เว็บนี้
เน้นให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับประเทศรัสเซีย (ไม่มีการจัดทัวร์) หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ
เพราะอยู่ประเทศไทย อีกทั้งไม่ได้เรียนจบจากรัสเซีย เคยไปเที่ยวเท่านั้น!!
:
แฟเบร์เช่ (Faberge, Фаберже) งานศิลป์ สุดอลังการ
แรกเริ่มนั้น มีผู้ทำไข่อีสเตอร์ถวายแด่พระเจ้าซาร์ เป็นที่โปรดปราณของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 จนมาถึงพระโอรสพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 พระองค์ทรงโปรดปราณมากและมอบให้กับคนที่รัก เป็นฝีมือช่างทองประจำพระราชสำนักผลิตผลงานในวันอีสเตอร์ (ดูชมได้ที่พิพิธภัณฑ์อาร์เมอรรี่ภายในพระราชวังเครมลิน)
First Hen Egg ผลงานชิ้นแรก
ไข่ First Hen Egg ที่พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 พระราชทานแก่พระราชินีมาเรีย เฟโอโดรอฟน่า ในปี 1885 (2428)
ปีเตอร์ คาร์ล แฟบาเซ่ (Peter Carl Fabergé) ผู้ออกแบบและสร้างไข่ทองคำใบแรกในปี คศ. 1885 โดยสร้างถวายพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Alexander III)
เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่พระมเหสีมาเรีย โฟโดรอฟน่า (Maria Fyodorovna) ในวันอีสเตอร์
มองภายนอกดูเหมือนง่ายๆ ไข่สีขาวไม่มีอะไร หากแต่เมื่อเปิดออกเผยให้เห็นไข่แดงสีทอง ภายไข่แดงมีแม่ไก่ทองที่มีขนาดจิ๋วกับทับทิมห้อยอยู่ภายใน คล้ายๆ ตุ้กตาแม่ลูกดกที่ทำซ้อนๆ กัน (matryoshka dolls)
จาก คศ. 1885 ที่มีการผลิตไข่เกือบทุกปี เมื่อเริ่มต้นการออกแบบถูกอนุมัติงานได้ดําเนินการ ทั้งโดยทีมงานของนักออกแบบ Carl Fabergé, Perkhin, Henrik, Wigström และทีมช่างอีกหลายคน
การผลิตไข่แฟบาร์เซ ไม่ได้ผลิตออกมาพร่ำเพรื่อหากแต่ผลิตเพื่องานวันอิสเตอร์สำหรับราชวงศ์ ดังนั้นจึงมีชิ้นเดียวเท่านั้น โรงงานผลิตตั้งอยู่ที่นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ภายหลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีการผลิตออกมาขายมากมาย แต่ฝีมือก็ไม่ปราณีตเท่าที่ผลิตรุ่นก่อนๆ เมือผลิตออกมาเป็นการค้า จึงมีทั้งหยาบละเอียดมาให้เลือกซื้อมากมายตามกำลังทรัพย์ของผู้ซื้อซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป
ราชรถที่ละเอียดยิบ สัดส่วนสมจริง จอดอยู่ภายในไข่สวยๆ ช่างเป็นความปราณีตของนายช่างผู้เป็นเอกในการผลิต
ช่างเป็นงานศิลปะที่สวยงาม
ปีเตอร์ Carl Fabergé รู้จักในรัสเซียว่า Carl Gustavovich Fabergé (Карл Густавович Фаберже,
0. พฤษภาคม 1846 - 24. กันยายน 1920) เป็นช่างอัญมณีที่ดีที่สุด ผลงานที่มีชื่อเสียงที่รู้จักกันในชื่อ Fabergé
งานศิลปะในรูปแบบของไข่ที่ใช้ในวันอีสเตอร์ จากไข่ธรรมดาสามารถสร้างให้ล้ำค่าได้โดยใช้ทองและอัญมณีต่างๆ บวกกับการออกแบบที่เป็นเลิศทั้งกลไกและสัดส่วน
ต้นตระกูลของเขาย้ายมาจากฝรั่งเศส คาร์ล แฟบาร์เช เกิดที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่ jeweller Gustav Fabergé ภรรยาของเขาเป็นชาวเดนมาร์กชื่อ Charlotte Jungstedt.
