Case Study : การชำระเงินด้วย PayPay
 




  

หมวด เนื้อหาทั้งหมด
    มอสโก
    เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
    โปรแกรมทัวร์
    ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
    วลาดิเมียร์
    ซูซดาล
    ซากอร์ส
    แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
    เวลาและอุณหภูมิโลก
    ของฝากจารัสเซีย
    หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
    ที่สุดของรัสเซีย
    บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
    รวมภาพ ในแต่ละทริป
    คุยกับ เว็บมาสเตอร์
    16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
    เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
    Webcam
    การเดินทางสู่กรุงมอสโก
    ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
    ไปรัสเซียต้องระวัง
    ภาษารัสเซีย ???????
    Golden Ring Cities
    Russian Clips
    ราชตระกูล จักรพงษ์
    Russian TV
    เอกอัครราชทูต
    การก่อการร้ายในรัสเซีย
    ไซบีเรีย
    รัสเซีย : สงครามต่างๆ
    พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
    มรดกโลกของ รัสเซีย
    มาเฟียรัสเซีย
    หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
    รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
    คิง ไกเซอร์ ซาร์
    เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
    อวกาศกับรัสเซีย
    12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
    วอดก้ารัสเซีย
    เขตปกครองของรัสเซีย
    เพชรรัสเซีย
    เสด็จเยือนรัสเซีย
    คาเวียร์
    เครื่องดนตรีรัสเซีย
    น้ำดื่ม (วาดะ)
    ศิลปินรัสเซีย
    Trans-siberian railway
    ze
    8
    

    

ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง








หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 

เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : คุยกับ เว็บมาสเตอร์
Case Study : การชำระเงินด้วย PayPay
e-Commerce ในธุรกิจจริง [e-Commerce Case Study]

Paypal.com
(ธุรกิจบริการโอนและชำระเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล)

Download PDF--

1. ข้อมูลเบื้องต้น

Paypal Inc. (www.paypal.com) เป็นบริษัทออนไลน์ที่ให้บริการระบบโอนและชำระเงินผ่านอีเมล์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C-to-C Payment) หรือระหว่างบุคคลกับบุคคล (P-to-P Payment) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 1998 และเริ่มให้บริการเมื่อเดือนตุลาคม 1999 ในระหว่างปีแรกที่ให้บริการ บริษัทมีลูกค้าเข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกกว่า 3 ล้านราย และมีธุรกรรมต่อวันมากกว่า 100,000 ธุรกรรม

บริการทั่วๆไปที่ลูกค้านิยมใช้บริการผ่าน Paypal ได้แก่ การโอนเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล การชำระเงินค่าสินค้าในตลาด
ประมูลต่างๆโดยเฉพาะตลาดประมูลระหว่างบุคคลกับบุคคลของ Ebay การทำธุรกรรมที่เป็นลักษณะเดียวกับการสั่งจ่ายเช็คระหว่าง
บุคคลกับบุคคล และการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น

ในสหรัฐฯก่อนที่จะมีการให้บริการระบบโอนและชำระเงินออนไลน์เช่นเดียวกับ Paypal การโอนและชำระเงินระหว่างกลุ่มผู้บริโภค
กับผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการชำระด้วยเงินสด การส่งเช็ค การโอนเงิน (Transfer) และการใช้บัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งมีความ
ไม่สะดวกบางประการ กล่าวคือ

  • การชำระเงินด้วยเงินสด ต้องมีการพบปะกันระหว่างทั้งสองฝ่าย
  • แม้ว่าการสั่งจ่ายเช็คระหว่างบุคคลกับบุคคลโดยข้ามธนาคารหรือข้ามรัฐจะไม่มีการคิดค่าบริการก็ตาม การส่งเช็คไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลต้องใช้ระยะเวลานาน และผู้ที่ได้รับเช็คต้องนำเช็คดังกล่าวไปฝากธนาคารก่อน จึงจะสามารถสั่งจ่ายให้แก่ผู้อื่นต่อไปได้
  • การชำระเงินด้วยการโอนเงินมีค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง
  • การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตยังไม่สามารถชำระโดยตรงระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคได้

ในทางตรงกันข้ามการชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตผ่านบริการของ Paypal มีข้อดี คือ

  • สามารถรองรับการทำธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคได้
  • มีต้นทุนในการทำธุรกรรมที่ต่ำและสามารถสั่งจ่ายเงินที่มีมูลค่าน้อย
  • มีความรวดเร็วเสมือนกับการรับและส่งเช็คทางออนไลน์ และสามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

2. ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ

ผู้ที่ต้องการใช้บริการโอนหรือชำระเงินผ่านเครือข่ายบริการของ Paypal ต้องลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของ Paypal ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดชื่อบัญชี (Login) และรหัสผ่าน (Password) ได้ด้วยตนเอง โดยลูกค้า สามารถเลือกเปิดบัญชีส่วนบุคคลหรือบัญชีแบบ Premier ซึ่งจะมีวงเงินในการรับชำระด้วยบัตรเครดิตและคิดค่าบริการที่แตก ต่างกันดังแสดงในตารางที่ 1 ในการลงทะเบียน ลูกค้าต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

