"พระเจ้าปีเตอร์มหาราช พระเจ้าซาร์ผู้นำรัสเซียก้าวไปสู่สังคมนานาชาติ"
"พระองค์เป็นผู้ปูพื้นฐานความยิ่งใหญ่ให้กับอาณาจักรรัสเซียของพระองค์"
เจ้าชายปีเตอร์ประสูติในปี ค.ศ.1672 ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าซาร์อเล็กซิส และพระนางนาตาเลีย นาริชกิน ซารินา พระมเหสีองค์ที่ 2 เจ้าชายมิได้รับตำแหน่งรัชทายาทแต่กำเนิดเพราะพระราชบิดามีพระโอรสและธิดากับพระมเหสีองค์แรก คือ พระนางมาเรีย ไมโลสลาฟกี้ถึง 13 องค์ (ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่วัยเยาว์หลายองค์) แต่เจ้าชายทรงเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง และสติปัญญาเฉลียวฉลาดผิดกับพระเชษฐาต่างพระมารดา ซึ่งล้วนมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ บางองค์ก็มีร่างกายพิการ
เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ลงในปี ค.ศ.1676 ขณะที่เจ้าชายปีเตอร์มีพระชนมายุเพียง 4 พรรษา พระเชษฐาต่างพระมารดา พระนามว่า ฟิออเดอร์ ซึ่งมีพระชนมายุ 15 พรรษาขึ้นครองราชสมบัติแทนมีพระนามว่า พระเจ้าซาร์ฟิออเดอร์ที่ 3
เมื่อพระเจ้าซาร์ฟิออเดอร์ซึ่งมีพระวรกายอ่อนแอสิ้นพระชนม์ลงในปี ค.ศ.1682 โดยมิได้ทรงมีรัชทายาท แม้ทรงอภิเษกสมรส ถึง 2 ครั้ง บรรดาขุนนางจึงสนับสนุนเจ้าชายปีเตอร์ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 10 พรรษา ให้ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียแทนเจ้าชายอีวาน พระโอรสของพระเจ้าซาร์อเล็กซิสอีกพระองค์หนึ่งซึ่งมีพระเนตรพิการและมีสิทธิ์ที่จะครองราชย์เท่าเทียมกันเมื่อปี ค.ศ.1682 เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ พระมารดานาตาเลีย จึงทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ไม่กี่เดือนหลังจากที่พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ขึ้นครองราชย์ ได้เกิดจลาจลขึ้น เหตุการณ์รุนแรงจนถึงขั้นนองเลือด บิดาเลี้ยงและพี่ชายของพระมารดานาตาเลียถูกทหารรุมประชาทัณฑ์จนตาย ทำให้ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระนางนาตาเลีย จึงตกอยู่กับเจ้าหญิงแกรนด์ดัสเชส โซเฟีย พระธิดาองค์หนึ่งของพระเจ้าซาร์อเล็กซิส ซึ่งเป็นพระพี่นางต่างพระมารดา ซึ่งเคย พยายามขัดขวางพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มิให้ขึ้นครองราชย์ได้นำกองทหารสเตรลท์ซี (ทหารรักษาพระองค์ที่อีวานที่ 4 เป็นผู้ตั้ง) จำนวน 20,000 คน เข้ายึดอำนาจ เมื่อได้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ เจ้าหญิงจึงผลักดันให้มีการแต่งตั้งเจ้าชายอีวานที่ 5 ขึ้นเป็นพระเจ้าซาร์อีกองค์หนึ่งคู่กับพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ เป็นพระเจ้าซาร์องค์ที่ 1 และให้พระเจ้าปีเตอร์ เป็นซาร์องค์ที่ 2 ซึ่งเป็น ธรรมเนียมไม่เคยปรากฏมาก่อนในรัสเซีย แต่อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองทั้งหมดตกอยู่ในมือของผู้สำเร็จราชการ คือ เจ้าหญิงโซเฟียแต่เพียงผู้เดียว