Gustav Fabergé
ในวัยหนุ่มของเขา Fabergé เริ่มศึกษาที่เซนต์แอน ยิมเนเซี่ยม เป็นโรงเรียนเยอรมันในนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ใน 1860 ครอบครัวย้ายไปที่เมือง Dresden (เยอรมันนี) และที่นั่นเขาได้ศึกษาเกี่ยวกับอัญมณี สินค้าหัตถกรรม ในแฟรงค์เฟิร์ส เยอรมันนี และต่อมาในปี 1864 เขากลับไปยังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
และเข้าร่วมธุรกิจกับบิดาของเขา ในปี 1872 เขาก็ได้เป็นผู้บริหารเต็มตัว
ภายหลังจากนั้นอีกไม่นานได้มีการจัดนิทรรศการ เพื่อแสดงผลงานของเขาและเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น 3 ปีต่อมาเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 รับสั่งให้ผลิตไข่อิสเตอร์ถวายและแต่งตั้งให้เป็นช่างราชสำนัก สร้างผลงานอันเลื่องชื่อเสมอมา
หลังจากนั้น Fabergé ได้สร้างไข่แต่ละปีสำหรับพระเจ้าซาร์ Tsaritsa Maria, พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงสั่งให้สร้าง 2 ไข่ในแต่ละปี 1 ใบสำหรับพระมารดาของพระองค์และอีก 1 ใบสำหรับมเหสีซาริน่าอเล็กซานดร้าของพระองค์ (Alexandra), สร้างผลงานอย่าวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1885-1917
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 19 กันยายน 1918 (พ.ศ. 2461) กลุ่มนายทหารพร้อมปืนไรเฟิลในมือได้เดินทางมาถึงบ้านของเขา หลังจากทุบประตูบ้านอยู่นาน จนเจ้าของบ้านต้องเปิดประตูรับ นายทหารคนหนึ่งได้ยื่นนามบัตรที่แสดงตนว่าเป็นตำรวจลับ (Chekha) ซึ่งได้รับบัญชาจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ให้นำตัวเขาไปเข้าเฝ้า เขาจึงขอเวลาแต่งตัวและบอกให้ทหารลับคอยที่ห้องโถง ส่วนเขาได้หลบหนีออกทางหลังบ้าน 2 วันต่อมาเขาเดินทางมาถึงเมืองริกาในลัตเวียโดยใช้พาสปอร์ตปลอมที่เพื่อนชาวอังกฤษทำให้ เขาทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่มีในรัสเชีย ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ฐานะสังคม และชื่อเสียงเพื่อไปตาย (อย่างโดดเดี่ยวในโรงแรม) ในอีก 2 ปีต่อมาที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ไข่ Coronation ที่ประดิษฐ์ในปี 1897 (2440) มีรถม้าสำหรับราชินีอเล็กซานดร้า ประทับขณะเสด็จไปในการพิธีราชาภิเษก ณ กรุงมอสโก ปี 1896 (2439)
Renaissance
เป็นไข่ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 พระราชทานแด่ พระมเหสีมาเรีย เฟโอโดรอฟนา เป็นชิ้นสุดท้าย ปี คศ. 1894 (2437)
Lilies of the Valley Egg
ไข่ ลิลี่ ออฟ เดอะ แวลลีย์ สร้างขึ้นใน ปี คศ.1898 (2441) มีภาพถ่ายของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 กับพระธิดา 2 พระองค์
เป็นไข่ที่มีความงดงามเป็นพิเศษ ทั้งสีสันและการออกแบบ ไขใบนี้มีความสูง 5-5.5 นิ้ว ประดิษฐ์ในแบบศิลปะ อาร์ต นูโว (Art Nouveau) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากทั่วยุโรปในยุคนั้น พื้นภายนอกไข่ลงยาเป็นสีชมพูขุ่นวางอยู่บนฐาน มีขาตั้ง มีกิ่งก้าน และดอกลิลี่ ออฟ เดอะ แวลลีย์ โอบโดยรอบขึ้นมาจากฐาน ใบไม้สีเขียวประดับด้วยเคลือบลงยาสีเขียว ดอกไม้ประดิษฐ์ด้วยเพชร หยาดน้ำค้างประดิษฐ์ด้วยไข่มุก
ความพิเศษของไข่ใบนี้ คือ ยอดสูงสุดของไข่มีภาพซาร์นิโคลัสที่ 2 กับพระราชธิดา 2 พระองค์ ซึ่งประสูติแล้วในปีนั้นคือ เจ้าหญิงโอลกา และ เจ้าหญิงทัตยานา บรรจุลงในกรอปล้อมเพชร กรอบรูปทั้งสามนั้นสามารถเคลื่อนขึ้นลงออกมาจากไข่ได้ด้วยปุ่มเล็กๆ ที่ประดิษฐ์ด้วยฝีมือแม่นฉมัง ให้มีกลไกที่เคลื่อนไหวได้เหมือนจริง คือ มีภาพเคลื่อนโผล่ออกมาจากไข่ ภาพเหล่านนั้นก็จะบานออก 3 แฉก 3 ภาพ เหมือนพัด ภาพทั้งหมดมีความสูงเพียง 3 นิ้วเท่านั้น
Fifteen th Anniversary Egg
