เว็บนี้ เน้นให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับประเทศรัสเซีย (ไม่มีการจัดทัวร์) หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ เพราะอยู่ประเทศไทย อีกทั้งไม่ได้เรียนจบจากรัสเซีย เคยไปเที่ยวเท่านั้น!!
. หัวข้อกระทู้ทั้งหมด
: รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
2 พฤษภาคม – 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1682 – ค.ศ. 1725

สมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หรือ พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (ภาษารัสเซีย Пётр I Велики, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2215-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225 จนกระทั่งสวรรคต และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้มีอำนาจของยุโรปในสมัยนั้น

ในช่วงระยะเวลาของรัชสมัยซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างประเทศเป็น “จักรวรรดิ” ที่เป็นที่น่าเกรงขามได้สำเร็จ การติดต่อด้านการค้าและการทูตกับต่างประเทศ การรับเอาความเจริญทางด้านการทหาร การช่างและวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประเทศ ในสมัยต้นราชวงศ์โรมานอฟล้วนแต่เป็นการแผ้วทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ของรัสเซียมหาราช เมื่อซาร์ปีเตอร์มหาราชเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1725 นโยบายของพระองค์ก็ได้รับการสืบทอดต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของซารินาแคเธอรีนที่ 2 มหาราช (ค.ศ. 1762-1796) รัสเซียได้กลายเป็นหนึ่งของประเทศมหาอำนาจยุโรปทิ่ยิ่งใหญ่ และมีบทบาทสำคัญใประวัติศาสตร์ยุโรปจนถึงปัจจุบัน ขณะที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างนั้น ในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ได้เสด็จประพาสยุโรปตะวันตกเป็นครั้งที่ 2 โดยทรงเยี่ยมเยียนดูความก้าวหน้าของศิลปวิทยาการในกรุงโคเปนเฮเกน (ประเทศเดนมาร์ก) กรุงอัมสเตอร์ดัม (ประเทศเนเธอร์แลนด์) กรุงเบอร์ลิน (ประเทศเยอรมนี) และกรุงปารีส (ประเทศฝรั่งเศส) ซึ่งพระองค์ทรงมีโอกาสเข้าเยี่ยมพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ขณะพำนักอยู่ในกรุงปารีส ซาร์ปีเตอร์ก็ทรงให้ความสนพระทัยเป็นพิเศษในความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ จำนวนมาก นอกจากนี้ ซาร์ปีเตอร์ยังทรงได้รับการทูลเชิญให้เป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสภาฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อเสด็จนิวัติกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กซาร์จึงทรงคิดจัดตั้งราชบัณฑิตยสภาหรือสถาบันวิทยาศาสตร์ขึ้น นอกจากนี้ยังทรงทำให้กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นศูนย์กลางของความเจริญและวัฒนธรรมตะวันตก นครแห่งนี้ซึ่งสร้างขึ้นตามชื่อของนักบุญปีเตอร์ อัครสาวกของพระเยซูยังเป็นอนุสรณ์สถานและสัญลักษณ์ของซาร์ปีเตอร์มหาราชในความพยายามสร้างรัสเซียให้เป็นมหาอำนาจยุโรปและเจริญทัดเทียมอารยประเทศตะวันตก นับแต่นั้นเป็นต้นมา รัสเซียไม่สามารถที่จะหันหลังให้แก่ความเจริญ การแข่งขัน และความขัดแย้งของยุโรปได้อีกต่อไป ส่วนกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเองก็ได้รับการพัฒนาและการขยายตัวในรัชสมัยขององค์ประมุขต่อๆ มา มีการวางผังเมือง การสร้างพระราชวังและอาคารอย่างถาวรสวยงามเป็นระเบียบมากมายจนเสร็จสมบูรณ์เป็น “มหานคร” ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรปในรัชสมัยของซารินาแคเธอรีนที่ 2 มหาราช และเป็น “อัญมณีประดับยอดพระมหามงกุฎ” ของราชวงศ์โรมานอฟจนกระทั่งรัสเซียประกาศยกเลิกระบอบการปกครองแบบอัตตาธิปไตยและสถาบันซาร์ ในปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917)

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268 (ค.ศ. 1725) เวลาประมาณตีสี่ถึงตี่ห้า พระชันษาได้ 52 ปี ครองราชย์สมบัติได้ 42 ปี
125.25.149.14 โดย patt  อีเมล์ : ( 20335 ) โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:07:11 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
พิมพ์หน้านี้ | ตอบกลับ แสดงความคิดเห็น | ปิดหน้านี้
 

2. จักรพรรดินีนาถแคธอรีนที่ 1 (ผู้ปราณี)
8 กุมภาพันธ์ – 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1725 – ค.ศ. 1727

การเดินทางไปเยือนยุโรปส่งผลให้ชีวิตส่วนพระองค์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทรงได้เข้าร่วมสมาคมกับสตรีชั้นสูงของยุโรป วึ่งแต่ละคนล้วนแต่มีความเฉลียวฉลาด รู้จักวางตัวในสังคมมีเสน่ห์แลัร่าเริงแจ่มใส ทำให้พระองค์รู้สึกเบื่อหน่ายพระนางเออดาเซีย (Eudaxia) มเหสีของพระองค์ที่พระราชมารดาจัดหามาถวายให้ เพราะพระนางเป็นกุลสตรีแบบหัวโบราน ทรงเคร่งครัดศาสนามาก รังเกียจความคิดของชาวต่างชาติ และอยู่ใต้อำนาจพระสวามีอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้พระนางยังแสดงความหึงหวงต่อนางแอนนาพระชายาลับชาวดัตช์ ผู้ที่พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ทรงรักและคบหากันมาตั้งแต่ครั้งเสด็จเยือนหมู่บ้านชาวเยอรมัน ใกล้พระตำหนักเพรโอบราเซนสเกอ

แม้ว่าพระนางเออดาเซียจะทรงให้กำเนิดเจ้าชายอเล็กซิส องค์รัชทายาท แต่พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ก็ส่งพระนางไปพำนักที่สำนักนางชีชานกรุงมอสโคว์ และถูกบังคับให้บวชชีตลอดไป พร้อมทั้งถูกห้ามมิให้พบพระโอรสเจ้าชายอเล็กซิกอีกด้วย

ต่อมาพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ได้ทรงอภิเษกครั้งที่ 2 กับสตรีลูกชาวนา เป็นผู้ที่ทรงเลือกสรรเอง มีนามว่า "มาเรีย สการอฟ สกายา" มีเชื้อชาติลิทัวเนีย ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยมาเมื่อครั้งรัสเซียได้ชัยชนะ มาเป็นหญิงรับใช้ในบ้านของแม่ทัพรัสเซีย เมื่อพระสหายคนสนิทของพระเจ้าซาร์ปีเตอร์คือ อเล็กซานเดอร์ แมนชิคอฟ มาพบเข้าก็ขอตัวไปอยู่ในบ้านของตน พระเจ้าซาร์ปีเตอร์เสด็จมายังบ้านของแมนชิคอฟบ่อยๆ ก็เกิดความสนพระทัยในความงามของนาง เมื่อทรงจับได้ว่านางแอนนา พระชายาลับของพระองค์คิดไม่ซื่อ จึงหันมารับนางมาเรีย อายุ 18 ปี เป็นพระชายาแทน

