| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : เสด็จเยือนรัสเซีย
ร.5 เสด็จรัสเซียเมื่อวันที่ 1-12 กรกฎาคม 2440 | รัสเซีย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสรัสเซียเมื่อวันที่ 1-12 กรกฎาคม รัสเซียเป็นประเทศที่สำคัญกับไทยในเวลานั้น เพราะจะช่วยถ่วงดุลอำนาจของมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพราะฝรั่งเศสที่กำลังคุกคามไทย
โดยที่ฝั่งเศสกับรัสเซียมีสนธิสัญญาพันธมิตรต่อกัน และสนธิสัญญาฉบับนี้มีความสำคัญต่อฝรั่งเศสมาก หลังจากเยอรมนีปล่อยให้ฝรั่งเศสอยู่โดดเดี่ยวหลายปี ยิ่งไปกว่านั้นรัสเซียก็มีความสนิทสนมกับไทย เพราะมกุฏราชกุมาร
ของรัสเซียที่เคยเสด็จมาเยือนได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
ใน พ.ศ. 2440 รัสเซียยังไม่ได้มีสัญญาทางพระราชไมตรีกับไทย จนเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2442 จึงได้ทำข้อตกลงร่วมกันให้คนรัสเซียได้สิทธิพิเศษต่างๆ เหมือนกับคนต่างชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษนั้น แต่กระนั้นทางฝ่าย
รัสเซียก็ให้ความสำคัญและความสนใจต่อการเสด็จเยือนยุโรปและรัสเซียมาก - อีกทั้งให้ความช่วยเหลอไทยเป็นพิเศษ - มีการรายงานความเคลื่อนไหวของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หัวไปยังรัฐบาลของตนตลอดเวลา
เช่น ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ คณะทูตต่างป ระเทศได้เข้าเฝ้าโดยที่ไม่มีกำหนดการล่วงหน้า " แต่เนื่องจากทรงมีความรู้ภาษาองกฤษที่ดีเยี่ยม จึงมีพระราชดำรัสตอบโดย
ไม่ทรงขัดเขิน... (ทรง) มีพระราชปฎิสันถารกับเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆทรงใช้ภาษาที่ไพเราะและแสดงถึงพระราชปฎิภาณ พระองค์ทรงมีเรื่องสนทนากับพวกเราไม่ซ้ำกัน... พระมหากษัตริย์แห่งสยามทรงยืนอยู่กับข้าพเจ้า
(อุปทูตรัสเซียประจำกรุงเบิร์น) นานเป็นพิเศษ และทรงจับมือข้าพเจ้าตลอดเวลา เพื่อนทรงแสดงให้เห็นว่าทรงมีความยินดีเป็นพิเศษ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า " ข้าพเจ้ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้จับมือกับผู้แทนของรัสเซียขณะนี้
ข้าพเจ้ากำลังเดินทางไปทั่วยุโรปและจะเยือนแทบทุกมหานครแทบทุกแห่ง แต่ข้าพเจ้ามีความสุขเป็นพิเศษที่จะได้มีโอกาสเยือนรัสเซียและเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระจักรพรรดิ "
ต่อมายังมีรายงานสรุปสภาพการณ์สยามของอุปทูตรัสเซีย ประจำสยาม ตอนหนึ่งว่า " สำหรับรัสเซีย ข้าพเจ้าคิดว่าย่อมได้รับผลประโยชน์จากความสัมพันธ์อนแน่นแฟ้นกับสยามโดยปราศจากข้อสงสัย... สยามต้องการ
ความช่วยเหลือเพื่อจะได้รับในเอกราชของตน และหวังพึ่งความเป็นมิตรระหว่างเรากับฝรั่งเศส ก็จะช่วยให้สยามใกล้ชิดกับฝรั่งเศสมากขึ้น "
ขบวนรถไฟพระที่นั่งเดนทางถึงกรุงวอร์ซอเมืองหลวงของโปรแลนด์ในอดีตรวมอยู่ในจักรพรรดิรัสเซีย ( ปัจจุบันโปรแลนด์เป็นประเทศที่มีเอกราช ) ที่สถานีรถไฟ พระเจ้าซาร์ทรงสั่งให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลวอร์ซอ
