| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (Tsar Nicholas ll,พ.ศ. 2411-2461) | พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (Tsar Nicholas ll,พ.ศ. 2411-2461) พระเจ้าซาร์องค์สุดท้ายของรัสเซีย เป็นโอรสองค์สุดท้ายของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ในปีพ.ศ. 2437 เป็นที่เกลียดชังของประชาชน เพราะทรงสนับสนุนขบวนการเรียกร้องเสรีภาพทรงปล่อยให้รัสปูตินมีอิทธิพลในราชสำนัก จึงจำต้องสละราชสมบัติในช่วงการปฏิบัติในรัสเซีย (Russian Revolution) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2460
การจราจล 2 ครั้ง ทำให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ขึ้นปกครองพระเจ้าซาร์ ในเดือนกุมภาพันธ์หลังจากที่รัสเซียพ้ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวนำโดยอเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี้ ต่อมาเกิดการปฏิวัติเดือนตุลาคม เลนินและพรรคบอลเชวิกได้โค่นล้มเคเรนสกี้ สถาปนาการปกครองโดยโซเวียต (Soviets) หรือสภาประชาชน พวกพรรคบอลเชวิกภายใต้การการนำของยูรอฟสกี้ ได้สังหารพระเจ้าซาร์และบรมวงศานุวงค์ที่เมืองเยคาเตรินเบิร์ก ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 โดยที่บางคนยังเชื่ออยู่เสมอว่าเจ้าหญิงอนาสตาเซีย (Anastasia) พระราชธิดาองค์สุดท้ายของพระเจ้าซาร์ได้รอดชีวิตจากการสังหารในครั้งนี้ เพราะอัฐิของพระนางมิได้อยู่ในกองอัฐิของพระบรมวงศานุวงค์ที่มีการขุดขึ้นมาพิสูจน์ใน พ.ศ. 2536
คำว่า "ซาร์" (Tsar) แผลงมาจากคำว่า "ซีซาร์" (Caesar) แปลว่า ประมุขหรือจักรพรรดิแห่งรัสเซีย กษัตริย์ที่ใช้คำว่าซาร์เป็นพระองค๋แรกคือ อีวานที่ 4 (Ivan Iv - The Terrible)
เมื่อ พ.ศ. 2090 พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นกษัตริย์ที่ค่อนข้างใจอ่อนหรือใจดีเกินไปสำหรับการปกครองประชาชนของประเทศที่ใหญ่โตเช่นรัสเซีย พระองค์ทรงยินยอมให้ราษฎรมีเสียงในการปกครองมากขึ้น โดยยอมให้ตั้งสภาดูมา (Duma) พวกกรรมกรได้รับ อนุญาติให้เป็นสหพันธ์กรรมกร (Labour Uninon) เกิดพรรคการเมืองขึ้นหลายพรรค แต่เมื่อเกิดส ครามโลกครั้งที่ 1 รัสเซียก็เข้ากับฝ่ายพันธมิตร ร่วมกับอังกฤษและฝรั่งเศสรบกับเยอรมัน เยอรมันล้อมกรุงเซนปีเตอร์สเบริ์ก ประชาชนหิวโหยมาจากก่อการจราจนขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 พวกทหารก็พากันไปเข้ากับประชาชน บรรดาคนงานกรรมกรรวมตัวกันเป็นสภา เรียกว่า "โซเวียต" (Soviet) เพื่ออำนวยการจราจลมีชาวนาและทหารเข้ามาร่วมด้วยมากขึ้น เรียกกมรจราจลนี้ว่า "การปฏิวัติเดือนมีนาคม"
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เห็นว่ากองทัพควบคุมไม่ได้จึงจำต้องสละราชสมบัติ สภาดูมาก็ประกาศให้รัสเซียเป็นสาธารณรัฐจึงจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้นจนกว่าร่างรัสธรรมนูญเสร็จ รัฐบาลชั่วคราวประกาศให้เสรีภาพและความเสมอภาคแก่ราษฎร ล้มเลิกการประหารชีวิต ปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองสัญญาให้ที่ดินแก่ชาวนา ในที่สุดเลนินก็เข้ามาควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้
ในคืนวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 และวันรุ่งขึ้นในตอนเย็น พรรคบอลเชวิกก็ยึกนครเปโตรกราดได้แล้วล้มรัฐบาลเฉพาะกาลเสีย เป็นการยุติและเป็นกาลอวสานของราชวงค์โรมานอฟ ซึ่งมีอำนาจยาวยายมาถึง 304 ปี เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเจ้านิคาอิล โรมานอฟ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์โรมานอฟในปีพ.ศ. 2156 มาสิ้นสุดในปีพ.ศ. 2460 สมัยของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 มีพระเจ้าซาร์ทั้งสิ้น 18 พระองค์โดยรวมพระเจ้าอีวานที่ 5 ที่เป็น พระเจ้าซาร์คู่กับพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราชด้วย |
|