  • เปิดบัญชีธนาคารประเภทใช้เช็ค (Checking Account) เพื่อใช้สำหรับการโอนเงินฝากไว้ในบัญชี หรือต้องการปิดบัญชีที่เปิดไว้กับ Paypal
  • ฝากเงินขั้นต่ำไว้ในบัญชีที่เปิดไว้กับ Paypal 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยในอัตรา ที่ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยของตลาด
  • แจ้งที่อยู่อีเมล์ (Email Address) ซึ่งจะใช้ในการติดต่อและทำธุรกรรม

2.1) ผู้ส่งเงินหรือผู้โอนเงิน

  1. เมื่อลงทะเบียนแล้ว สมาชิกจะสามารถใช้บริการโอนเงินหรือชำระเงินให้แก่ผู้อื่นผ่านเว็บไซต์ของ Paypal
  2. ในขั้นตอนการโอนเงิน สมาชิกต้องแจ้งชื่อและนามสกุลของผู้รับ จำนวนเงินที่ต้องการโอน และอีเมล์ของผู้รับ
  3. หลังจากยืนยันการโอนเงินแล้ว บริษัทจะส่งอีเมล์แจ้งหมายเลขยืนยันการโอนเงิน เพื่อให้ผู้โอนเงินใช้อ้างอิง ส่วน ผู้รับจะได้รับอีเมล์แจ้งให้ทราบว่ามีการโอนเงินให้ผ่านบริการของ Paypal โดยผู้รับจะสามารถรับเงินจำนวน ดังกล่าว ตามขั้นตอนที่จะกล่าวถึงต่อไป
  4. เมื่อผู้รับได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว บริษัทจะส่งอีเมล์ยืนยันการรับเงินดังกล่าวให้แก่ผู้โอนเงิน อย่างไรก็ตาม บริษัทอนุญาตให้ผู้โอนเงินสามารถยกเลิกการโอนเงินได้ทุกเวลาก่อนที่ผู้รับจะได้รับเงิน

    2.2) ผู้รับเงิน

    1. เมื่อได้รับอีเมล์แจ้งการโอนเงิน ผู้รับต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกของ Paypal เช่นเดียวกับผู้โอนเงิน โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
    2. เมื่อลงทะเบียนแล้ว ผู้รับจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวและเก็บในบัญชีที่เปิดไว้กับ Paypal โดยจะสามารถโอนเงิน จ่ายให้แก่ผู้อื่นได้ต่อไป

    2.3) การปิดบัญชี

    เมื่อลูกค้าต้องการปิดบัญชีที่เปิดไว้กับ Paypal ลูกค้าจะต้องแจ้งให้บริษัททราบ โดยบริษัทจะส่งเงินทั้งหมดที่มีอยู่ ในบัญชีของลูกค้าดังกล่าวในรูปของการส่งเช็คทางไปรษณีย์ การโอนเงินผ่านบัตรเครดิต หรือการโอนเงินในบัญชีคืน ให้แก่ลูกค้า ซึ่งไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีใดก็ตาม ลูกค้าจะใช้เวลารอรับเงินนานประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามลูกค้า ส่วนใหญ่ จะเก็บรักษาเงินจำนวนดังกล่าวไว้ใช้ซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ต่อไป ในปัจจุบัน บริษัทกำลังจัดทำโครงการให้ บริการบัตรเดรบิต (Debit Card) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าตามร้านค้าปกติ (Offline)

    3. การประกอบการ

    รายได้หลักของบริษัทจะมาจากค่าธรรมเนียม (Fee) ซึ่งจัดเก็บจากผู้รับเท่านั้น ดังตารางที่ 1

    ประเภทบัญชี ค่าธรรมเนียมบริการ
    ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่รับ
    . น้อยกว่า $15 ตั้งแต่ $15 ขึ้นไป
    บัญชีส่วนบุคคล* ไม่คิดค่าบริการ ไม่คิดค่าบริการ
    บัญชีแบบ Premier $0.30 2.2% + $0.30
    * กำหนดให้รับโอนเงินจากบัตรเครดิตได้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มา: http://www.paypal.com

    เมื่อต้นปี 2001 Paypal มีสมาชิกเกือบ 7 ล้านราย และมีร้านที่เปิดรับชำระเงินจาก Paypal กว่า 7,000 แห่ง โดยในแต่ละวัน
    มีจะมีปริมาณการโอนและชำระเงินเงินผ่านระบบของ Paypal กว่า 160,000 ครั้งต่อวัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน

    4. จุดเด่นในการประกอบธุรกิจ

    จุดเด่นในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ Paypal คือ การประกอบธุรกิจที่สามารถหาช่องว่างของตลาดการ โอนและชำระเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล โดยการใช้อีเมล์เป็นสื่อกลางในการแจ้งการทำธุรกรรมแต่ละครั้งให้ลูกค้าทราบ ซึ่งทำให้ บริษัทสามารถให้บริการลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการให้บริการแบบเดิมที่เป็นการชำระเงินด้วยเงินสด การใช้เช็ค การโอนเงิน และการใช้บัตรเครดิต

