรูปแบบที่เรียบง่าย และเป็นธรรมชาติ ในขณะที่บางกลุ่มยังเสนอผลงานแบบอลังการ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม ตกแต่งสถาปัตยกรรมฯลฯ ศิลปยุคนี้เต็มไปด้วยอารมณ์ และดูราวกับเคลื่อนไหวได้
ยุครรอคโคโค และนีโอคลาสสิก ( Roccoco & Neo Classic ศตวรรษที่ ๑๘ ต้นศตวรรษที่ ๑๙ )
หลังจากศิลปะบารอคพัฒนามาถึงขีดสุด หรูหรา ฟุ่มเฟือยที่สุด จนเมื่อมีการขุดค้นพบซากเมืองปอมเปอี ที่นำงานศิลปะแบบคลาสสิก ของโรมันกลับสู่สายตาอีกครั้งหนึ่ง โลกของศิลปะโรมันดั้งเดิม ที่เรียบง่ายและสง่างาม
ศิลปะสมัยบารอค
ศิลปะแบบบารอคจะเน้นหนักไปทางธรรมชาติ แสดงความอ่อนไหว มีลวดลายประดิษฐ์มาก ซับซ้อน
คำว่า บาโรค มาจากภาษาโปรตุเกส ที่แปลว่า รูปร่างของไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว เป็นคำที่ใช้เรียกลักษณะงานสถาปัตยกรรม และจิตรกรรมที่มีการตกแต่งประดับประดา และให้ความรู้สึกอ่อนไหว
หลังจากบารอคก็มีศิลปะแบบ รอคโคโค ตามมา มีลักษณะคล้ายคลึงกับบาโรคเพียงแต่เน้นที่ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น จิตรกรที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ รูเบนส์ , เรมบรานด์ , เวลาสเควซ เป็นต้น
ศิลปะในแบบบาโรค และรอคโคโคนั้นใกล้เคียงกันมาก มีบางคนได้เปรียบเปรยว่า ถ้าบาโรคเหมือนกับบุรุษเพศที่มีความองอาจ สง่างาม รอคโคโคก็เหมือนกับสตรีเพศที่มีความงดงามที่นุ่มนวลและอ่อนช้อย คำกล่าวนี้คงจะพอทำให้เข้าใจถึงศิลปะทั้งสองแบบได้ดียิ่งขึ้น
ศิลปะสมัยคลาสสิก
ในสมัยคลาสสิก เป็นยุคที่ยุโรปมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยมีสงครามเป็นแรงผลักดัน ในทางปรัชญาถือว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งเหตุผล (แม้ว่าหลาย ๆ คนจะเห็นว่าสงครามเป็นเรื่องไร้เหตุผลก็ตาม)
ดังนั้นงานศิลปะในยุคนี้จึงเป็นงานที่เน้นทางด้านเหตุผลด้วยเช่นกัน
Jacques Louis David จิตรกรผู้ที่ถือว่าเป็นผู้นำในศิลปะคลาสสิกนี้ กล่าวไว้ว่า ศิลปะคือดวงประทีปของเหตุผล ลักษณะงานต้องมีความถูกต้องตามหลักกายวิภาค มีความคิดสร้างสรรค์ตามเรื่องราวที่มีเหตุผล ให้ความสำคัญกับการจัดภาพ
Winter Palace | พระราชวังฤดูหนาว ศิลปะแบบ Baroque
http://www.hermitagemuseum.org
Catherine Palace | Tsarskoye Selo | พระราชวังแคทเธอรีน ศิลปะแบบ Baroque
Yusupov Palace | วังยูซูปอฟ ศิลปะแบบ Neo Classic
จะศึกษาหาโครงสร้างมาแยกแยะให้ดูครับ เพราะBaroque / Roccoco เกิดขึ้นในสมัยที่ใกล้เคียงกัน แยกแยะแทบไม่ออก รูปแบบส่วนใหญ่จะมีลวดลายปูนปั้นมากมาย ปฏิมากรรมตกแต่งตามส่วนต่างๆ และค่อยๆ ตัดทอนลงมาเรื่อยๆ จนมาถึง Neo Classic ซึ่งจะเรียบง่ายไม่ประดับประดาอะไรมากมาย
ที่มาและลักษณะของสถาปัตยกรรมบาโรก
