เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : วอดก้ารัสเซีย
Dmitri Mendeleev Dmitri Mendeleev ดมิทรี เมนเดลีฟ
นักเคมีและนักประดิษฐ์ ผู้คิดตารางธาตุ
( นักเคมี Dmitri Mendeleev พบว่า แอลกอฮอล์ 38% เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด ของวอดก้า )
เกิด : วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1834 ที่ Verhnie Aremzyani ประเทศรัสเซีย (Russia)
เสียชีวิต : วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1907 ที่ เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg) ประเทศรัสเซีย (Russia)
ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดเลเยฟ (Dmitri Ivanovich Mendeleyev) นักเคมีชาวรัสเซีย เกิดที่โทโบลส์ (Tobolsk) ในไซบีเรีย (Siberia) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1834 ในปี 1849 หลังจากการเสียชีวิตของพ่อของเขา ด้วยความยากจนของครอบครัว เมนเดลีฟต้องย้ายไปอยู่ที่ เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก (St. Petersburg) และเข้าศึกษาที่ The Main Pedagogical Institute ในปี 1850
หลังจากสำเร็จการศึกษาในปี 1855 เมนเดเลเยฟป่วยด้วยโรควัณโรค จึงต้องย้ายที่อยู่อีกครั้งไปที่เมือง Crimean Peninsula ใกล้กับทะเลดำ (Black Sea) และที่นี่ ด้วยวัยเพียง 21 ปี เมนเดเลเยฟได้เป็นหัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนประจำท้องถิ่น ก่อนที่เขาจะกลับไปที่ เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก อีกครั้งเพื่อสอบในระดับปริญญาโท ในปี 1856
ระหว่างปี 1859 ถึง 1861 เมนเดเลเยฟไปที่ปารีส (Paris) เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับความหนาแน่นของก๊าซ และไปที่เยอรมันเพื่อศึกษาการทำงานของกล้อง Spectroscope ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Gustav Robert Kirchhoff ภายหลังจากที่กลับมายังรัสเซีย ในปี 1863 เขากลายเป็นศาสตราจารย์ทางด้านเคมีที่ The Technological Institute และที่ The University of St. Petersburg และแต่งงานกับ Anna Ivanovna Popova ในปีเดียวกันนั่นเอง
จากผลงานการตีพิมพ์ครั้งแรกของเขา "Chemical Analysis of a Sample from Finland" ในปี 1854 จนถึงงานชิ้นสุดท้ายในปี 1906 เช่น "A Project for a School for Teachers" และ "Toward Knowledge of Russia" การค้นคว้าของเขามีกว่า 250 เรื่อง ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือ "Organic Chemistry" ซึ่งถูกตีพิมพ์ในปี 1861 ขณะเขาอายุได้ 27 ปี และ "Principles of Chemistry" ในปี 1868
ในปี ค.ศ.1871
ความสำเร็จที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดก็คือ การคิดค้น กฎพิริออดิก (Periodic Law) และการพัฒนา ตารางพิริออดิก (Periodic Table) เมนเดเลเยฟใช้เวลามากกว่า 13 ปีในการเก็บสะสม รวบรวมข้อมูลและหลักการต่างๆ
ในปี 1866 นักเคมีชาวอังกฤษ John Alexander Reina Newlands ได้เสนอ "Law of Octaves" ซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์กันของธาตุต่างๆ ซึ่งมีแนวคิดคล้ายกับของเมนเดเลเยฟ อย่างไรก็ตาม วันที่ 6 มีนาคม ค.ศ.1869 เมนเดเลเยฟนำเสนอผลงานอย่างเป็นทางการครั้งแรกต่อ The Russian Chemical Society ในหัวข้อ "The Dependence Between the Properties of the Atomic Weights of the Elements"
