หน้าแรกข่าว
อ่านข่าวทั้งหมด
-- All Categories --
Russian Tourist in Thailand News
Today Russian News
Russian Sport News
Mars-500 project
Russian Business News
รัสเซียเปิดโรงละครบอลชอย หลังปิดปรับปรุง 6 ปี
หมวดข่าว :
Today Russian News
โพสต์เมื่อ :
เสาร์ ที่ 29 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2554
รัสเซียเปิดโรงละครบอลชอย หลังปิดปรับปรุง 6 ปี
ประธานาธิบดีดิมิทรี เมดเวเดฟ พร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีวลาดิมีร์ ปูติน เตรียมไปเป็นประธานในพิธีเปิดโรงละครบัลเลต์และโอเปร่าบอลชอย อันโด่งดังเป็นตำนานของรัสเซีย ในพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ที่จะมีขึ้นในวันศุกร์นี้ ท่ามกลางการรอคอยของบรรดาแฟนๆการแสดงบัลเลต์ หลังจากที่มีการปิดเพื่อบูรณะซ่อมแซมนานถึง 6 ปี ด้วยงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลรัสเซีย
รายงานข่าวระบุว่า พิธีเปิดในครั้งนี้จะถ่ายทอดไปทั่วประเทศรัสเซีย ยุโรปและในสหรัฐ โดยคาดว่าจะมีแขกสำหรับระดับผู้นำประเทศอย่างนางแองเกล่า แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี มาร่วมด้วย โรงละครถูกออกแบบโดย อังเดร มิไคลอฟ สถาปนิกรัสเซีย โรงละครบอลชอยเปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อ 6 มกราคม ค.ศ. 1825 โดยมีชื่อเริ่มแรกว่า โรงละครบอลชอยหลวงแห่งมอสโก ในเบื้องต้นนำเสนอเฉพาะงานของศิลปินรัสเซียเท่านั้น และเริ่มนำเสนองานของศิลปินต่างประเทศในปี ค.ศ. 1840
ทั้งนี้ โรงละครแห่งนี้ มีประวัติยาวนานกว่า 200 ปี ได้รับการออกแบบโดยนายอังเดร มิไคลอฟ สถาปนิกชื่อดังของรัสเซีย โรงละครบอลชอยเปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 6 มกราคม ปี 2368 นอกจากนี้โรงละครบอลชอยยังเคยถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดการประชุมสภาโซเวียตครั้งแรก ซึ่งในการประชุมนี้เป็นการยอมรับการเกิดขึ้นมาของสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ
ในที่สุดรัฐบาลรัสเซียที่ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ก็อนุมัติงบประมาณซ่อมแซมต่อเนื่องเป็นวงเงินสูงถึง 730 ล้านดอลลาร์ ท่ามกลางข้อกล่าวหาของการฉ้อฉลและการเล่นพวก ในระหว่างการซ่อมแซมนี้ บอลชอยก็ย้ายไปเปิดการแสดงในโรงละครสำรองที่อยู่ในอาคารข้างเคียง แต่ไม่มีคนสนใจมากนักเพราะขาดความขลังของบรรยากาศ วงเงินที่ซ่อมแซมบานปลายจากงบเดิม 610 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกิดจากโครงสร้างเดิมที่ซ่อมเอาไว้ไม่มั่นคง และระบบเสียงเสียหายอย่างรุนแรงมากกว่า 75% จึงต้องการปรับปรุงใหม่ โดยเน้นรักษาต้นแบบทางสถาปัตยกรรมยุคเริ่มแรกเอาไว้อย่างเต็มที่
บอลชอย ก่อตั้งขึ้นในรูปของธุรกิจเอกชนภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์ในปีเดียวกับที่สหรัฐฯประกาศเอกราชจากอังกฤษ แต่ยังไม่ได้ย้ายมาอยู่ที่อาคารที่ตั้งปัจจุบัน จนกระทั่งได้เข้าซื้อกิจการของโรงละครเก่าของคู่แข่งที่ชื่อ เปตรอฟก้า ที่ถูกไฟไหม้ในค.ศ. 1824 หลังสงครามนโปเลียน โดยมีสถาปนิกชื่อดัง อังเดร มิไคลอฟ ซึ่งออกแบบห้องแสดงเป็นรูปโครงไวโอลิน แล้วก็กลายเป็นสถาบันการแสดงศิลปะคู่แข่งของโรงละคร คีรอฟของเซอท์ปีเตอร์สเบิร์กมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ผลิตศิลปินรุ่นแล้วรุ่นเล่าออกไปให้ชาวโลกได้สัมผัสยาวนาน
ในระยะแรกบอลชอยเน้นนำเสนอผลงานศิลปินรัสเซียเพียงอย่างเดียว แต่ต่อมาได้ขยายตัวเอางานของต่างประเทศทั่วยุโรปเข้ามาแสดง โดยเปิดการแสดงในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน โดยเป็นการแสดงชุดเดิมๆ ที่ได้รับความนิยมเป็นพื้นฐาน แล้วคัดเลือกบัลเล่ท์หรือโปเปร่า หรือละครเพลงใหม่ๆ เข้ามาเปิดรอบปฐมฤกษ์ขึ้นปีละประมาณ 4 เรื่อง เพื่อทำการคัดกรองให้เห็นพลวัตของศิลปะทางด้านการแสดงและดนตรีชั้นสูง
รูปแบบของการเปิดการแสดงของบอลชอยนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่การแสดงในโรงละคร แต่มันเป็นพิธีกรรมทางด้านวัฒนธรรม นับแต่การขายของที่ระลึกสำหรับผู้ชม การพักครึ่งเวลา ห้องรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มประเพณี รวมทั้งอื่นๆ ซึ่งทำให้คนที่เข้ามามีส่วนร่วม เกิดความรู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างเก่ากับใหม่ได้อย่างน่าทึ่ง
