ค.ศ.2003 นี้ จัดเป็นปีสำคัญ ของชนชาติรัสเซีย และผู้ที่สนใจใน ศิลปวัฒนธรรม เพราะเป็นวาระครบรอบ 300 ปี ของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (ST.PETERSBURG) อดีตนครหลวง อันงดงามของประเทศรัสเซีย ที่มีเหตุการณ์ จารึกไว้ในประวัติศาสตร ์มากมาย ดังนั้น ไทยรัฐ ซันเดย์ สเปเชียล โดยทีมงาน ต่วย'ตูน จึงขอนำเรื่องราวของนครนี้ โดยเฉพาะภาพ อาคารสถานอันวิจิตร มาให้แฟนานุแฟน ได้ทัศนาครับผม
ย้อนกลับไปในวันหนึ่งแห่งอดีตกาล พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (PETER THE GREAT) แห่งรัสเซีย ได้ทรงมาเยือน ริมฝั่งทะเลบอลติก ใกล้ประเทศฟินแลนด์ และทรงมีพระราชโองการว่า "ดินแดนแห่งนี้จักต้องมีเมืองบังเกิดขึ้น"
ด้วยเหตุฉะนี้ ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2246 (ค.ศ. 1703) ศิลาก้อนแรก จึงวางลงเป็นฐาน สำหรับป้อมปราการ ปีเตอร์ แอนด์พอล บนเกาะแฮร์ เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกสวีดิช จากนั้นก็มีการสร้างอาคารต่างๆขยายตัวบนแผ่นดินใหญ่ จน แปรสภาพเป็นเมืองอันโอฬาร และอีกเพียง 9 ปีต่อมา หรือใน พ.ศ. 2255 เมืองนี้ก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นนครหลวง ในนามเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กแทนกรุงมอสโกเมือง หลวงเดิม
พระประสงค์แรกขององค์จักรพรรดิ คือ ต้องการให้นครหลวงใหม่นี้มีความสำคัญ ในฐานะเมืองท่าพาณิชย์ เทียบเท่ากรุงลอนดอนและอัมสเตอร์ดัม ทั้งยังทรงปรารถนาจะให้เป็นเมืองหลวงที่ทันสมัยสไตล์ยุโรเปียน ไม่ล้าหลังชาวบ้าน จึงทรงทุ่มเททรัพย์สินจากท้อง พระคลังมาสร้างอย่างเต็มที่
อีกพระองค์หนึ่งถัดมาที่ส่งเสริม ความรุ่งเรืองให้เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กก็คือ พระราชินีแคเธอรีนมหาราชินี (Catherine the Great) โดยได้ทรงชักนำนักปราชญ์ราชบัณฑิต ตลอดจนศิลปินแขนงต่างๆจากยุโรป เข้ามาพำนักอาศัยในนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อให้เขาเหล่านี้สร้างความเจริญให้รัสเซีย ทำให้นครหลวงแห่งนี้มีกลิ่นอายยุโรป ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม แม้กระทั่งวัฒนธรรมความเป็นอยู่
ล่วงมาจนถึงปี ค.ศ. 1917 เกิดการปฏิวัติขึ้นในโซเวียตรัสเซีย เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบคอมมิวนิสต์ สมาชิกพระราชวงศ์โรมานอฟ ถูกปลงพระชนม์ ไปหมดสิ้น ผู้ที่ก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่ได้แก่ เลนิน (Lenin) หลังเลนินถึงแก่มรณกรรม เพื่อนพ้องร่วมคณะปฏิวัติก็ได้เทิดเกียรติใ ห้นำชื่อของเขามาตั้งแทนชื่อเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ดังนั้น นครนี้จึงมีนามใหม่ในปี ค.ศ. 1924 ว่า เลนินกราด (Leningrad) และยังได้ย้ายที่ทำการรัฐไปอยู่ กรุงมอสโก ที่กลายเป็นนครหลวงอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1991 สภารัสเซียชุดใหม่ ก็ได้มีมติเงียบๆ ให้กลับไป ใช้ชื่อเดิมตามแรกตั้งนครอีกครั้ง คือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งทุกวันนี้ ก็ยังบรรยากาศ ของยุคพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ ไว้อย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรมบาโรก และนีโอคลาสสิก นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ สถาบันวิชาการก้าวหน้า หลายแขนง เคยเป็นฐานทัพเรือนิวเคลียร์ของโซเวียต เป็นเมืองท่า สำคัญที่ปัจจุบันมีประชากรราว 5 ล้านคน
จากประวัติความเป็นมาดังกล่าวนี้ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ผ่านพบเหตุการณ์ และความวิบัติรุนแรงมาหลายคราดังเช่นนครใหญ่ทั่วไป
ความวิบัติครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1941 เมื่อกองทัพนาซีเยอรมัน ปิดล้อมนครแห่งนี้ (ช่วงนั้นในนามเลนินกราด) ไว้นานถึง 900 วัน โดยที่ในเมืองมีอาหารตุนไว้ เพียงแค่เดือนเดียว ชาวนครต้องเสียชีวิตจากความหิวโหยเกือบล้านคน ดีที่มีเส้นส่งเสบียงลับๆ ผ่านทางทะเลสาบลาโดกา ที่เป็นนํ้าแข็ง ทำให้ประชากรอีกราว 1.5 ล้านคน รอดชีวิตมาได้ อย่างอัศจรรย์
อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1916 สมัยกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โรมานอฟคือ ซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักบวชอุบาทว์ นาม รัสปูติน ซึ่งแฟนานุแฟนคงรู้จักกันดีว่า เป็นผู้ที่มีอิทธิพลครอบคลุมพระเจ้าซาร์และราชวงศ์ ทำให้ เจ้าชายเฟลิกซ์ ยูซูปอฟ ทรงไม่อาจทนได้ จึงวางแผนสังหาร โดยเชื้อเชิญรัสปูตินมา ร่วมเลี้ยงฉลอง ที่วังของพระองค์ แต่แม้จะโดนทั้งวางยาพิษและกระสุนปืน รัสปูตินก็ยังมีพลังวิ่งไล่ต่อสู้จนสุดท้าย ร่วงหล่นไปตายในคลองมอยกาอันเยือกแข็ง เดี๋ยวนี้ท้องพระโรงที่จัดเลี้ยงและเต้นรำอันหรูหรานี้ ก็ยังคงอยู่ในวังยูซูปอฟแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กครับ
นอกเหนือจากพระราชวังและศิลปวัตถุ อันงดงามมากมายแล้ว อดีตนครหลวง แห่งนี้ยังได้เคยเป็น ที่ชุมนุมของ อภิมหาศิลป"นรัสเซีย อาทิ
แขนงวรรณกรรมก็มี ปุชกิน, โกกอล, ดอสโตเยฟสกี้
แขนงดนตรีก็ได้แก่ ไชคอฟสกี้, ริมสกี้ คอร์ซาคอฟ, มุสซอร์สกี้
และในยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองนี้จึง ได้มีโรงมหรสพที่ตกแต่งอย่างวิจิตรเป็นจำนวนถึงกว่า 30 โรง มีอุปรากรแสดงให้ดูทุกวัน ซึ่งก็ยังคงบรรยากาศที่ว่าจนถึงทุกวันนี้
ฉะนั้น แม้ว่ากรุงมอสโกจะเป็นนครหลวงในป'จจุบันของรัสเซีย
แต่ถ้าหากจะสัมผัสศิลปวัฒนธรรมตลอดจนกลิ่นอายของประวัติศาสตร์อันยาวนานละก้อ
ต้องไปเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กครับ |