    จุดเด่นอีกประการหนึ่งของ Paypal คือ การคิดอัตราค่าบริการของ Paypal อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าค่าธรรมเนียมบริการของบัตร เครดิตซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 ถึง 5 ของมูลค่าที่ชำระเงิน และค่าธรรมเนียมบริการโอนเงินของธนาคารซึ่งคิดค่าบริการขั้นต่ำอยู่ที่ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ

    นอกจากนี้ Paypal มีวิธีการหาลูกค้าโดยการกระจายสมาชิกจากผู้ส่งเงินไปสู่ผู้รับชำระเงินอย่างเป็นลูกโซ่ โดยกำหนดให้ผู้ที่จะ รับเงินจากผู้ส่งในระบบต้องเป็นสมาชิกของ Paypal เท่านั้น ซึ่งทำให้ Paypal มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

    5. ปัจจัยในความสำเร็จ

    ธุรกิจการให้บริการโอนและชำระเงินออนไลน์เช่น Paypal จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ

    1. สามารถสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าได้ เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของ Paypal มีความเกี่ยวข้องกับเงินของผู้ใช้บริการ ซึ่งในการทำธุรกรรมแต่ละครั้งลูกค้าจะให้ความสำคัญต่อการรักษาความ ปลอดภัยในอันดับต้นๆ ดังนั้น Paypal จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัย และความถูกต้องอยู่เสมอ ในระหว่างเริ่มต้นการประกอบธุรกิจ Paypal ได้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าด้วยการ
      แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Board of Advisory) ที่มาจากกลุ่มผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption Technology)
    2. สามารถคิดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่าแบบเดิมคือบริการของธนาคารและบัตรเครดิต นอกจากการให้บริการ อำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ลูกค้าแล้ว จุดเด่นอีกประการหนึ่งของ Paypal คือ การคิดค่าบริการในอัตรา ที่ต่ำกว่าบริการของธนาคารและบัตรเครดิต ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง บริษัทจำเป็นต้องสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันดังกล่าวไว้ หรือเพิ่มบริการมูลค่าเพิ่มอื่นๆ (Value Added) เพื่อจูงใจให้ลูกค้าใช้บริการต่อไป
    3. มีร้านค้าออนไลน์จำนวนมากรับชำระค่าบริการด้วยระบบชำระเงินของ Paypal ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสะดวก ให้แก่ลูกค้ามากขึ้น ในปัจจุบันมีร้านค้ากว่า 7,000 แห่ง และเว็บไซต์ประมูลเกือบทั้งหมดที่ยอมรับการ ชำระเงินด้วยระบบของ Paypal

    6. ธุรกิจอื่นๆ ที่มีโมเดลคล้ายกัน

    บริษัทอื่นที่มีโมเดลในการทำธุรกิจที่คล้ายคลึงกับ Paypal ได้แก่ Billpoint (www.billpoint.com) ซึ่งให้บริการชำระเงิน
    แก่ลูกค้าของตลาดประมูล Ebay.com c2it (www.c2it.com) ซึ่งให้บริการถอนเงินจากธนาคารและชำระเงิน และ MoneyZap
    (www.moneyzap.com) ซึ่งให้บริการชำระเงินออนไลน์

    7. โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย

    ในปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์บางแห่งของไทยได้เริ่มให้บริการธนาคารออนไลน์ (Internet Banking) ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถ โอนหรือชำระเงินระหว่างกันได้ อย่างไรก็ตาม บริการดังกล่าวยังมีความไม่สะดวก หลายประการ เช่น ไม่สามารถใช้กับผู้รับ
    ชำระเงินที่หลากหลาย และต้องแจ้งรายชื่อผู้รับชำระเงินก่อนล่วงหน้า เป็นต้น ส่วนการให้บริการในลักษณะเดียวกันกับ Paypal นั้นยังไม่มีความแน่ชัดว่าจะขัดกับกฎระเบียบใดที่ใช้กำกับดูแลสถาบันการเงินหรือถือว่าเป็นการออกเงินสกุลใหม่ตามกฎหมาย เงินตราหรือไม่

    ร้านค้าออนไลน์ควรศึกษาและเตรียมความพร้อมที่จะยอมรับระบบชำระเงินออนไลน์ของ Paypal หรือระบบชำระเงินออนไลน์อื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าของตน

   ส่งหน้านี้ให้เพื่อน      ติดต่อเว็บมาสเตอร์    
04-06-2006 Views : 5621
หมวด คุยกับ เว็บมาสเตอร์ : 16 หัวข้อ   
    04-06-2006
  • Case Study : การชำระเงินด้วย PayPay
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ















3.141.100.120 = UNITED STATES    Wednesday 24th April 2024  IP : 3.141.100.120   คนที่กำลังอ่าน      ส่งหน้านี้ให้เพื่อน     Bookmark and Share
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย

น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com