สิ่งก่อสร้างแบบโรมันโดยไมเคิล แอนเจโลโดยเฉพาะมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรมถือว่าเป็นที่มาของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกเพราะเป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างใหญ่ที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ไม่เคยทำกันมาก่อน จิอาโคโม เดลลา ปอร์ตา (Giacomo della Porta) ผู้เป็นลูกศิษย์ของมีเกลันเจโลใช้ลักษณะเดียวกันนี้ต่อมา โดยเฉพาะด้านหน้าของวัดอิลเยซู (Il Gesu) ของลัทธิเยซูอิด (Jesuit) ซึ่งเป็นบทนำของหน้าวัดซานตาซูซานนา (Santa Susanna) โดย คาร์โล มาเดอร์โน (Carlo Maderno) ซึ่งถือกันว่าเป็นหน้าวัดที่สำคัญสำหรับสมัยบาโรกตอนต้น พอถึงคริสต์ศาสนาที่ 17 สถาปัตยกรรมแบบบาโรกก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและลาตินอเมริกาซึ่งเผยแพร่โดยพระเยซูอิด
ลักษณะสำคัญๆของสถาปัตยกรรมบาโรกก็ได้แก่
ทางสู่แท่นบูชาที่เคยยาวก็กว้างขึ้นและบางครั้งก็จะเป็นวงกลมเช่นที่วัดวีส์
การใช้แสงสีอย่างนาฏกรรมถ้าไม่เป็นแสงและเงาที่ตัดกัน (chiaroscuro effect) ก็จะเป็นการใช้แสงเสมอกันจากหน้าต่างหลายหน้าต่าง เช่นที่แอบบีไวน์การ์เตน (Weingarten Abbey)
การตกแต่งอย่างหรูหราด้วยเครื่องตกแต่ง เช่น putto ที่ทำด้วยไม้ที่มักจะทาเป็นสีทอง ปูนปลาสเตอร์ ปูนปั้น หินอ่อน การทาสีตกแต่ง (faux finishing)
การใช้จิตรกรรมฝาผนังบนเพดานกลางใหญ่ซึ่งอาจจะเป็นโดม
ด้านหน้าภายนอกมักจะยื่นออกไปจากตรงกลางอย่างเด่นชัด
ภายในจะเป็นโครงสำหรับภาพเขียนและประติมากรรมโดยเฉพาะบาโรกสมัยหลัง
การผสมผสานระหว่างภาพเขียนและสถาปัตยกรรมที่กลืนกันทำให้ลวงตาจนแยกไม่ออกว่าอันไหนเป็นสิ่งก่อสร้างอันไหนเป็นภาพเขียนและประติมากรรม
การใช้โดมอย่างแพร่หลายในบาวาเรีย สาธารณรัฐเช็ก ยูเครน และ โปแลนด์
การสร้างมาเรียน และ โฮลีทรินิตี คอลัมน์ (Marian และ Holy Trinity columns) ตามจตุรัสกลางเมือง ที่ประเทศคาธอลิคสร้างเพื่อการฉลองความรอดภัยมาจากกาฬโรคระบาดในยุโรป โดยเฉพาะในสาธารณรัฐเช็ก ประเทศสโลวาเกีย และ ประเทศออสเตรีย
จักรวรรดิรัสเซีย
พระราชวังฤดูหนาว, รัสเซีย
คอนแวนต์มาฟราโดยลุโดวิชในจักรวรรดิรัสเซีย
สถาปัตยกรรมแบบบาโรกมาเป็นสามระลอก
- สมัยต้นเป็นบาโรกแบบมอสโคว์ (Naryshkin Baroque) ซึ่งตกแต่งอย่างสวยงามด้วยสีขาวบนอิฐแดงตามวัดที่ออกจะเป็นแบบโบราณ, บาโรกแบบเพทไทรน์ (Petrine Baroque) ซึ่งส่วนใหญ่นำมาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป และบาโรกสมัยหลังหรือบาโรกราสเทรลลี (Rastrelliesque Baroque) ซึ่งบรรยายโดยวิลเลียม บรุมฟิลด์ (William Brumfield) ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่หรูหราในการออกแบบแต่ก็ยังมีจังหวะในการใช้เสาคอลัมน์และความสง่าของบาโรก