เมนเดเลเยฟพัฒนาตารางธาตุเรื่อยมา เขาจัดตารางธาตุ โดยเขียนน้ำหนักอะตอมและสมบัติทางเคมีของธาตุแต่ละตัวบนกระดาษ จากนั้นนำธาตุเหล่านั้นมาเรียงตามน้ำหนักอะตอมจากซ้ายไปขวาหรือตามแนวนอน เรียกว่า คาบ (Period) ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกัน อยู่ในแนวดิ่ง เรียกว่า หมู่ (Column) จึงได้เกิดกฎพิริออดิก (Periodic Law) ขึ้นว่า "สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของธาตุเป็นพิริออดิกฟังชั่นก์ (Periodic function) แบบเป็นคาบๆ กับน้ำหนักธาตุ" ส่วนตำแหน่งใดที่เห็นว่าไม่มีธาตุที่เหมาะสมก็เว้นช่องว่างไว้
เมนเดเลเยฟได้ตระหนักว่ายังมีธาตุเป็นจำนวนมากที่ยังไม่มีการค้นพบ จึงเว้นที่ว่างทิ้งไว้ในตารางธาตุ แต่โดยที่ตำแหน่งในตารางธาตุมีความสัมพันธ์กับสมบัติทั้งทางกายภาพและทางเคมีของธาตุ จึงทำให้เมนเดเลเยฟสามารถทำนายธาตุเหล่านั้นได้ล่วงหน้า โดยบอกลักษณะสมบัติต่างๆ ของธาตุนั้นไว้ด้วย และเขียนเรื่องลงในวารสาร Journal of The Russian Chemical Society ฉบับประจำวันที่ 7 เดือนมกราคม ค.ศ.1871 ตั้งชื่อธาตุและบอกสมบัติของ eka - boron, eka - aluminium, eka - silicon ต่อมามีผู้พบธาตุตามที่เขาทำนายไว้ คือ
eka - aluminium พบเมื่อ ค.ศ.1875 โดย Lecoq de Boisbaudran ชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันคือ ธาตุแกลเลียม (Gallium, Ga)
eka - boron พบเมื่อ ค.ศ.1879 โดย Lars Fredrik Nilson นักเคมีชาวสวีเดน ปัจจุบันคือ ธาตุสแคนเดียม (Scandium, Sc)
eka - silicon พบเมื่อ ค.ศ.1886 โดย Clemens Winkler ชาวเยอรมัน ปัจจุบันคือ ธาตุเจอร์เมเนียม (Germanium, Ge)
ในการจัดตารางธาตุ เมนเดเลเยฟมิได้ยึดการเรียงตามน้ำหนักอะตอมเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ได้นำความคล้ายคลึงของสมบัติทางเคมีและทางกายภาพมาประกอบพิจารณาด้วย แม้ว่าจะขัดกับหลักเกณฑ์การเรียงธาตุตามค่าน้ำหนักอะตอมบ้างก็ตาม เช่น
ก๊าซเฉื่อยอาร์กอน (Argon, Ar) ยังต้องอยู่ข้างหน้าโปแตสเซี่ยม (Potassium, K) ทั้งๆ ที่น้ำหนักอะตอมมากกว่า
โคบอลต์ (Cobalt, Co) อยู่ข้างหน้านิเกิล (Nickel, Ni) ทั้งๆ ที่น้ำหนักอะตอมมากกว่า
เทลลูเรียม (Tellurium, Te) อยู่ข้างหน้าไอโอดีน (Iodine, I) ทั้งๆ ที่น้ำหนักอะตอมมากกว่า
เมนเดเลเยฟได้รับรางวัลเหรียญเดวี (The Davy Medal) จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ในปี ค.ศ.1882 และรางวัลเหรียญคอปเลย์ (Copley Medal) ในปี ค.ศ.1905 หลังจากนั้นไม่นาน เขาเสียชีวิตที่เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1907
หลังจากเมนเดเลเยฟถึงแก่กรรม 48 ปี คือปี ค.ศ.1955 คณะนักวิทยาศาสตร์คณะหนึ่งได้ค้นพบธาตุชนิดใหม่ ซึ่งได้จากการสังเคราะห์ (synthetic element) นักวิทยาศาสตร์เรียกธาตุใหม่ที่เตรียมขึ้นนี้ว่า Mendelevium (Md) เพื่อให้เกียรติแก่ Dmitri Mendeleyev
ที่มาข้อมูล :
http://www.woodrow.org/, http://encyclopedia.thefreedictionary.com
วิริยะ สิริสิงห 30 นักวิทยาศาสตร์ สำนักพิมพ์อักษรวัฒนา กรุงเทพ 2542
สานิตย์ โภคาพันธ์ ประวัติและวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพ 2530
www.myfirstbrain.com
VIDEO
ประติมากรรมในเกียรติของ Mendeleev และตารางธาตุตั้งอยู่ในบราติสลาวา , สโลวะเกีย
ประติมากรรมในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
เหรียญ Mendeleev