ในระหว่างที่เจ้าหญิงโซเฟียทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น พระเจ้าซาร์ปีเตอร์และพระมารดา ทรงย้ายที่พำนักที่อยู่ห่างจากกรุงมอสโคว์ไปราว 3 ไมล์ ทรงใช้ชีวิตอยู่ในชนบทอันกว้างขวาง พระองค์ทรงโปรดเล่นเกมสงครามเป็นที่สุดพอๆ กับการต่อเรือและแล่นเรือ ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานให้ทรงเป็นกษัตริย์รัสเซียพระองค์แรกที่ตระหนักในความสำคัญของการมีทางออกทางทะเล ทรงเห็นว่ารัสเซีย ไม่อาจพัฒนาได้หากสภาพภูมิประเทศถูกปิดกั้นทางออกทะเล เพราะเมืองท่าแห่งเดียว ของรัสเซีย คือ Archangel น้ำจะจับตัวเป็นน้ำแข็งเสียปีละกว่า 6 เดือน ทรงเป็นผู้ที่ผลักดันที่จะหาเมืองท่า ที่มีน้ำอุ่น พอที่จะเปิดรัสเซียออกสู่โลกภายนอกได้ตลอดปี
นอกจากนี้แล้ว อิทธิพลที่ทรงได้รับในเมืองชนบทแห่งนี้ก็คือ อิทธิพลของชาวยุโรป เช่น อังกฤษ และเยอรมัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ไม่ไกลไปจากพระตำหนักของพระองค์นัก ด้วยพระองค์มีความสนพระทัยที่จะเรียนรู้สิ่งแปลกๆใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา จึงทรง ให้ความสนใจที่จะคบค้ากับชาวต่างชาติเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง ทรงเริ่มรู้จักและชื่นชมต่อวัฒนธรรมของตะวันตกที่ทันสมัย จนตั้งปณิธานว่าสักวันจะต้องเดินทางไปทอดพระเนตรสิ่งที่ได้รับฟังจากปากของพระสหายต่างชาติด้วยพระองค์เองให้ได้
และเมื่อพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มีพระชนมายุได้ 17 พรรษา ทรงได้รับพระราชอำนาจปกครองอย่างแท้จริง แม้ในทางพิธีการ พระเจ้าปีเตอร์จะทรงยกย่องพระเจ้าซาร์อีวานพระเชษฐาว่าเป็นซาร์อีกองค์หนึ่งก็ตาม แต่ทางปฏิบัติแล้ว พระเจ้าซาร์อีวาน มีพระพลานามัยอ่อนแอเกินกว่าที่จะใช้สิทธิของพระองค์ได้ จึงได้แต่คอยให้ความเห็นชอบในทุกสิ่งที่ปีเตอร์ทรงบัญชาการไปแล้วเท่านั้น สำหรับพระนางโซเฟียซึ่งหมดอำนาจไปแล้วนั้นถูกบังคับให้บวชเป็นชีและถูกนำตัวไปยังสำนักชีชีชาน กรุงมอสโคว์ พระนางใช้ชีวิตอยู่ในสำนักชีเป็นเวลา 15 ปีจนสิ้นพระชนม์
หลังจากนั้นอีก 7 ปี พระเจ้าซาร์อีวานที่อ่อนแอก็สิ้นพระชนม์ลง พระเจ้าซาร์ปีเตอร์จึงทรงมีอำนาจเด็ดขาดเหนือแผ่นดินรัสเซีย แต่เพียงพระองค์เดียว สิ่งแรกที่ทรงกระทำก็คือส่งคณะทูตรัสเซีย ไปยังประเทศยุโรปตะวันตกเพื่อเชื่อสัมพันธไมตรีไว้ เป็นกำลังต้านศัตรู คือ พวกชาวเติร์กที่มีสงครามติดพันกันมานาน
การส่งคณะทูตไปยังดินแดนที่ชาวรัสเซียเห็นว่า นอกศาสนานั้นไม่เป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ โดยเฉพาะมีข่าวลือว่าพระเจ้าซาร์จะทรงเดินทางไปกับคณะทูตด้วย ข่าวนี้นำความตระหนกมาสู่ชาวรัสเซีย เพราะพระเจ้าแผ่นดินรัสเซีย ไม่เคยมีพระองค์ใด เดินทางออกไปนอกแผ่นดินรัสเซียเลย แต่ข่าวลือนั้นเป็นความจริงเพราะพระเจ้าซาร์ทรงร่วมเดินทางไปกับคณะทูตโดยการ ปลอมพระองค์เป็นคนธรรมดา มหานครของประเทศยุโรปตะวันตกที่พระองค์ทรงเดินทางไปก็คือ วอร์ซอ เวียนนา อัมสเตอร์ดัม และลอนดอน เป็นต้น ซึ่งทรงประทับใจมหานครลอนดอนมากที่สุด ที่สำคัญคือทรงได้เห็นกองทัพเรืออันเกรียงไกรของอังกฤษ ซึ่งช่วยย้ำความเข้าใจของพรองค์ให้มั่นคงยิ่งว่า ประเทศจะมั่งคั่งได้ด้วยอาศัยกำลังทางเรือ
การเสด็จเยือนยุโรปตะวันตกครั้งนี้มีผลต่อพระเจ้าซาร์ปีเตอร์อย่างมหาศาล โดยเมื่อพระองค์เสด็จกลับมาถึงกรุงมอสโคว์ก็ทรง มีพระปณิธานแน่วแน่ว่าจะทรงเปลี่ยนแปลงประเทศรัสเซียเสียใหม่ ธรรมเนียมใดที่ล้าหลังก็จะทรงให้ยกเลิกไป ซึ่งพระองค์ก็ได้ ทรงปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้ทันสมัย ทรงเปลี่ยนระบบเงินตราของประเทศรัสเซียเสียใหม่ ทรงโปรดให้ ปรับปฏิทินให้เข้ากับระบบตะวันตก และทรงนำระบบการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ผู้กระทำความชอบเข้ามาใช้