ศิลปะโรโคโค
ศิลปโรโคโค (ภาษาอังกฤษ:Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิค
คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนต้วของใบไม้ เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโคโคเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก
ในทำเนียบสถาปัตยกรรมล้ำค่าของรัสเซีย ชื่อพระราชวังแคทเธอรีนหรือ Catherine Palace ปรากฏอยู่อันดับต้นๆ ด้วยคุณค่าแห่งความงดงามแบบฉบับสถาปัตยกรรมบาร็อก (Baroque) ที่โดดเด่นด้านการตกแต่งงานจิตรกรรมและปฏิมากรรม
พระราชวังพระราชินีแคทเธอรีน ตั้งอยู่ในเมืองปุชกิ้น หรือ Tsarskoye Selo (ซากอย เซโล) หมายถึงหมู่บ้านพระเจ้าซาร์ ห่างจากนครเซ้นต์ปีเตอร์สเบิร์กราว 25 กิโลเมตร
การก่อสร้างเริ่มเมื่อปี ค.ศ. 1717 โดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ทรงยกให้เป็นที่ประทับในฤดูร้อนของพระมเหสี คือ พระมหาราชินีแคทเธอรีนที่ 1 จากนั้นใช้เป็นที่ประทับของซารืองค์ต่อๆ มา จนถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายของรัสเซีย (พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 )
โครงสร้างสถาปัตยกรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ความยาว 740 เมตร สร้างตามแบบอย่างพระราชวังยุคต้นศตวรรษที่ 18 แห่งอื่นของรัสเซีย การตกแต่งภายนอกสว่างสดใส จุดเด่นอยู่ทางปีกซ้ายของพระราชวังเป็นโดม รูปทรงหัวหอมประดับทองคำเหนือโบสถ์ประจำพระราชวัง
สถาปัตยกรรมสมัยแรกออกแบบโดยศิลปินชื่อดังแห่งยุคหลายคน ใช้ทองคำหนักกว่า 440 กิโลกรัม ฉาบภายนอกอาคารทั้งหมด ส่วนปัจจุบันใช้สีทองแทน
เมื่อพระราชวังตกทอดเป็นสมบัติพระราชธิดา คือ เจ้าหญิงอลิซาเบธ มีการปรับปรุงใหม่เป็นครั้งแรก หรูหรากว่าเดิม และขยายออกไปใหญ่โตมาก โดยสถาปนิกชาวอิตาเลี่ยนชื่อ บาร์ เทโลเมโอ ฟรานเซสโก ราสเตรลลิ มีบทบาทสำคัญในการตกแต่งภายในด้วยศิลปะบาร็อก
ยุคหลังศตวรรษที่ 18 มีการตกแต่งภายในใหม่ แต่ยังคงอิทธิพลของศิลปะบาร็อกซึ่งเน้นการประดับประดาอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะลายปูนปั้นและการปิดทองเหลืองอร่าม
ภายในพระราชวังที่งดงามประกอบด้วยห้องต่างๆ ประตูทางเข้าทุกบานตรงกันหมด จนกระทั่งมองทะลุไปห้องอื่นๆ ได้ ตัวอาคารประดับประดาด้วยกระจกสี มีหน้าต่างจำนวนมากเปิดรับแสงสว่างภายนอกให้เห็นความงามภายในอย่างวิจิตรอลังการยิ่งขึ้น
การเขียนภาษาไทย เช่น บาโรก บาร็อก รัสเซีย รุสเซีย หรือคำอื่นๆ แล้วแต่นักเขียน ให้เข้าใจว่าเป็นความหมายเดียวกัน
ยอดโดมทองคำ เหนือโบสถ์พระราชวังแคทเธอรีน (ปีกฝั่งซ้าย)
รูปปูนปั้นภายนอกอาคาร ประดับประดาตามเสาต่างๆ (เหมือนคันทวยบ้านเรา)