นางมาเรียมีสีผิวน้ำตาลเข้ม ดวงตาเป็นรูปอัลมอนด์ผมสีบลอนยาวสลวย อุปนิสัยร่าเริง มีเมตตา ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์เก่ง นางเป็นผู้เดียวที่บรรเทาอาการพระโรคร้ายที่คอยรบกวนพระเจ้าซาร์เสมอ คือเมือใดที่พระองค์ปวดพระเศียรอย่างรุนแรง นางจะรีบเข้ามาให้พระเจ้าซาร์หนุนตัก และนางจะนวดคลำที่ขมับทั้งสองข้างของพระองค์พร้อมชวนสนทนาด้วยในเรื่องที่มีแต่ความสนุกสนานรื่นรมย์ จนพระอาการคลายลงและทรงบรรทมหลับไปบนตักของนาง จากนั้น 1 ชั่วโมงต่อมาพระเจ้าซาร์ก็ทรงตื่นบรรทมด้วยความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าดังเดิม

เสน่ห์ของนางมาเรียนั้นได้มัดพระทัยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มาก จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นองค์ซาริน่า (ราชินี) ทรงพระนามว่า "แคเธอลีน" และทรงอภิเษกกับนางด้วย (หลังจากหย่าขาดกับพระนางเออดาเซียแล้ว)

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์กับพระนางแคเธอรีน ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมกัน 12 พระองค์ แต่สิ้นพระชนม์ในวัยเยาว์เกือบหมด เหลือเพียง 2 พระองค์คือ เจ้าหญิงแอนน์ ผู้ให้กำเนิดผู้สืบสกุลเป็นพระเจ้าซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟต่อมาถึง 7 พระองค์ และเจ้าหญิงอลิซาเบธ ซื่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์สมบัติในนามของพระราชินีอลิซาเบธ

ส่วนองค์รัชทายาท "ซาเรวิชอเล็กซิส" พระราชโอรสองค์เดียวของพระเจ้าซาร์ปีเตอร์กับพระนางเออดาเซีย พระมเหสีองค์แรก ซึ่งได้รับพระยสเป็นพระยุพราชหรือรัชทายาท (ซาเรวิช) มาตั้งแต่ประสูติ ชะตาชีวิตของเจ้าชายอเล็ซิสต้องประสบกับอุปสรรคเพราะขัดแย้งกับพระราชบิดาอย่างรุงแรง ทรงเมาน้ำจัณฑ์เป็นประจำ ไม่สนพระทัยในการปรับปรุงประทศให้ทันสมัย ทั้งยังหนีไปพึ่งออสเตรเลีย ยอมสละตำแหน่งซาเรวิช เพื่อแลกกับการสมรสกับสนมลับ ที่สำคัญที่สุดคือทรงรังเกียจความคิดตะวันตก และมุ่งทำลายแผนการปรับปรุงประเทศรัสเซียใหม่ของพระราชบิดา อาจจะเป็นชนวนก่อกบฏขึ้นเมื่อใดก็ได้

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์จึงทรงให้พระโอรสถูกไต่สวนเช่นเดียวกับนักโทษที่ต้องข้อหาว่ากบฏต่อแผ่นดิน ด้วยการทรมานโดยการเฆี่ยนด้วยแส้แล้วเผาไฟ เจ้าชายอเล็กซิสผู้มีร่างกายบอบบางจึงสิ้นพระชนม์ในที่คุมขัง

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์สิ้นพระชนม์ด้วยโรคไตในปีพ.ศ. 2268 เมื่อมีพระชนม์ได้ 53 ชันษา ด้วยความทุกข์ทรมารเป็นเวลานานและทุรนทุรายเป็นอย่างยิ่ง โดยผู้ที่สืบทอดราชสมบัติต่อมาก็คือพระราชินีแคเธอรีน พระมเหสีของพระองค์นั่นเอง

รัชการของพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ยาวนานถึง 43 ปีตลอดเวลาพระองค์ทรงปรับปรุงรัสเซียให้มีความเจริญทันเทียมนานาอารยประเทศ จนรัสเซียมิใช่อาณาจักรล้าหลังอีกต่อไป ต่อมายังได้ชื่อว่าเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่ง จึงไม่มีผู้ใดขัดแย้งได้ว่า พระเจ้าซาร์ปีเตอร์นั้นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการขนานนามว่า "มหาราช" เพราะทรงเป็นพระเจ้าซาร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของรัสเซีย

*** พระราชวังแคทเธอรีน (Catherine Palace in Tsarskoye Selo)
มีห้องอำพัน (Amber Room) ที่สวยงามมาก หากได้ไปเที่ยวนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก อย่าลืมแวะชม
ความคิดเห็นที่ 16 : 125.25.149.14 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:11:53 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
3. จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 2
18 พฤษภาคม – 30 มกราคม ค.ศ. 1727 – ค.ศ. 1730
เป็นหลานปู่ของซาร์ปีเตอร์ที่ 1 เป็นโอรสของอดีตมกุฏราชกุมารอเล็กเซที่ถูกพระบิดาสั่งให้สังหารชีวิตไป ซาร์ปีเตอร์ที่ 2 ขึ้นสู่บัลลังก์ขณะมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษา ทรงได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มขุนนางฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มเมนชิลอฟ คือ กลุ่มโดลโกรุกกีส์ (Dolgorukys) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้านายสุลเก่าแก่ที่ได้สร้างกรุงมอสโกขึ้นมาในศตวณณษที่ 9

ซาร์ปีเตอร์ที่ 2 ครองบัลลังก์แต่ในนามได้เพียง 3 ปี ก็สวรรคตด้วยไข้ทรพิษ ในวันที่กำหนดให้เป็นวันอภิเสกสมรสของพระองค์กับธิดาของขุนนางสกุลโดลดกรุกกีส์ ดังนั้น จึงไม่มีการกำหนดรัชทายาทต่อไปไว้แน่นอน
ความคิดเห็นที่ 15 : 125.25.149.14 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:15:35 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
4. จักรพรรดินีนาถแอนนา
13 กุมภาพันธ์ – 28 ตุลาคม ค.ศ. 1730 – ค.ศ. 1740

Empress Anna เป็นจักรพรรดินีองค์ที่ สองของราชวงศ์โรมานอฟ เป็นพระธิดาของพระเข้าซาร์อิวานที่ 5 (ซึ่งเคยครองบัลลังก์คู่กับซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ระหว่างค.ศ.1682-1696)ก่อนครองราชแอนนาสมรสกับเจ้าชายเชื้อสายเยอรมันนีซึ่งสิ้นพระชนม์ไปภาย ในเวลาอันรวดเร็ว คณะขุนนางที่สนับสนุนให้แอนนาครองราชย์ได้ขอคำมั่นสัญญาว่าจะไม่เสกสมรสครั้งใหม่และจะยอมให้คณะขุนนาง(กลุ่มสกุลโกลิทซินและโดลโกลรุกกีส์)มีอำนาจปกครอง บ้านเมืองต่อไปแอนนายินยอมลงนามในสัญญา แต่เมื่อขึ้นสู่บัลลังก์แล้วได้ฉีกสัญญาทิ้ง และนำกลุ่มชาวเยอรมันเป็นจำนวนมากเข้ามาช่วยปกครองบ้านเมือง และขจัด ขุนนางรัสเซียนกลุ่มเก่าไปเสีย และปกครองรัสเซียด้วยระบอบเผด็จการ นำโดยขุนนางเยอรมันชื่อ เอิร์นส์ โยฮันน์ บิรอน (Ernst Johann Biron) ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรี(และเป็นชู้รักของจักพรรดินี)