ตั๋วสำหรับเข้าชมบัลเล่ท์หรือโปเปร่าในบอลชอยนั้นยังคงแบ่งออกเป็น 2 ราคาคือ เก็บเป็นรูปดอลลาร์หรือยูโรสำหรับคนต่างชาติ และเก็บเป็นรูเบิ้ลสำหรับคนรัสเซียเอง ซึ่งต่างกันลิบลับ แต่ก็มีคนต่างชาติยินดีจ่ายเพื่อจะได้สัมผัสบรรยากาศอันยิ่งใหญ่ที่หาไม่ได้ง่ายนัก
การเปิดครั้งใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ฉากใหม่จะถูกสร้างขึ้นให้สดใส ส่วนพื้นที่ทั้งหมดได้รับปรับปรุงเหมือนต้นแบบแรกสร้าง เช่น ผนังไม้ ผ้าม่านเวทีเงิน และแถวที่นั่งทรงฝรั่งเศสบุกำมะหยี่สีแดง การปรับปรุงทั้งหมดนี้ เมื่อเทียบกับราคาค่าตั๋วที่จะขายสำหรับที่นั่งธรรมดา 350 รูเบิ้ล และ 5,000 รูเบิ้ล สำหรับที่นั่งในช่องพิเศษ ก็ยังถือว่าถูกมาก ซึ่งจะทำให้โรงละครแห่งนี้ขาดทุนไปยาวนาน ต้องอาศัยการอุดหนุนจากรัฐบาลตลอดไป แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าสำหรับการผดุงศิลปะระดับสูงของโลกเอาไว้
ปัญหามีอย่างเดียวคือ จะจูงใจให้นักแสดงหรือศิลปินที่เกี่ยวข้องในโรงละครนี้ ใช้โรงละครแห่งนี้สร้างชื่อแล้วโบยบินไปหาโอกาสสร้างความร่ำรวยในยุโรปหรือที่อื่นๆ ในโลก โดยเฉพาะจีนที่กำลังส่งเสริมศิลปะการแสดงด้านนี้อย่างแข็งขันอย่างไรในอนาคต
ข้อมูลจาก : http://www.121easy.com/contentn.php?id=11354
เข้าชม : 5052
5 อันดับล่าสุดในหมวด Today Russian News
รัสเซียระงับส่งก๊าซให้ยูเครน หลังตกลงราคาไม่สำเร็จ
ชาวยูเครนกว่า 9 แสนคนอพยพ
อดีตนายกฯ"พรีมาคอฟ"ของรัสเซียถึงแก่อสัญกรรม
อเมริกาเคยเหยียบดวงจันทร์จริง หรือ
รัสเซียเพิ่มขีปนาวุธ 40 ลูกเข้าคลังแสง
Photo Galleries :
๏ปฟ
เวลาท้องถิ่น
กรุงเทพฯ
มอสโก
ลอนดอน
โรม
ฮ่องกง
โตเกียว
ซิดนีย์
ฟิจิ
ฮาวาย
ซานฟรานซิสโก
นิวยอร์ค
18.97.9.168 = UNITED STATES Saturday 14th December 2024
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน
น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
-
พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
-
ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
-
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
-
ราชวงค์โรมานอฟ
-
จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
-
พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
-
ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
-
กรุงมอสโก
-
นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
-
เมืองเขตโกล์เด้นริง
-
รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
-
เมืองวลาดิเมียร์
-
เมืองซากอร์ส
-
ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
-
สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
-
ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
-
แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
-
รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
-
จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
-
Trans-Siberian Railway
-
วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
-
ว้อดก้ารัสเซีย
-
เพชรรัสเซีย
-
รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
-
ดู RT TV online (eng)
-
ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
-
เชชเนีย
-
ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
-
สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
-
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
-
เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
-
พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
-
สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
-
สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
-
เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย
เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
อาร์เมเนีย (Armenia)
พศ. 2534
อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan)
พศ. 2536
เบลารุส (Belarus)
พศ. 2534
จอร์เจีย (Georgia)
พศ. 2536-2551
คาซัคสถาน (Kazakhstan)
พศ. 2534
คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan)
พศ. 2534
มอลโดวา (Moldova)
พศ. 2534
รัสเซีย (Russia)
พศ. 2534
ทาจิกิสถาน (Tajikistan)
พศ. 2534
เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan)
พศ. 2548
ยูเครน (Ukraine)
พศ. 2534
อุซเบกิสถาน (Uzbekistan)
พศ. 2534
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com