การตกแต่งภายใน ทีอลังการงานสร้าง เนี้ยบทุกจุด
มีห้องที่สวยงามมากที่สุด คือ ห้องอำพัน (ภาพบน)
แต่ละห้องตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์โบราณ ภาพวาดของรัสเซียและยุโรป ตลอดจนงานกระเบื้องเคลือบ อำพัน อาวุธ เครื่องทองสัมฤทธิ์ งานจิตรกรรมและประติมากรรมจำนวนมาก
ห้องบอลรูม (The Great Hall) อยู่บนชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงใหญ่โอ่อ่า ถือเป็นผลงานชิ้นเอกของราสเตลลิ ห้องมีความยาว 154 ฟุต กว้าง 56 ฟุต หน้าต่างเป็นแนวยาวช่วยให้เน้นความโอ่โถงมากยิ่งขึ้น เพดานประดับภาพวาดสวยงาม พื้นปูปาร์เกร์ ผนังประดับด้วยงานปูนปั้นและงานแกะสลักปิดทองงดงาม
ถัดจากห้องบอลรูมเป็น ห้องอาหารเช้าข้าราชบริพาร (The Courtiers-in Attendance Dining Room) ออกแบบโดยราสเตรลลิ เช่นกัน ห้องมีขนาดเล็ก แต่มีหน้าต่าง 4 บาน ติดกระจกสี ให้ความสว่างและโปร่งโล่งสบายตา การตกแต่งภายในห้องอาหาร มีลักษณะเด่นของศิลปะบาร็อก ประดับด้วยปูนปั้นแกะสลักฉาบทองสุกปลั่ง และฉาบประตูสีทองสวยงาม บนเพดานวาดภาพตำนานกรีกเป็นภาพของเฮลิออส เทพแห่งดวงอาทิตย์และอีออส เทพแห่งรุ่งอรุณ
ห้องอาหารเช้าข้าราชบริพาร (The Courtiers-in Attendance Dining Room)
ห้องอาหารเช้าข้าราชบริพาร (The Courtiers-in Attendance Dining Room)
ตรงข้ามห้องอาหารข้าราชบริพาร ซึ่งไกลออกไปอีกฟากหนึ่งของบันไดกลาง เป็น ห้องอาหารสีขาว (The White Dining Room) สำหรับต้อนรับอาคันตุกะชั้นสูง ผนังห้องประดับปูนปั้นปิดทองสุดอลังการ ภาพวาดในห้องนี้เป็นรูปชัยชนะของเทพอะพอลโล ซึ่งเลียนแบบมาจากงานของกุยโด เรนี ศิลปินเลื่องชื่อ ชาวอิตาเลี่ยนยุคศตวรรษที่ 16
ห้องอาหารสีขาว (The White Dining Room)
ห้องอาหารสีขาว (The White Dining Room)
ห้องอาหารสีขาว (The White Dining Room)
ห้องโถงแสดงรูปภาพ (The Portrait Hall) เป็นห้องขนาด 100 ตารางเมตร เป็นที่เก็บรวบรวมภาพเหมือนของบุคคลสำคัญที่วาดบนผ้าใบ ใส่กรอบสวยงามเรียงรายอยู่บนผนัง เช่น ภาพของพระราชินีแคทเธอรีนที่ 1 ภาพเจ้าหญิงอลิซาเบธ นอกจากนั้นยังมีภาพถ่ายเครื่องแต่งกาย และเครื่องใช้ต่างๆ ของราชวงศ์ ซึ่งสะสมเรื่อยมาจนถึงพระเจ้าซารืองค์สุดท้าย
ห้องโถงแสดงรูปภาพ (The Portrait Hall)
ห้องโถงแสดงรูปภาพ (The Portrait Hall)
ห้องอำพัน (The Amber Room) จัดได้ว่าเป็นห้องที่มีความงดงามมาก เป็นห้องที่น่าชมอย่างยิ่ง ทุกอย่างในห้องตกแต่งด้วยอำพัน เล่ากันว่าพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ตรัสชมห้องอำพันที่สวยงามในพระราชวังของกษัตริย์เฟรดเดอริค วิลเลี่ยม แห่งปรัสเซีย กษัตริย์ปรัสเซียจึงยกผนังห้องอำพันให้ ผนังฝังอำพันเป็นลวดลายมีขนาดใหญ่ 16 ฟุต ทำจากอำพันอันมีค่ามากกว่าแสนเม็ด