ระหว่างเวลา 10 ปีที่จักรพรรดินีแอนนาครองราชย์ไม่มีความเจริญมากนักในรัสเซีย เพราะบังเอิญกลุ่มชาวเยอรมันที่เข้ามาบริหารกิจการบ้านเมืองเป็นเยอรมันกลุ่มที่ ไร้ฝีมือและไร้ระเบียบจึงสร้างความเสียหายให้แก่รัสเซียมากกว่าความเจริญก้าวหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลานั้นก็ได้มีการทำนุบำรุงกองทัพเรือรัสเซียให้แข็งแกร่งขึ้นมา อีกครั้งหนึ่ง หลังจากซบเซาไปเมื่อซาร์ปีเตอร์ที่ 1 สวรรคต

ปัญหาของรัชกาลนี้อีกประการหนึ่งคือ จักรพรรดินีและกลุ่มที่สนับสนุนพระองค์ระแวงระหว่างเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระธิดาของซาร์ปีเตอร์ที่ 1 กับจักรพรรดินีคัธรีนที่ 1 จะชิงบัลลังก์เพราะพระองค์มีกลุ่มที่สนับสนุนอยู่มาก อีกทั้งยังมีความสนิทสนมเป็นพิเศษกับคณะนายทหายรักษาวัง (Palace Guard) ซึ่งมีอาวุธ และฝีมือในการปราบกบฎ

ดั้งนั้น เมื่อจักรพรรดินีประชวนหนักด้วยโรคไต บิรอนจึงนำเจ้าชายอิวานโอรสของหลาน ของจักรพรรดินีแอนนามาเตรียมเป็นรัชทายาทสู่บัลลังก์ต่อไป
ความคิดเห็นที่ 14 : 125.25.149.14 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:18:43 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
5. จักรพรรดิอีวานที่ 6
28 ตุลาคม – 6 ธันวาคม ค.ศ. 1740 – ค.ศ. 1741
ซาร์ที่ 6 ขึ้นครองราชย์ ขณะมีพระชนมายุเพียง 2 เดือน มีพระชนนี คือ พระนางแอนนา เลโอโปลดอฟน่า (Anna Leopoldovna) ซึ่งเป็นหลานของจักพรรดินีแอนนา (รัชกาลที่เพิ่งผ่านมา) เป็นผู้สำเร็จราชการแต่ในนาม แต่อำนาจการปกครองบ้านเมืองอยู่ในมือของบิรอนกับสมัครพรรคพวกชาวเยอรมัน

ในช่วงเวลาสั้นๆ ของรัชสมัยของซาร์ทารกองค์นี้ ไม่มีผู้ใดมีอำนาจจริงจัง เหล่าขุนนางแตกแยกกันเป็นหลายกลุ่มดังที่เป็นเรื่องปกติของการเมืองรัสเซียยุคนั้น ผู้สำเร็จราชการแอนนาก็ไม่สนใจกิจการบ้านเมือง (และยังสร้างความอื้อฉาวด้วยการมีเพศสัมพันธ์รักร่วมเพศกับนางสนองพระโอษฐ์อีกด้วย) ในขณะที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธพระราชธิดาของซาร์ปีเตอร์ที่ 1 (มหาราช) ยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างภักดีจากกลุ่มนายทหารวังต่อไป

ในที่สุด คณะทหารรักษาวัง ได้ทำการยึดอำนาจในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1741 และได้ยกบัลลังค์ให้แก่เอลิซาเบธ กลุ่มผู้ปกครองประเทศกลุ่มเก่าถูกเนรเทศ หรือกักขัง หรือประหารชีวิต (ซาร์อิวานที่ 6 ถูกจองจำอยู่ 23 ปี ในที่สุดได้ถูกสังหารโดยผู้คุมในปี ค.ศ. 1764)

*** ซาร์อีวานที 6 ถูกขังที่ป้อมปีเตอร์แอนด์ปอล จนมีพระลักษณะครึ่งคนครึ่งสัตว์ มีพระสติวิปลาส ไม่มีใครจำพระองค์ได้ แต่บังเอิญมีนายทหารนายหนึ่งจำได้ว่า นี่พระเป็นพระเจ้าซาร์อีวานที่ 6 จึงวางแผนจะชิงพระองค์เพื่อแต่งตั้งให้เป็นพระเจ้าชาร์อีกครั้ง หวังจะได้ยศตำแหน่ง แต่แผนการชิงพระองค์ไม่สำเร็จ พระเจ้าซาร์ถูกผู้คุมสังหารก่อน เพราะมีรับสั่งจากพระนางเอลิซาเบธว่า หากมีการชิงพระเจ้าซาร์อีวานที่ 6 ให้ผู้คุมสังหารทันที
ความคิดเห็นที่ 13 : 125.25.149.14 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:23:38 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
6. จักรพรรดินีนาถเอลิซาเบธ
6 ธันวาคม – 5 มกราคม ค.ศ. 1741 – ค.ศ. 1762

สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเอลิซาเบธแห่งรัสเซีย หรือ เยริซาเวต้า เปตรอฟน่า (ภาษารัสเซีย Елизаве́та (Елисаве́т) Петро́вна; 29 ธันวาคม พ.ศ. 2252 - 5 มกราคม พ.ศ. 2305) ซึ่งทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม เยลิซาเว็ต และ เอลิซาเบธ ทรงเป็นพระจักรพรรดินีนาถแห่งรัสเซีย (พ.ศ. 2284 - พ.ศ. 2305) ทรงนำพาประเทศเข้าสู่สงครามสืบราชสมบัติออสเตรีย (พ.ศ. 2283 - พ.ศ. 2291) และสงครามเจ็ดปี (พ.ศ. 2249 - พ.ศ. 2306)

หรือ เยริซาเวต้า เปตอรฟน่า เป็นธิดาองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช กับ สมเด็จพระจักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 1 ทรงเป็น 1 ใน 2 พระโอรสและพระธิดาของพระซาร์ปีเตอร์ที่รอดจากการเสียชีวิตมาได้จากทั้งหมด 12 พระองค์ (พระโอรส 4 พระธิดา 8)
ความคิดเห็นที่ 12 : 125.25.149.14 โดย : admin  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:27:50 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
7. จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3
5 มกราคม – 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1761 (ถูกปลงพระชนม์)

สมเด็จพระจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย (ภาษารัสเซีย: Пётр III Фëдорович, Pyotr III Fyodorovitch) (21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1728 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1762) ทรงปกครองจักรวรรดิรัสเซียในฐานะพระจักรพรรดิเป็นเวลา 6 เดือน (5 มกราคม ค.ศ. 1762 - 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1762)