แผนการนำรัสเซียสู่ความทันสมัยของพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ ใช่แต่จะมีเพียงการปรับปรุงสังคมรัสเซียเท่านั้น ยังทรงคำนึงถึง การแสวงหาทางออกทะเลอีกด้วย ทรงตัดสินพระทัยทำสงครามกับสวีเดนในสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 12 เพื่อช่วงชิงเมืองท่า ปากแม่น้ำเนวา ซึ่งจะเป็นจุดเปิดไปสู่ทะเลบอลติกและเป็นหน้าต่างสู่ยุโรป หลังจากการสู้รบที่ดุเดือด พระเจ้าซาร์ก็ทรงมีชัยชนะ และยึดปากแม่น้ำเนวาได้สำเร็จ ณ ที่นี้ทรงสร้างเมืองใหญ่ขึ้นเมืองหนึ่งในปีค.ศ.1812 ทรงขนานนามตามชื่อนักบุญประจำพระองค์ คือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St.Petersburg) ทรงตั้งให้เป็นเมืองหลวง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมและการเมือง (หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ เมืองนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นภาษารัสเซียว่า "เปรโตรกราด" และก็ต้อง เปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น "เลนินกราด" ในปีค.ศ.1924 เพื่อเป็นเกียรติแก่เลนิน)
รัชกาลของพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราชยาวนานถึง 43 ปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าวพระองค์ทรงทุ่มเทกำลังพระวรกาย และพระสติปัญญาในการปรับปรุงรัสเซียให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศทั้งหลาย และเป็นรากฐานมาจนถึงปัจจุบันนี้
พระเจ้าปีเตอร์มหาราช สิ้นพระชนม์ด้วยโรคเกี่ยวกับไตเมื่อพระชนมายุได้ 53 พรรษา ผู้ที่รับราชสมบัติต่อจากพระองค์ ก็คือ จักรพรรดินีแคเธอรีน พระมเหสีองค์ที่ 2 เนื่องจากซาเรวิช อเล็กซิส พระโอรสพระองค์เดียวซึ่งประสูติจากพระนางออดาเซีย พระมเหสีองค์แรกสิ้นพระชนม์ชีพเสียก่อน ทรงได้รับการขนานพระนามว่า พระนางแคเธอรีนที่ 1
พระนางแคเธอรีนที่ 1 มีพระนามเดิมว่า แคเธอรีน สกาฟรอนทสกี้ นางเป็นเพียงลูกสาวชาวนาเชื้อสายลิธัวเนีย และกลายมาเป็น สนมลับๆ ของพระเจ้าปีเตอร์มาตั้งแต่ค.ศ.1703 เมื่อพระเจ้าปีเตอร์มหาราชทรงหย่ากับพระมเหสีองค์แรก จึงอภิเษกกับนาง อย่างลับๆ แล้วทรงสถาปนานางให้เป็น จักรพรรดินีแคเธอรีนที่ 1 พระนางมีพระราชโอรส-ธิดากับพระเจ้าปีเตอร์มหาราชถึง 12 พระองค์ พระราชธิดาองค์หนึ่งซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองพระราชบัลลังก์รัสเซีย คือ สมเด็จพระจักรพรรดินีอลิซาเบธ
ปีเตอร์มหาราชประสูติในปีค.ศ.1672 ที่ประเทศรัสเซียพระองค์ทรงขึ้นครองราชตั้งแต่อายุ 10 พรรษาเท่านั้น ปีเตอร์มหาราชได้ทรงเปลี่ยนแปลงประเทศรัสเซียในหลายด้านเพื่อให้รัสเซียเป็นประเทศที่ทันสมัยขึ้น เช่นได้ทรงให้ผู้ชายรัสเซียเลิกไว้หนวดเคราและทรงผมยาวๆ,บังคับให้เลิกสวมใส่เสื้อคลุมยาวรุ่มร่าม ให้ประชาชนแต่งตัวคล้ายชาวยุโรปและยังริเริ่มให้ผู้หญิงออกมาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมรวมกันกับผู้ชาย พระองค์ได้กองทัพเรือรัสเซียขึ้นและปรับปรุงกองทัพบกให้ทันสมัยทำให้รสเซียมีเส้นทางเดินเรือไปยัง ฝั่งยุโรปได้ทรงริเริ่มการอุตสาหกรรมโดยให้มีการจัดตั้งโรงงานขึ้นอย่างมากมายในประเทศรัสเซียเอง และรวมไปถึงประเทศอาณานิคมด้วย พระองค์เสด็จสวรรคตประมาณปี ค.ศ.1740 ที่ประเทศรัสเซีย |