ระหว่างสงครามโลกที่ 2 พระราชวังเสียหายเนื่องจากถูกทิ้งระเบิด ภายหลังมีการบูรณะซ่อมแซมให้สวยงามเหมือนเดิม ห้องต่างๆ เป็นห้องใหม่ที่สร้างขึ้นตามโครงสร้างเก่า ส่วนห้องอำพันถูกกองทัพนาซีแห่งเยอรมันขนย้ายไปหมด ทางการรัสเซียจึงบูรณะซ่อมแซมห้องอำพันให้สวยงามดังเดิม จนกระทั่งจัดพิธีเปิดให้ชมอย่างเป็นทางการได้ในปี ค.ศ. 2003 บุคคลกลุ่มแรกที่เข้าชมเป็นทหารผ่านศึกและผู้อาศัยในนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่รอดชีวิตจากสงครามโลกที่ 2
ตกแต่งด้วยอำพันที่มีค่าทั้งหมด ปราณีต งดงามยิ่งนัก
หากมีโอกาสได้เยือน นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไม่ควรเลยที่คุณจะไม่แวะไปเยี่ยมเยือน พระราชวังแคทเธอรีนแห่งนี้ และห้องอำพันอันเลอค่าน้ด้วย
ในยุคของพระราชินีแคทเธอรีนที่ 2 พระองค์ไม่โปรดศิลปะบาร็อก จึงมีดำริให้ปรับปรุงใหม่ตามรูปแบบศิลปะยุคโบราณและศิลปะนีโอคลาสิคที่ทรงโปรด พระองค์ทรงมอบหมายให้สถาปนิกชาวสก็อต ชื่อ ชาร์ลส คาเมรอน ตกแต่งภายในปีกด้านหนึ่งใหม่ในแบบศิลปะนีโอพัลลาเดียน ซึ่งหรูหราน้อยกว่าศิลปะแบบบาร็อก รวมทั้งวาดฝาผนังแบบ 3 มิติ คล้ายศิลปะโรมันในเมืองปอมเปอีประเทศอิตาลี
นอกจากสถาปนิกชาวสก็อตยังใช้ความเชี่ยวชาญศิลปะโรมันก่อสร้างและประดับตกแต่งห้องอาหารสีเขียว (The Green Dining Room) แทนสวนไม้แขวนที่ลาสเตรลลิออกแบบไว้ ซึ่งเป็นห้องแรกสุดทางปีกเหนือของพระราชวัง
การปรับปรุงหลายครั้งโดยศิลปินเอกแห่งยุคที่ถนัดงานศิลปะคนละด้าน ทำให้สถาปัตยกรรมของพระราชวังแห่งนี้ร่ำรวยสีสัน สะท้อนบุคลิกที่แตกต่างอย่างโดเด่น โดยเฉพาะรูปแบบศิลปะบาร็อกที่สุดแสนจะฟู่ฟ่าและศิลปะคลาสิกที่เรียบอย่างมีสไตล์
พระราชวังได้รับการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ที่สุด เพื่อใช้ฉลองวาระครบรอบ 300 ปี ของนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อปี ค.ศ. 2003
สถานที่แห่งนี้เคยเป็นพระราชวังฤดูร้อนของพระเจ้าซารืหลายพระองค์ จนถึงกษัตริย์ราชวงศ์โรมานอฟองค์สุดท้าย คือ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 ซึ่งถูกพรรคคอมมิวนิสต์บอลเซวิค จับกุมตัวที่นี่
สำหรับสถานะในปัจจุบัน พระราชวังพระราชินีแคทเธอรีน เป็นพิพิธภัณฑ์รวบรวมวัตถุศิลปะโบราณที่งดงามและหาชมยาก
ห้องอาหารสีเขียว (The Green Dining Room)
ห้องอาหารสีเขียว (The Green Dining Room)
ห้องอาหารสีเขียว (The Green Dining Room)
๏ปฟ
Start : August 31, 2010
................. เว็บบอร์ดนี้เป็น
บอร์ดนำเสนอข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้เน้นการโพสต์ตอบแต่อย่างใด เรามีการเก็บข้อมูลผู้ใช้
เพื่อวิเคราะห์เส้นทางการเข้าถึงบอร์ดนี้