คาร์ล ปีเตอร์ อูลริช เป็นบุตรชายของดยุค ชาร์ล เฟรดเดอริค แห่งโฮลส์เทนต์-ก็อตทรอปกับเจ้าหญิงแอนนา เปโตรว่าแห่งรัสเซียพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช ปีเตอร์ทรงมีเชื้อสายรัสเซีย-สวีเดน เนื่องจากบิดาของพระองค์เป็นพระปนัดดาในกษัตริย์ชาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน เมื่อมีพระชนม์มายุ 14 พรรษา ก็ประกาศตนเป็นกษัตริย์แห่งฟินแลนด์ ท่ามกลางสงครามรัสเซีย-สวีเดน เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธทรงขึ้นครองราชย์ก็ทรงถูกนำตัวมายังเซนต์ปีเตอร์เบิร์กเพื่อขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย แต่พระองค์ทรงชิงชังรัสเซียมาก แต่กลับนิยมชมชอบปรัสเซียซึ่งเป็นศัตรูในขณะนั้น อีกทั้งยังทรงเกรียจคร้าน เอาแต่พระทัย ไม่ใส่ใจ และไม่มีพระอัจฉริยะภาพพระนางเจ้าเอลิซาเบธจึงไม่ต้องการให้พระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้าซาร์แห่งจักรวรรดิ พระนางเจ้าเอลิซาเบธจึงทรงเร่งรัดการอภิเษกสมรส เพื่อให้ปีเตอร์ผลิตองค์รัชทายาทองค์ใหม่ ให้พระนางและพระนางก็ทรงเลือกโซฟี เฟรดเดอริค ออกัสเต้หญิงสาวจากปรัสเซียซึ่งมีเชื้อสายเยอรมนีมาเป็นพระคู่หมั้น เมื่อโซฟีทำการเปลี่ยนนิกายโปรเตสแตนต์เป็นนิกายรัสเซียออร์โธด็อกซ์แล้วก็มีนามใหม่ว่า เอคาเตรีน่า อเล็กซีเยว่า แคทเธอรีน เมื่อถึงวันอภิเษกสมรสที่พระราชวังโอแรนเนี่ยนบวม ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก แม้ทั้งคู่ก็ทรงไม่ค่อยมีความสุขนัก แต่ก็มีโอรส 1 พระองค์นามว่า พอลล์ ซึ่งต่อมาก็คือสมเด็จพระจักรพรรดิพอลล์ที่ 1นั้นเอง

เมื่อพระนางเจ้าเอลิซาเบธสวรรคตในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1762 พระองค์ก็ทรงบริหารจักรวรรดิแบบตามอำเภอใจ ทรงถ่อยทัพขณะบุกปรัสเซียที่พระองค์รัก ทรงเปลี่ยนเครื่องแบบราชสำนักรัสเซียให้กลายเป็นสีของทางราชสำนักปรัสเซีย สร้างความไม่พอใจให้ทั้งกองทัพ ประชาชนชาวรัสเซีย พวกขุนนาง แม้แต่แคทเธอรีนด้วย และเมื่อถุงขีดสุด วันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1762 หลังจากที่ปกครองจักรวรรดิได้เพียงแค่ 6 เดือน ก็ทรงถูกแคทเธอรีนยึดอำนาจอธิปไตยทั้งหมด และถูกนำตัวไปกักขังในคุกชานกรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก หลังจาก 3 วันหลังยึดอำนาจกองทัพก็ได้พระกาศให้แคทเธอรีนเป็นพระจักรพรรดินีองค์ต่อไป

หลังจากหนึ่งสัปดาห์ผ่านไป อเล็กเซ่ แอนโทรวอฟ ก็ได้ปลงพระชนม์ปีเตอร์ในคุก ตามคำสั่งของแคทเธอรีน
ความคิดเห็นที่ 11 : 125.25.149.14 โดย : admin  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:32:57 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
8. จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช (ผู้ทรงธรรม)
9 กรกฎาคม – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1762 – ค.ศ. 1796

สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย (อังกฤษ: Catherine II of Russia) ซึ่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "มหาราชินี" (หรือภาษารัสเซีย: Екатерина II Великая; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2272 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2339) ทรงปกครองประเทศรัสเซียในฐานะพระจักรพรรดินีนาถแห่งรัสเซียเป็นเวลา 34 ปี ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2305 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น พระประมุขสูงสุดที่ทรงภูมิธรรม (an enlightened despot)

โซฟี เฟรดเดอริค ออกัสเต้ (Sophie Friederike Auguste von Anhalt-Zerbst, ชื่อเล่น "Figchen") เป็นธิดาของ คริสเตียน ออกัสเต้ เจ้าชายแห่งอันฮันต์-แชร์บส์ กับ โจฮาน่า อลิซาเบท เจ้าหญิงแห่งโฮลส์เทนต์-ก็อตทรอป โซฟีเกิดวันที่ 2 พฤษภาคม 1729 ในเมืองสเตติน(ปัจจุบันคือ เมืองเชสเช็คซิน,โปแลนด์)โซฟีได้รับการศึกษาส่วนใหญ่จากหญิงรับเลี้ยงเด็กตามบ้านผู้ดีและอาจารย์สอนพิเศษ โซฟีมีความหวังว่าจะได้เป็นพระชายาในแกรน ดยุค ปีเตอร์ แห่งโฮลส์เทนต์-ก็อตทรอป องค์รัชทายาทแห่งจักรวรรดิรัสเซีย และเนื่องจากทูตคนหนึ่งของพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 2 แห่งปรัสเซียได้เสนอตัวโซฟี โซฟีจึงมีโอกาสสูง อีกประการหนึ่งขณะนั้นปรัสเซียกับออสเตรียบาดหมางกันอย่างหนัก ปรัสเซียจึงต้องการสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับรัสเซียให้แน่นแฟ้นขึ้นหลังจากที่ลดลง เพื่อที่จะให้รัสเซียหนุนหลังการทำสงครามกับออสเตรีย ขณะที่คณะทูตเพิกเฉย กำหนดการต่างๆจึงถูกแทรกโดยแม่ของโซฟี ที่เป็นผู้หญิงที่ปราดเปรื่องอัฉริยะและทะเยอทะยาน ถึงแม้ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์แล้ว แม่ของโซฟีเป็นคนที่ปราศจากความรู้สึกใดๆและเย็นชา ท้ายที่สุดแล้วโซฟีก็ถูกส่งตัวไปรัสเซียเพื่ออภิเษกสมรสกับเจ้าชายปีเตอร์ เนื่องจากความต้องการชื่อเสียงลาภยศภายหลังจากการที่โซฟีขึ้นเป็นจักรพรรดินีแห่งรัสเซียของแม่ของโซฟี เมื่อโซฟีถูกนำตัวไปแล้วพระนางเจ้าอลิซาเบทพระจักรพรรดินีแห่งรัสเซียในขณะนั้น ก็ทรงโปรดโซฟีมาก และต่อมาไม่นานก็มีการอภิเษกสมรสกันระหว่าง แกรน ดยุค ปีเตอร์ แห่งรัสเซีย กับ โซฟี เฟรดเดอริค ออกัสเต้ แห่งปรัสเซีย ในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1745 ซึ่งพระนางเจ้าเอลิซาเบททรงรู้จักตระกูลของโซฟีเป็นอย่างดี