ไข่เพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบรอบ 15 ปี ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในปี คศ.1911 (2454)
นอกจากไข่ อีสเตอร์ ในแต่ละปีที่ฟาร์แบเชผลิตระหว่างปี ค.ศ. 1885-1916 แล้ว ยังมี
- ไข่ฉลองพระราชพิธีราชาภิเษกของซาร์นิโคลัสที่ 2 ใน ค.ศ. 1896
- ไข่ฉลองพิธีเปิดทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียในปี ค.ศ. 1900
- ไข่ฉลอง 200 ปี กรุงเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในปี ค.ศ. 1903
- ไข่ฉลอง 100 ปี ชัยชนะต่อนโปเลียน ค.ศ. 1812-1912
- ไข่ฉลองมกุฏราชกุมารอเล็กเช ค.ศ. 1912
- ไข่ซึ่งเป็นของขวัญกรณีพิเศษ ที่ซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงมอบให้พระราชธิดาทั้ง 4 พระองค์
ไข่ฝีมือของคาร์ล ฟาแบร์เช ในโอกาสอีสเตอร์และโอกาสพิเศษอื่นๆ มีทั้งหมดราว 50-56 ใบ (ประวัติศาสตร์รัสเซียให้ตัวเลขไม่แน่นอน)
ปัจจุบันนี้มีไม่ครบจำนวน และมิได้มีอยู่ในประเทศรัสเซียทั้งหมด คาดว่าทั้งหมดที่มีอยู่ไม่เกิน 44 ใบ
ลักษณะเด่นของไข่ทุกใบ ของคาร์ล ฟาแบร์เช คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มีรูปไข่ไก่เหมือนของจริง มีขนาดต่างๆ กัน เช่น วีดจากปลายถึงปลายด้านยาวได้ 3 นิ้วกว่าๆ บ้าง 5 นิ้วกว่าๆ บ้าง ซึ่งหมายความว่า ไข่ฟาแบร์เชไม่ใช่วุตถุใหญ่โตอะไรเลย ดังนั้นหากใข่ใบนั้นๆ จะมีวัตถุเลียนแบบของจริงใดๆ มาเสริม วัตถุนั้นจะต้องมีขนาด จิ๋ว ทั้งสิ้น
Trans-Siberian Railway Egg
เป็นไข่ซึ่งผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1900 เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสเปิดเส้นทางรถไฟสายใหม่ระหว่าง นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไปยังเมืองวลาดิวอสต็อก ทางชายฝั่งด้านแปซิฟิกของรัสเซีย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนา เปิดสู่ทวีปเอเซียของรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งคาบระหว่างดินแดน 2 ทวีป คือ ยุโรปและเอเซีย แต่เท่าที่ผ่านมาถึงศตวรรษที่ 20 ซาร์ทุกพระองค์มักจะละเลยการพัฒนาดินแดนด้านเอเซียไม่ให้ความสำคัญเท่าๆ ยุโรปทั้งๆ ที่มีขนาดใหญ่มหาศาลและอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด
The Peter The Great Egg (1903)
ไข่ฉลอง 200 ปี นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองอายุกรุงเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กครบรอบ 200 ปี ใน ปี ค.ศ. 1903 เป็นไขที่มีความสูง 4 นิ้ว ภายนอกลงยาเคลือบเป็นลายทอง มีลวดลาย Rococo ลายกนกละเอียดแบบฝรั่ง เมื่อกดปุ่มเปิดฝาออก อนุสาวรีย์ขนาดจิ๋วของซาร์ปีเตอร์มหาราช ผู้สร้างกรุงเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่ทำด้วยทองแท้จะเคลื่อนตัวขึ้นมาจากด้านล่างของไข่ ฐานของอนุสาวรีย์นี้เป็นแซฟไฟร์สีน้ำเงินเข้ม
อนุสาวรีย์ทรงม้านี้ จำลองมาจากอนุสาวรีย์ของจริงที่ประดิษฐานอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนวาในกรุงเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ให้เหมือนกันทุกประการ นอกจากลดขนาดลงให้จิ๋วเท่านั้น
มีไข่ฟาแบร์เช 10 ใบ แสดงถาวรอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์อาร์เมารี (Armoury) ภายในพระราชวังเคลมลิน ซึ่งเปิดให้สาธารณะชนรัสเซียและทั่วโลกเข้าชมได้
ส่วนไข่ที่เหลือยังคงแตกฉานซ่านเซ็นอยู่ตามที่ต่างๆ ประมาณได้ว่า ทั้งหมดทั่วโลกมีอยู่ 44 ใบ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนี้ค่ะ งานเป็นเอกลักษณ์มาก
๏ปฟ
Start : August 31, 2010
................. เว็บบอร์ดนี้เป็น
บอร์ดนำเสนอข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้เน้นการโพสต์ตอบแต่อย่างใด เรามีการเก็บข้อมูลผู้ใช้
เพื่อวิเคราะห์เส้นทางการเข้าถึงบอร์ดนี้