พร้อมข้าราชการมาถวายการต้อนรับอย่างใหญ่โตเสมือนเป็นการตอบแทนไทยที่ให้การต้อนรับมกุฎราชกุมารรัสเซียมีแถวทหารและพลแตรวงเรียงรายตั้งแต่สถานีรถไฟถึงวังลาเสนกีที่ทางการรัสเซียจัดถวายเป็นที่ประทับ
ถึง 22400 คน อีกทั้งราษฎรคอยเฝ้าชมพระบารมีไม่ขาดระยะ
ที่กรุงวอร์ซอพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรละครโอเปรา , การซ้อมรบของทหาร , สภาพของบ้านเมืองหลังจากประทับอยู่ 1 คืน จึงเสด็จต่อโดยขบวนรถไฟพระที่นั่งถึงเมืองปีเตอร์ฮอฟ
ในตอนค่ำ ที่นั่นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์และเคานต์ มูราเวียฟ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ได้มารับเสด็จและทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรวจแถวทหารแล้วนำเสด็จสู่
พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ โดยสองข้างทางมีการประดับธงช้างและจุดประทีบตลอดสองข้างทาง
พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ เป็นที่แปรพระราชฐานของพระเจ้าซาร์ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ เหมือนพระราชวังบางประอินเห็นได้ว่าพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 มีพระราชประสงค์จะให้ระลึกถึงครั้งที่พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายการต้อนรับพระองค์ที่พระราชวังบางประอิน
อนึ่ง ในวันนั้นเองพระองค์ทรงได้รับข่าวที่ทำให้สบายพระทัยมาก คือมีฝ่ายขุนนางพูดกับพระยาสุริยานุวัตร ( เกิด บุนนาค ) ราชทูตไทยประจำฝรั่งเศสว่า " ความลำบากกับฝรั่งเศสคงจะเบาบาง ฉันจะรับสั่งอะไร
กับเอมเปอเรอ คงจะเป็นราชธุระทั้งนั้น เวลานี้กำลังปลื้ม การที่ตรอมตรมมา... ปลดเปลื้องลงเป็นอันมาก "
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ตลอดพระบรมวงศานุวงศ์ทรงถวายการต้อนรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างดียิ่ง พระราชชนนีของพระเจ้าซาร์ คือ เอมเปรสมารีโฟโดวีนา เสด็จมาที่พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ
ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปเข้าเฝ้า ทรงรักและอาทรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก ทรงเล่าว่าในวันสุดท้านที่ทูลลา " เอมเปรสเกือบจะทรงกรรแสงสั่งแล้วสั่งเล่ารับปวารณา
กันว่าจะคิดว่าฉันเป็นลูก ฉันก็คิดว่าเป็นแม่ตั้งแต่นี้ไป ทุกวันเป็นแต่จูบฉัน วันนี้เป็นแม่ลูกกันแล้ว เอียงพระะราชปรางให้ฉันจูบ บรรดาลูกทั้งผู้หญิงผู้ชายนับว่าเป็นพี่น้องกัน ต่างคนต่างจูบกันกับฉันทุกคน ลูกเราเอมเปรสก็เอาไป
จูบเป็นหลานหมดทั้งนั้น " ในค่ำวันที่ 4 กรกฎาคม พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงจัดงานเลี้ยงต้อนรับอย่างเป็นทางการ และมีพระราชดำรัสว่ามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัสเซีย
ทรงจำได้ดีถึงการที่พระองค์ได้รับ " พระเมตตาอย่างเพื่อนอันสนิทในพระนครของกรุงสยาม " และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า
" ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเฝ้าพระองค์ถึงกรุงรัสเซีย การที่พระองค์ได้เสร็จไปยังกรุงสยามนั้น ข้าพเจ้าและคนทั้งหลายในกรุงสยามยังจำได้โดยความยินดี
ข้าพเจ้าถือว่าพระองค์เป็นมิตร ผู้ทรงพระเดชานุภาพ ข้าพเจ้ามีความพอใจในการที่ได้ทรงจัดต้อนรับข้าพเจ้าเป็นอันมาก ข้าพเจ้าขอบพระทัยจากดวงจิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอดื่มถวายไชยมงคลสมเด็จพระเจ้าเอมเปรอกรุงรัสเซีย "
ที่พระราชวังปีเตอร์ฮอฟจึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่มีผลต่อชะตากรรมของเมืองไทย ทรงมีการปรึกษาข้อราชการ ทรงให้ช่างฉายพระบรมรูปร่วมกัน ซึ่งได้ส่งไปลงหนังสือพิมพ์ในยุโรป เป็นการยืนยันพันธไมตรี
ระหว่างกรุงสยามกับรัสเซีย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดให้ เคานต์ มูราเวียฟ เสนาบของจักรพรรดดีกระทรวงการต่างประเทศเข้าเฝ้าปรึกษาข้อราชการ
ในเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จโดยเรือพระที่นั่งที่พระเจ้าวาร์นิโคลัสที่ 2 จัดถวายไปยังกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่นั่นได้เสด็จไปวัดเซนต์ปีเตอร์และเซนต์ปอล เพื่อวางพวง
มาลาที่สุสานของราชวงศ์โรมานอฟ แล้วเสด็จไปพระราชวังฤดูหนาว ซึ่งมีของมีค่ามากมายรวมทั้งเครื่องราชูปโภคของพระเจ้าปีเตอร์มหาราชพอถึงบ่ายถึงเสด็จกลับพรระราชวังปีเตอร์ฮอฟโดยเรือพระที่นั่ง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปกรุงมอสโกในค่ำวันที่ 6 กรกฎาคม โดยรถไฟพระที่นั่งและถึงในบ่ายวันรุ่งขึ้นโดยมีพระเจ้าอาของพระเจ้าซาร์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่มารับเสด็จและนำเสด็จไปประทับ
ที่พระราชวังเครมลิน
ที่กรุงมอสโก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปทอดพระเนตรวัดเซเวียร์ซึ่งเป็นวัดใหญ่สร้างเพื่อการระลึกที่กรุงมอสโกพ้นจากการโจมตีของจักรพรรดินโปเรียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2355 โดยโบถส์ใหญ่
สามารถบรรจุคนได้ถึง 7000 คนและเสด็จไปหอสมุดกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเก็บพระราชสานส์ พระราชไว้มากมาย ทั้งยังมีคำภีร์ใบลานซึ่งเก็บไว้นานกว่า 100 กว่าปีแล้วโดยไม่ทราบว่าเรื่องเป็นอย่างไร มาถวายทอดพระเนตร
ทรงมีพระราชดำรัสว่า " เป็นภิกขูปาฎิโมกข์ " หรือคัมภีร์ว่าด้วยวินัยของพระสงฆ์ที่มี 227 ข้อ เขียนด้วยตัวอักษารขอม
ขอกล่าวถึงการเจรจาระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เกี่ยวหับความมั่นคงและเอกราชของไทย ซึ่งเป็นพระราชประสงค์ในการเสด็จเยือนรัสเซีย การเจรจามีหลายครั้ง บางครั้ง
เคานต์มูราเวียน เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียก็เข้าร่วมด้วย แต่ละครั้งของการเจรจา ทางรัสเซียก็ได้แสดงความจริงใจในการสนับสนุนไทยทำให้
" ฉัน( พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพิ่งจะเห็นเป็นแน่แก่ใจว่าการที่ฉันมาครั้งนี้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองแท้แล้ว ประโยชน์รวบยอดนั้นคืออันนี้เอง