เจ้าหญิงโซฟีทรงมุ่งมานะพยายามไม่ใช่เฉพาะกับพระนางเจ้าเอลิซาเบทเท่านั้น แต่เป็นกับทั้งพระราชสวามีของพระองค์และประชาชนชาวรัสเซีย โดยพระองค์ทรงแปลงโฉมพระองค์ใหม่โดยทรงพระอักษรภาษารัสเซีย พระองค์ทรงพระอักษรดีขึ้นตามลำดับและมักดำเนินรอบห้องในเวลากลางคืนเพื่อท่องจำบทเรียน ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1744 พระองค์ทรงมีอาการปอดอักเสบ และก็นี้คือผลจาการลงมือกวดขันอย่างหนักของพระองค์ ในการทรงพระอักษรของพระองค์พระองค์ทรงบันทึกไว้ว่า เมื่อเวลาที่พระองค์ทรงเสด็จมาถึงรัสเซียพระองค์ก็ทรงทำให้ราวกับว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา พระองค์ปฏิญาณตนไว้ว่าจะยึดมั่นอยู่ในกฏระเบียบข้อบังคับต่างๆ และยอมรับระเบียบแบบแผนและกลายเป็นผู้มีคุณวุฒิเพื่อที่จะได้สวมมงกุฎของสมเด็จพระจักรพรรดินี พระองค์ยังคงไม่เปลี่ยนพระอัฌาสัยตลอดรอดฝั่ง เฉกเช่นเดิมตั้งแต่พระชนมายุ 15 พรรษา ที่ทรงกลายเป็นผู้ใหญ่ บิดาของพระองค์ยังคงเลื่อมใสพวกนิกายโปรเตสแตนต์แต่เมื่อพระองค์กลับเปลี่ยนนิกายเป็นนิกายรัสเซียออร์โธด็อกซ์ ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1744 แม้จะขัดต่อคำสั่งสอนของพระบิดาก็ตาม และภายหลังการเข้านับถือนิกายนี้ พระองค์จึงฉลองพระนามใหม่ว่า แคทเธอรีน เอราเกตรีน่า อเล็กเซเยว่า ตามระเบียบราชประเพณี ต่อมาพระองค์จึงได้เข้าพิธีหมั้น และอภิเษกสมรสกับแกรน ดยุค ปีเตอร์ ใน พระราชวังโอแรนเนี่ยนบวม,เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

หลังจากที่พระนางเจ้าเอลิซาเบททรงสวรรคต แกรน ดยุค ปีเตอร์ผู้ชิงชังรัสเซียและนิยมชมชอบปรัสเซียได้ขึ้นเป็น พระเจ้าปีเตอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย พระเจ้าปีเตอร์ทรงยินดีปรีดามากที่พระนางเจ้าเอลิซาเบทสวรรคต และทรงสั่งให้กองทัพรัสเซียถอยทัพกลับขณะที่กำลังบุกปรัสเซียที่พระองค์รัก ทรงเปลี่ยนเครื่องแบบราชสำนักรัสเซียจากสีเขียวของรัสเซียเป็นแบบสีน้ำเงินของปรัสเซีย นี้สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับประชาชนชาวรัสเซีย กองทัพ รวมถึงแคทเธอรีนด้วย ซึ่งแคทเธอรีนเองก็ชิงชังปีเตอร์มาตั้งแต่ต้น ด้วยที่ว่าปีเตอร์ไม่เอาไหน ซ้ำยังทำตัวเป็นเด็กเอาแต่ใจ มันจึงไม่โรแมนติกเลยสำหรับแคทเธอรีนที่จะอยู่ร่วมกัน และเมื่อทหารที่ชิงชังปีเตอร์ได้ร่วมก่อกบฏ และเมื่อขับไล่ปีเตอร์ได้แล้ว จึงได้มีการป่าวประกาศให้แคทเธอรีนเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งรัสเซีย ในวันที่ 13 กรกฎาคม และ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1762 หลังจาก 6 เดือนที่ปีเตอร์เสวยราชสมบัติ 3วันหลังจากการก่อกบฎ วันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1762 ปีเตอร์สวรรคตใน โรปชา ด้วยมือของ อเล็กเซ่ ออโลฟ ตามคำสั่งประหารของแคทเธอรีน

สิ่งยั่วพระทัยพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียมานานหลายปีนั่นก็คือการยึดแหลมไครเมียร์มาจากจักรวรรดิออตโตมัน เพื่อที่รัสเซียจะได้มีทางออกสู่ทะเลดำ และพระนางเจ้าแคทเธอรีนก็ทรงมีชัยเหนือจักรวรรดิออตโตมันในการครอบครองแหลมไครเมียร์เป็นพระองค์แรก ปัจจุบันแหลมไครเมียร์ตกเป็นของประเทศยูเครน

ตลอดการครองราชสมบัติของพระนางเจ้าแคทเธอรีน พระองค์ทรงทำนุบำรุงจักรวรรดิ ปฏิรูปประเทศ วางตัวเหมาะสมเพื่อให้เป็นที่สนใจ และยังนำเบี้ยกำนัลจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นของขวัญให้กับชาวไร่ชาวนาและทาสมากมาย แคทเธอรีนมีพระโอรส 1 พระองค์ นามว่าพอล พอลเป็นโอรสของแคทเธอรีน กับ ปีเตอร์ ถึงแม้แคทเธอรีนจะมีสามีใหม่ พอลก็ไม่ค่อยจะยอมรับสักเท่าไหร่ ถึงแม้ระยะครองราชย์จะยาวนานแต่ไม่ว่ากิจการใดที่เป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ แคทเธอรีนก็ไม่เคยย้อท้อ เมื่อพอลอภิเษกสมรสพอลก็มีโอรส 1 พระองค์นามว่า อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ซึ่งแคทเธอรีนหวังจะให้เป็นองค์รัชทายาทสืบไปหลังจากที่แคทเธอรีนทรงเล็งเห็นว่าพอลไม่สามารถเป็นพระเจ้าซาร์ได้

วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1796 ระหว่างที่ทรงอยู่ในห้องน้ำ พระองค์ก็ทรงเป็นลมล้มลงไป และทรงสวรรคตบนที่บรรทม เวลา 10:15 หลังจากที่เย็นวันก่อนทรงกลับมามีสติอีกครั้งในเวลาอันสั้น หลังจากเสด็จสวรรคตข่าวลือก็เกิดขึ้นทั่วรัสเซียและ และข่าวลือยิ่งครึกโครมขึ้นเมื่อขุนนางฝรั่งเศสออกมาอ้างว่าพระนางเจ้าแคทเธอรีนทรงตกม้าขณะทรงม้า พระนางถูกฝังที่โบสถ์ปีเตอร์พอล ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ความคิดเห็นที่ 10 : 125.25.149.14 โดย : admin  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:38:52 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
9.จักรพรรดิปอลที่ 1

17 พฤศจิกายน – 24 มีนาคม ค.ศ. 1796 – ค.ศ. 1801 (ถูกปลงพระชนม์)

