ฟาแบร์เช่ (Faberge, Easter Faberge eggs )
แรกเริ่มนั้น มีผู้ทำไข่อีสเตอร์ถวายแด่พระเจ้าซาร์ เป็นที่โปรดปราณของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 จนมาถึงพระโอรส พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 พระองค์ทรงโปรดปราณมากและมอบให้กับคนที่รัก เป็นฝีมือช่างทองประจำพระราชสำนัก ผลิตผลงานในวันอีสเตอร์ (ดูชมได้ที่พิพิธภัณฑ์อาร์เมอรรี่ ภายในพระราชวังเครมลิน)
ฟาแบร์เช่ ที่สำคัญๆ มีดังนี้
รูปที่ 1 THE FIFTEENTH ANNIVERSARY EGG พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงรับสั่งให้ทำขึ้นเพื่อมอบให้แก่ราชินีอเล็กซานดรา ครบรอบ 50 พระชันษา ในวันอีสเตอร์ ปี ค.ศ. 1911 ออกแบบและจัดทำโดย ENRIK WIGSTROM ผลิตที่เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบริ์ก
รูปที่ 2 THE CORONATION EGG พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงรับสั่งให้ทำขึ้นเพื่อมอบให้แก่ราชินีอเล็กซานดรา ในวันอีสเตอร์ ปี ค.ศ. 1897 ออกแบบและจัดทำโดย MICHAEL PERCHIN ผลิตที่เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบริ์ก
รูปที่ 3 THE LILIES OF THE VALLEY EGG พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงรับสั่งให้ทำขึ้นเพื่อมอบให้แก่ราชินีอเล็กซานดรา ในวันอีสเตอร์ ปี ค.ศ. 1898 ออกแบบและจัดทำโดย MICHAEL PERCHIN ผลิตที่เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบริ์ก
---------------------------------------------------
วันอีสเตอร์ (บทความที่เกี่ยวข้องเพื่อความรู้เกี่ยวกับวันอีสเตอร์)
วันอีสเตอร์ได้เวียนกลับมาอีกวาระหนึ่งย่อมเป็นเครื่องเตือนใจเราให้มีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นในพระเยซูคริสต์ เป็นความเชื่อมั่นที่แสดงออกโดยการประพฤติและปฏิบัติตามสิ่งที่ได้เรียนรู้จากพระวจนะของพระเจ้า คนที่มีความเชื่อมากคือคนที่ยอมให้พระเจ้าทรงใช้ได้มากและเชื่อฟังพระองค์มาก เป็นผู้ที่ยอมจำนนต่อกติกาของพระเจ้าตามพระคัมภีร์ เช่นเดียวกับที่พระเยซูคริสต์ทรงเชื่อฟังพระบิดาจนถึงความมรณาบนไม้กางเขน อันนี้แหละเป็นหลักการสำคัญของการดำเนินชีวิตคริสเตียน (ฟป. 2:8) พระเยซูคริสต์ไม่ได้ตายเปล่า อำนาจของความตายเหนี่ยวรั้งพระองค์ไว้ไม่ได้ และพระองค์ได้เป็นขึ้นจากความตายในวันที่ 3 ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งในความเชื่อของคริสเตียน วันที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายนั้นเป็นวันอาทิตย์
ต่อมาเราเรียกวันนั้นว่า วันอีสเตอร์ (Easter หรือ Easter Sunday) คริสจักรได้ฉลองวันอีสเตอร์อย่างเป็นทางการในราวคศ. 325 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ใกล้วันที่ 14 เดือนนิสาน (Nissan) ของชาวยิว คืออยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 21 มีนาคม 25 เมษายน
สัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์คือ ไข่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการบังเกิดใหม่หรือมีชีวิตใหม่ กางเขนและอุโมงค์ที่ว่างเปล่า เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์ มีคนกล่าวว่าคริสเตียนแท้มักจะดำเนินชีวิตโดยยึดหลักการที่ว่า พระเยซูคริสต์ได้สิ้นพระชนม์ในวันศุกร์ประเสริฐเพื่อเราเมื่อวานนี้ และทรงเป็นขึ้นมาจากความตายในวันอาทิตย์อีสเตอร์ และทรงสถิตอยู่กับเราในวันนี้ และพระองค์จะทรงเสด็จกลับมารับเรา (ผู้เชื่อ) ในวันพรุ่งนี้
ชีวิตอย่างนี้จึงเป็นชีวิตที่มีความปิติยินดีอยู่เสมอ และตื่นเต้นด้วยความหวังใจในชีวิต จะไม่ยอมแพ้หรือท้อถอยง่ายๆ วันนี้ท่านพร้อมจะดำเนินชีวิตโดยยึดหลักการแบบนี้หรือไม่
โดย ศจ.จักรพันธ์ ชูเกียรติวงศ์กุล
---------------------------------------------------
ที่มาของพระแก้วมรกตน้อยนั้น สืบเนื่องจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริว่า พระราชวังดุสิตเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์อีกแห่งหนึ่ง สมควรจะมีพระพุทธรูปเพื่อทรงสักการบูชา เป็นเครื่องเชิดชูพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ดังเช่น พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่ประดิษฐานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสด็จทวีปยุโรปในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ จึงมีดำรัสสั่งให้หาแก้วมรกตขนาดใหญ่พร้อมช่างฝีมือดีเพื่อสร้างพระพุทธรูปด้วย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ทรงเสาะหาหินหยกสีเขียวได้ในรัสเซีย และโปรดให้ ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช่ (Peter Carl Faberge)เจ้าของร้านเครื่องทองประจำราชสำนักรัสเซียเป็นผู้สร้าง แล้วเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๕๗ ดังปรากฏเครื่องหมาย FABERGE1914สลักอยู่ใต้ฐานพระพุทธรูป
ภาพล่างสุด คือ Peter Carl Faberge : ช่างทองประจำราชสำนักซาร์ ผู้ผลิตผลงานอันเลื่องชื่อ |