ฉันทูลขอบพระทัยเอมเปรอ ทั้งในส่วนตัวและเมืองสยามซึ่งเอมเปรอได้ยืดดินแดนไว้ในครั้งนี้ ท่านรับมั่นคงนักในข้อนั้นอีก "
ข้อความข้อว่าางต้นเป็นพระราชโทรเลขของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ที่กล่าวถึงว่า ทรงได้ประโยชน์สูงสุดตามพระราชประสงค์ในการเสด็จ
ประสงค์แล้ว คือการที่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงถือว่าอินดิเปนเดนหรือเอกราชของสยามเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชโทรเลขถึงกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดี
กระทรวงการต่างประเทศด้วยดังนี้
" ฉันได้พูดกับเอมเปรอ แลภายหลังกับเคาน์มูราวิฟ ในเรื่องที่เรามีความลำบากกับฝรั่งเศสไม่เฉพราะแต่เรื่องคนโทษทั้ง 2 ได้พูดตลอดถึงเรื่องริยิศเตรชั่น ท่านทั้ง 2
เห็นความลำบากของเราเหมือนกับที่เราเห็นทุกประการ รับจะช่วยโดยทางไมตรีเพื่อจะชี้แจงให้ฝรั่งเศสเห็นทางประโยชน์แลใช้ประโยชน์โดยกว้าง คือการที่ฝรั่งเศสทำ
กับเราเดี๋ยวนี้ใช่ว่าเป็นประดยชน์ต่อฝรั่งเศสเลยเป็นแต่ทำให้กับอังกฤษทั้งสิ้น แต่จะรับเป็นแน่ว่าฝรั่งเสสจะทำตามฤายังไม่ได้จะเรียกทูตฝรั่งเศสมาพูด แลให้ร่างหนังสือ
ถึงมองชิเออ ฮาโนโตมาให้ดูจะให้เราทราบเมื่อกลับจากมอสโก การที่รัสเซียรีบแข็งแรงนี้ เพราะฮาโนโตให้ทูตมาพูดกับเสนาบดีการต่างประเทศ เพื่อจะช่วยจัดการให้เรา
ดีกับฝรั่งเศส ก่อนเวลาที่เรามาถึงเข้าใจว่าคงจะเป็นผลดีมาก แต่เราไม่ได้ขอให้รัสเซียช่วยตัดสินเลยเราไว้ท่า เป็นแต่เพื่อนคนหนึ่ง จะช่วยชี้แจงให้เพื่อน 2 คนดีกันเท่านนั้น "
พระเจ้าซาร์นิโคลัสดูจะมีความจริงใจในการช่วยเหลือต่อคนไทยมากทีเดียว เพราะในเวลาต่อมาหลังจากเสด็จประพาสฝรั่งเศสครั้งแรกแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้เข้าเฝ้าพระเจ้าซาร์นิโคลัส
ที่เสด็จมาเมืองดามสตัด ในประเทศเยอรมนี ในวันที่ 7 ตุลาคม และทรงเล่าเรื่องที่เจราจากับฝรั่งเศสให้ฟังทั้งหมด พะเจ้าซาร์นิโคลัส ทรงทูลย้ำพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ความเป็นเอกราชของไทยเป็นเรื่อง
สำคัญ ที่รัสเซียจะต้องช่วยรักษา แม้ว่าการช่วยไทยจะทำให้สูญเสียการเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสก็ต้องยอม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากกรุงมอสโก ถึงพระราชวังปัเตอร์ฮอฟในวันที่ 10 กรกฎาคมและเสด็จออกจากรัสเซียในวันรุ่งขึ้นโดยทางเรือ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ส่งเสด็จถึงฐานทัพเรือ
คอนสตัด ทางด้านทะเลบอลติก เรือพระที่นั่งฯเดินทางต่อถึงกรุงสตอกโฮล์ม เมืองหลวงของสวีเดน ในวันที่ 13 กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมรับว่ามีความคิดถึงรัสเซียมาก " ไม่รู้ว่าเขาผูกจิต
ผูกใจฉันอย่างไร เรียกได้ว่าหลง "
จากหนังสือ : ร. 5 เสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. 116 |
|