ในสมัยที่ประเทศรัสเซียที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตยนั้น พระเจ้าแผ่นดินรัสเซียทรงอำนาจเด็ดขาดเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และอำนาจเด็ดขาดของพระเจ้าแผ่นดินรัสเซียนั้น บางทีก็ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ประเทศ เช่น ในสมัยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชและพระนางคัธริน แต่บางครั้งก็เกิดเรื่องหายนะ และทำความลำบากแก่พลเมือง ก่อความเดือดร้อนทุกเส้นหญ้า และก็เป็นเคราะห์ร้ายที่รัสเซียมีพระเจ้าแผ่นดินที่ร้ายมากกว่าดี พระเจ้าปอลที่ 1 ซึ่งประสูติในปีพุทธศักราช 2344 เป็นองค์หนึ่งในบรรดากษัตริย์ที่ไม่ดีของรัสเซีย

พระเจ้าปอลที่ 1 ไม่ใช่คนเล็กน้อย เป็นพระโอรสของพระนางคัธรินมหาราชินี องค์สำคัญที่เราอ่านเรื่องของพระนางมาแล้ว

แม้พระชนนีคือพระนางคัธรินเอง ยังไม่แน่พระทัยว่า พระโอรสพระองค์นี้ เกิดจากพระสวามีหรือชู้รักคนใด เพราะก่อนที่พระนางคัธรินจะตั้งครรภ์พระโอรสองค์นี้ มีการสับสนอลหม่านจนไม่รู้ว่าใครเป็นคนให้ลูก แต่องค์พระเจ้าปอลเองทรงเชื่อว่า พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปีเตอร์ที่ 3 พระราชสวามีทางราชการของพระนางคัธริน เมื่อพระนางสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2339 และพระเจ้าปอลที่ 1 ได้ราชสมบัติแล้ว ก็ทรงเนรเทศคนที่สงสัยว่าปลงพระชนม์พระชนกออกไปไซบีเรียทั้งหมด ทรงปกครองประเทศอย่างโง่เขลา ออกกฏหมายที่ทำความเดือดร้อนแก่ราษฏร และดำเนินนโยบายที่ผิดมาตลอด พระราชจริยวัตรตลอดรัชกาลสั้นๆ ทำให้คนทั้งหลายปลงใจเชื่อว่า พระองค์เป็นลูกของพระเจ้าปีเตอร์ที่ 3 จริงๆ เพราะมีลักษณะโง่ๆ บ้าๆ เหมือนพ่อ หาความฉลาดเหมือนแม่ไม่ได้แม้แต่นิดเดียว อยู่ในราชสมบัติใด้เพียง 5 ปี ก็ถูกพวกนายทหารของพระองค์เองบังคับให้สละราชสมบัติ และเค้นคอตายเช่นเดียวกับพระชนก เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2344

เรื่องที่เล่าลือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ และเป็นเรื่องที่นักประพันธ์นักแต่งละคร ตลอดจนผู้สร้างภาพยนตร์ในสมียนั้นนำเอามาใช้ คือ เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้

วันหนึ่งพระองค์ประทับรถพระที่นั่ง เสด็จประพาสตามถนนในเมือง ทรงพบพลทหารคนหนึ่ง รูปร่างหน้าตาเข้าที ก็เกิดโปรดปราณขึ้นมาในทันใดนั้น จึงทรงหยุดพระรถที่นั่ง และรับสั่งแก่พลทหารคนนั้นว่า


" ขึ้นมาบนรถฉันนี่ นายร้อยโท "
" ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าเป็นแต่เพียงพลทหาร " พลทหารผู้นั้นตอบ
" ถูกแล้ว " พระเจ้าปอลรับสั่ง
" แกเป็นพลทหาร แต่ในทันทีที่ฉันเรียกนายร้อยโท แกต้องเป็นนายร้อยโท "
พลทหาร ซึ่งได้ยศเป็นนายร้อยโท โดยรับสั่งของพระเจ้าปอลคำเดียวนั้นก็ตั้งสติมั่น เพื่อให้แน่ใจว่าตัวไม่ได้ฝันไป แล้วก็ก้าวมาใกล้รถพระที่นั่ง
" ขึ้นมาซิ นายพันตรี " พระเจ้าปอลที่ 1 รับสั่งต่อ
บุรุษเคราะห์ดีผู้ซึ่งได้เลื่อนจากพลทหารขึ้นเป็นนายพันตรีในชั่วเวลา 2-3 นาทีก็ก้าวขึ้นบนรถพระที่นั่ง
" เข้ามาใกล้ๆ ฉันนี่นายพันเอก " พระเจ้าปอลที่ 1 รับสั่งต่อ
ตกลงพลทหารผู้นั้นก็เป็นนายพันเอก และเมื่อขึ้นไปนั่งเรียบร้อย รถพระที่นั่งก็เคลื่อนที่ต่อไป เผอิญในระหว่างเวลาที่รถพระที่นั่งแล่นไปนั้น พระเจ้าปอลคงมีเรื่องอะไรที่ต้องทรงตรึกตรอง จึงมิได้รับสั่งอะไรอีก หาไม่พลทหารผู้นั้นจะได้ขึ้นถึงจอมพล
ตั้งแต่นั้นมา พลทหารที่ได้เป็นนายพันเอกในชั่วเวลา 2-3 นาทีนั้น ก็มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ ตามเสด็จเสมอในเวลาเสด็จประพาสที่ต่างๆ จนในที่สุดก็ได้เป็นนายพล พอถึงวันที่พระเจ้าปอลเบื่อหน้านายพลคนใหม่นี้เข้าแล้ว ก็ทรงใช้วิธีอย่างที่เคยทรงใช้มาแล้วในครั้งก่อน
" ขยับออกไปให้ห่างหน่อย นายพันเอก " พระเจ้าปอลรับสั่งในขณะที่ทรงเสด็จประพาสกับราชองครักษ์ตัวโปรดของพระองค์ ซึ่งบัดนี้หายโปรดเสียแล้ว และนายพลผู้นั้นต้องกลับลงเป็น นายพันเอกใหม่
พอรถพระทีนั่งแล่นต่อไปได้หน่อยหนึ่ง ก็มีรับสั่งให้หยุดรถ และรับสั่งกับราชองครักษ์ผู้นั่นว่า
" ลงไปข้างล่างนายร้อยโท " นายพลซึ่งกลับลงเป็นนายร้อยโท ก็ลงจากรถ
" กลับไปประจำที่เดิมของแก พลทหาร " พระเจ้าปอลรับสั่งต่อีก
พลทหารซึ่งกลับเป็นพลทหารผู้นั้น ก็กลับไปที่เดิมของตน และแน่ใจอยู่เสมอว่า เรื่องราวที่ผ่านมาแล้วนั้น ตัวไม่ได้ฝันไปเลย
วันหนึ่งพระเจ้าปอลออกตรวจกองทหาร ก็ได้พบหน้าราชองครักษ์ ชั่วคราวของพระองค์อีกครั้งหนึ่ง จึงทรงเรียกตัวออกมาจากแถว
คนผู้นั้นก้าวออกมาด้วยความดีใจว่า คงจะประสบโชคอันใหญ่หลวงที่เคยประสบมาแล้ว
" ขวาหัน " พระเจ้าปอลรับสั่ง และพลทหารผู้นั้นก็หันไปทางขวาทันที
" เดินตรงไปไซบีเรีย " พระเจ้าปอลรับสั่งต่อ
ในที่สุด พลทหารผู้นั้นก็ถูกเนรเทศไปอยู่ไซบีเรีย โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่าได้ทำความผิดอะไร

ที่มา : หลวงวิจิตรวาทะการ
ความคิดเห็นที่ 9 : 125.25.149.14 โดย : admin  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:42:32 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
10. จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 (ผู้เมตตา)
24 มีนาคม – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1801 – ค.ศ. 1825

พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาที่พระนางแคทเธอรีนมหาราชทรงโปรดปราณมาก พระนางให้การศึกษาที่ดี อบรมให้วิชาความรู้ทุกแขนง เจ้าชายทรงเป็นที่รักของทุกคน สติปัญญาดี เฉลียวฉลาด ขณะขึ้นครองราชย์มีพระชนมายุ 20 พรรษา มีความคิดแบบเสรีนิยม ทั้งยังทรงสร้างแม่แบบรัฐธรรมนูญขึ้น ในสมัยของพระองค์มีเหตุการณืที่สำคัญเกิดขึ้นคือ ในปี ค.ศ. 1811 ขณะที่ทำสงครามกับฝรั่งเศส นะโปเลียน ผู้ซึ่งมีความคิดจะรวบรวมดินแดนของรัสเซีย ฟินแลนด์ และดินแดนโดยรอบเป็นของตนเอง จนทำให้เกิดสงครามใหญ่ขึ้นในปี ค.ศ. 1812 ความประมาทของกองทัพฝรั่งเศส แผนการรบอันชาญฉลาดของรัสเซีย รวมทั้งอากาศที่หนาวเย็นที่มาเร็วกว่าปกติ ทำให้ฝรั่งเศสต้องล่าถอยไป รัสเซียถึงได้รับชัยชนะเหนือกองทัพฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชัยชนะที่รัสเซียภาคภูมิใจมาก พระองค์ไม่มีพระโอรส หลังจาดสวรรคต พระอนุชาก็สืบบัลลังค์ต่อ คือ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1

ความคิดเห็นที่ 8 : 125.25.149.14 โดย : admin  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:49:09 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
11. จักรพรรดิคอสแตนติน
1 ธันวาคม – 26 ธันวาคม ค.ศ. 1825 – ค.ศ. 1825 (สละราชสมบัติ)

ความคิดเห็นที่ 7 : 125.25.149.14 โดย : admin  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:53:21 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
12. จักรพรรดินิโคลัสที่ 1
26 ธันวาคม – 2 มีนาคม ค.ศ. 1825 – ค.ศ. 1855

นับได้ว่าเป็นยุคสมัยที่รัสเซียมีอำนาจมากที่สุดในยุโรป พระองค์ทรงเกลียดการปฏิวัติ การประชุมลับๆ ของขุนนางถือได้ว่าเป็นสิ่งผิดกฏหมาย ไม่มีใครกล้าวิจารณ์การเมือง ยกเว้น อเล็กซานเดอร์ พุชกิ้น (Alexander Pushkin) กวีเอกชาวรัสเซียผู้สร้างต้นแบบการประพันธ์ที่อยู่ในความทรงจำของชาวรัสเซียไว้เป็นจำนวนมาก ช่วงสมัยของพระองค์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงการเมืองในยุโรปตะวันตกโดยรอบ มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดระบอบสังคมนิยมขึ้น รวมทั้งระบอบประชาธิปไตยด้วย มีเหตุการณ์สำคัญคือ สงครามแหลมไครเมีย (Crimean war) เนื่องจากรัสเซียต้องการขยายดินแดนเหนือบริเวณทะเลดำตอนใต้ โดยคิดว่าตนมีกำลังที่เข้มแข็ง แต่เพราะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดอาวุธยุทโธปกรณืที่ทันสมัยขึ้นมากมาย แต่รัสเซียยังคงล้าหลังอยู่ เป็นเหตุให้รัสเซียต้องพ่ายแพ้สงครามนี้ ในปี ค.ศ. 1855 พระองค์ยอมรับความจริงไม่ได้ เสียพระทัยจนล้มป่วยลงต่อมาก็สวรรคต ผู้สืบบัลลังค์ คือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 ผู้มีพระทัยเมตตากรุณา และรักในระบอบเสรีนิยม

ความคิดเห็นที่ 6 : 125.25.149.14 โดย : admin  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:56:46 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
13. จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 2 (ผู้กู้อิสรภาพ)
2 มีนาคม – 13 มีนาคม ค.ศ. 1855 – ค.ศ. 1881 (ถูกปลงพระชนม์)

พระองค์ทรงยอมรับความพ่ายแพ้ของสงครามเนื่องจากกองทัพที่ไม่ทันสมัย เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม รัสเซียเองก็ต้องมีการพัฒนาประเทศโดยการสร้างทางรถไฟไปยังทะเลดำ ทรงเริ่มนำแนวความคิดเสรีนิยมมาใช้ มีการให้อิสระภาพแก่นักโทษการเมืองในปี ค.ศ. 1861 มีการเลิกทาสก่อนสหรัฐอเมริกาถึง 2 ปี แต่พวกขุนนางไม่เห็นด้วย มีคำพูดที่ว่า "เป็นซาร์ผู้ให้อิสรภาพ" แต่ผิดคาดเหตุการณ์ที่ตามมาคือ ชาวนาจนกว่าเดิม เพราะต้องซื้อที่ดินแพงขึ้น แถมยังต้องเสียภาษีสูงขึ้นอีก ในขณะที่เศรฐกิจกำลังย่ำแย่ไปทั่วโลก จนเกิดกระแสล้มล้างการปกครองที่ยาวนาน เหตุการณ์สำคัญคือพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1881 โดยปาระเบิดใส่ราชรถระหว่างการเดินทางกลับพระราชวังฤดูหนาวในนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก แต่พระองค์มาสวรรคตที่พระราชวังฤดูหนาว เนื่องจากทนพิษบาดแผลไม่ไหว ถือเป็นการปิดฉากนักปฏิรูปการเมืองที่ต้องการให้ประชาชนของตนอยู่อย่างเป็นสุขและเท่าเทียมกัน ผู้สืบบัลลังค์ต่อคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 ผู้ซึ่งมีความคิดไม่เหมือนพระบิดา พระองค์มีความคิดแบบเก่าว่า ซาร์เป็นตัวแทนของพระเจ้า เพื่อปกครองประเทศ


(พ.ศ. 2424 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 ( Alexsander II) ถูกสังหารจากคณะ People' Will พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 ( Alexsander III) ครองราชย์ต่อ)
ความคิดเห็นที่ 5 : 125.25.149.14 โดย : admin  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 18:59:23 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
14. จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (ผู้สร้างสันติสุข)
13 มีนาคม – 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1881 – ค.ศ. 1894

ทรงสรางโบสถ์เป็นอนุสรณ์ของพระบิดาขึ้นในบริเวณที่ถูกทำร้าย เรียกว่า โบสถ์แห่งหยดเลือด (Church of the Savior on Spilited Blood) สั่งจับกบฏที่ทำการปฏิวัติมาฆ่าตายทั้งหมด ช่วงนี้เป็นระยะเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก จึงไม่มีการพัฒนาประเทศ รวมทั้งประชาชนมีความยากแค้นอย่างมาก จึงเป็นยุคแห่งการเกลียดชังพระเจ้าซาร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีความคิดที่จะล้มล้างระบบการปกครอง ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น ชาวนาต้องไปทำนาในโรงงาน ระบบโครงสร้างของประเทศเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรม เหตุการณ์สำคัญคือ นายเลนินถือกำเนิดขึ้นในครอบครัวชนชั้นสูง มีพี่ชายที่ถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏ ต่อมาพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 สวรรคต ผู้สืบบัลลังค์ต่อคือ พระราชโอรส นิโคลัสที่ 2 กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงค์โรมานอฟ ผู้ซึ่งไม่ชอบการปกครองและรักสันโดษ

ความคิดเห็นที่ 4 : 125.25.149.14 โดย : admin  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 19:04:42 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
15. จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 (ผู้เสียสละ)
1 พฤศจิกายน – 15 มีนาคม ค.ศ. 1894 – ค.ศ. 1917 (สละราชสมบัติ)

ซาร์นิโคลัสที่ 2 หรือ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 (รัสเซีย: Никола́й II, Nikolay II, นิโคลาย ที่ 2; อังกฤษ: Nicholas II) (18 พฤษภาคม พ.ศ. 2411–17 กรกฎาคม พ.ศ. 2461)

เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิรัสเซีย กษัตริย์ของโปแลนด์ และแกรนด์ดยุกแห่งฟินแลนด์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 3 แห่งราชวงศ์โรมานอฟ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2437 พระองค์ได้รับการกล่าวถึงว่าทรงเป็นจักรพรรดิที่อ่อนแอ ทรงไม่สามารถจัดการกับความไม่สงบภายในประเทศ โดยเฉพาะความพ่ายแพ้ในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2448 และการที่ทรงบัญชาการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ไม่ทรงสามารถควบคุมกองทัพได้ อันเป็นชนวนให้ประชาชนชาวรัสเซียไม่พอใจและก่อการประท้วง นอกจากนี้ยังทรงปล่อยให้รัสปูติน นักบวชนอกรีตมีอิทธิพลเหนือราชสำนัก ต่อมาคณะปฏิวัติบอลเชวิกได้บังคับให้ทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2460 ทรงถูกจำและถูกปลงพระชนม์อย่างทารุณพร้อมด้วยพระราชวงศ์หลายพระองค์

พระนามาภิไธยเต็มของพระองค์คือ นิโคเลย์ อเล็กซานโดรวิช โรมานอฟ พระนามาภิไธยอย่างเป็นทางการคือ นิโคลัสที่ 2 สมเด็จพระจักรพรรดิเจ้าอธิปัตย์แห่งรัสเซีย และในบางครั้งมีผู้เรียกพระองค์ว่า “นิโคลัสผู้เป็นที่เคารพบูชา” อันเนื่องมาจากการถูกปลงพระชนม์อย่างทารุณ กับทั้งได้รับสมัญญาว่า “นิโคลัสผู้กระหายเลือด” อันเนื่องมาจากเหตุการณ์นองเลือดในวันขึ้นทรงราชย์ อย่างไรก็ดี ผู้ถือศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ของรัสเชียยกย่องพระองค์ให้เป็น “นักบุญนิโคลัสผู้ธำรงความหฤหรรษ์”

ซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิงอลิกซ์แห่งเฮสส์และไรน์ ซึ่งต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย มีพระราชบุตรด้วยกันห้าพระองค์

ความสัมพันธ์ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 กับราชอาณาจักรสยาม
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เมื่อครั้งเป็นมกุฏราชกุมารทรงพระนามว่าเซอร์เรวิช แกรนด์ ดุ๊ก นิโคลัส ได้เสด็จเยือนประเทศไทยหรือประเทศสยามในเวลานั้นระหว่างวันที่ 20-24 มีนาคม พ.ศ. 2434 รวมเป็นเวลา 5 วันโดยทรงได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดที่พักประทับแรมถวายที่พระราชวังสราญรมย์และได้นำเสด็จ "ปิกนิกใหญ่" ทอดพระเนตรการคล้องช้างที่จังหวัดอยุธยา ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยือนพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นการตอบแทนที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นเวลา 11 วัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกเป็นเวลา 9 เดือนโดยนับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 ซึ่งต่อมาได้ถือเป็นวันแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย-รัสเซียอย่างเป็นทางการ การเสด็จเยือนรัสเซียพร้อมการฉายภาพทั้งสองพระองค์ประทับนั่งคู่กันตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วยุโรปถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราโชบายที่ทำให้ประเทศสยามรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษหรือฝรั่งเศส
ความคิดเห็นที่ 3 : 125.25.149.14 โดย : admin  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 19:13:29 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
16. มกุฎราชกุมารไมเคิล อเล็กซานโดรวิช
15 มีนาคม – 16 มีนาคม ค.ศ. 1917
(ดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารและมิได้เป็นกษัตริย์เนื่องจากการปฏิวัติ) เดือนมิถุนายน 1918 พระองค์กับพระราชเลขาธิการชาวอังกฤษ ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่เมืองเปิร์ม ถูกทหารนำตัวออกไปสังหารในป่านอกเมือง
ความคิดเห็นที่ 2 : 125.25.149.14 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 19:19:30 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
ตราประจำราชวงศ์โรมานอฟ
- นกอินทรีย์ 2 หัว หัวหนึ่งเฝ้ามองทวีปเอเซีย อีกหัวหนึ่งเฝ้ามองทวีปยุโรป (รัสเซียมีดินแดน 2 ทวีปรวมกัน)
- 2 หัวสวมมงกุฏเพชร มีมหามงกุฏจักพรรดิสวมอีกครั้งโดยอยู่เหนือมงกุฏ 2 อัน หมายถึงให้สามัคคีกัน รวมเข้าด้วยกันนั่นเอง
- เท้าถือคฑาเพชรอีกข้างถือลูกกลมทองคำประดับเพชร
- ปีกแผ่ออก ประดับด้วยตราประจำพระองค์ของกษัตริย์ต่างๆ (ราชวงศ์โรมานอฟ)
ความคิดเห็นที่ 1 : 125.25.103.80 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 04/03/2009 23:25:40 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 

 
   Photo Galleries :
     
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ


Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย Start : August 31, 2010
 
.................เว็บบอร์ดนี้เป็น บอร์ดนำเสนอข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้เน้นการโพสต์ตอบแต่อย่างใด เรามีการเก็บข้อมูลผู้ใช้ เพื่อวิเคราะห์เส้นทางการเข้าถึงบอร์ดนี้
ดูข้อมูล ข้อมูล Log File เพื่อตรวจสอบการเข้าเว็บบอร์ด
ตอบกลับ แสดงความคิดเห็น
น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphor Mueng, Kalasin 46000
www.artnana.com