เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กให้ฟังเพลินๆว่าชื่อนครได้มาจากพระนามของพระเจ้าปีเตอร์มหาราชผู้ก่อสร้างเมืองในปี 1703 ด้วยเหตุที่ต้องการให้รัสเซียมีทางออกสู่ทะเลบอลติก พระองค์จึงเข้ายึดพื้นที่ปากแม่น้ำเนวา ทำสงครามกับสวีเดนอยู่ถึง 21 ปี และโปรดให้ตั้งชื่อเมืองตามชื่อของนักบุญปีเตอร์ เมืองนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อเปลี่ยนไปตามยุคสมัย อาทิ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เปโตรกราด และ เลนินกราด นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรม และวิทยาการแขนงต่างๆ มีมหาวิทยาลัย 42 แห่ง พิพิธภัณฑ์ 68 แห่ง เหตุที่มีพิพิธภัณฑ์มากมายเพราะคนรัสเซียชอบเข้าพิพิธภัณฑ์ และ เหตุที่ชอบเข้าพิพิธภัณฑ์ก็มาจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราชทรงคิดหาวิธีที่จะดึงดูดใจคนรัสเซียให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยการประกาศแจกเหล้าว๊อดก้าให้กับคนที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่นั้นมาคนรัสเซียก็เลยรักการเข้าพิพิธภัณฑ์เป็นชีวิตจิตใจ
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าปีเตอร์ที่1 ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนวา เคยเป็นเมืองหลวงในยุคสมัยของพระเจ้าปีเตอร์ (พ.ศ. 2255- พ.ศ. 2461 )เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยคูคลองมากมายดังนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็นเวนิสเหนือ เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานาครที่ในอดีตมีคลองมากมายจนได้ชื่อว่าเป็นเวนิสแห่งตะวันออก
เมืองนี้มีชื่อเรียกถึง 3 ชื่อด้วยกันคือ 1.เซนต์สปีเตอร์เบิร์ก : เริ่มเรียกในปีพ.ศ. 2246 มีการเปลี่ยนชื่อถึง2ครั้ง จนประชาชนเรียกร้องให้กลับมาใช้ชื่อเดิม จะเรียกกันสั้นๆว่า "ปีเตอร์" เวลาเรียกว่า เซนต์สปีเตอร์เบิร์ก มันก็เหมือนกันกับการที่เรียกชื่อเต็มของกรุงเทพนั่นเอง
2.เปโตรกราด : เริ่มเรียกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นภาษารัสเซีย แปลว่า เมืองของพระเจ้าปีเตอร์แทนเซนต์สปีเตอร์เบิร์กซึ่งเป็นชื่อภาษาเยอรมัน เปลี่ยนเพื่อให้ประชาชนมีความรักชาติและต่อต้านเยอรมนี
3.เลนินกราด : เรียกในปีพ.ศ.2467-2534 แปลว่าเมืองของเลนิน เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเลนินในปีที่เขาเสียชีวิต
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็น1ในเมืองที่สวยงามที่สุดของยุโรป อาคารต่างๆถูกสร้างด้วยศิลปะของช่างฝีมือชาวยุโรปชาติต่างๆ มีการวางผังเมืองอย่างดี เมืองนี้สถานที่ท่องเที่ยว เช่น Tsarskoye Selo, พระราชวังฤดูร้อนPeterhof, พิพิธภัณฑ์รัสเซีย และ พระราชวังHermitage ป้อมPeter & Paul เป็นต้น
ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งที่พระเจ้าปีเตอร์มหาราชทรงวางพระบาทลงบนแผ่นดินริมฝั่งทะเลบอลติกแห่งนี้เป็นครั้งแรก และพระองค์ตรัสว่า "เราจะตั้งเมืองขึ้นที่นี่" และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ปี 1703 คนงานได้วางฐานรากปราการปีเตอร์และปอลบนเกาะแฮร์ (ขวา) ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของรัสเซียในการเปิดศึกกับสวีเดน ไม่ช้า เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กก็ขยายอาณาเขตครอบคลุมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเนวา และกลายเป็นเมืองหลวงของรัสเซียแทนมอสโกเมื่อปี 1712
การเดินทางตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทำให้พระเจ้าปีเตอร์มหาราช กษัตริย์ผู้นิยมตะวันตก ทรงมุ่งสร้างเมืองหลวงใหม่ให้เป็นเมืองท่าชายทะเลเช่นลอนดอนและอัมสเตอร์ดัม ซึ่งทรงคุ้นเคยเมื่อครั้งที่ทรงเป็นช่างต่อเรือในช่วงสั้นๆ มีเพียงนักปกครองอัตตาธิปัตย์ผู้มีวิสัยทัศน์เท่านั้นที่วางแผนการเช่นนี้ และไม่ว่ากองทัพสวีเดนหรือราชสำนักอันอ่อนแอที่มอสโกก็ไม่อาจขัดขวางพระเจ้าปีเตอร์มหาราชจากการชักพายักษ์ล้าหลังอย่างรัสเซียเข้าสู่โลกสมัยใหม่ได้ นครที่ดูเป็นยุโรปมากกว่ารัสเซียจึงค่อยๆเติบโตขึ้นริมทะเลบอลติกด้วยงบประมาณมหาศาลจากท้องพระคลัง
ทุกวันนี้ มรดกตกทอดที่พระมหากษัตริย์พระองค์นี้มอบไว้ให้แผ่นดินรัสเซียปรากฏให้เห็นทั่วไป ทั้งผลงานสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่และบาโรกอันรุ่มรวย ศูนย์วิจัยร่วมสิบแห่งที่มีชื่อเสียงในการค้นพบทางเคมี พันธุกรรม จิตวิทยา และศาสตร์ด้านอวกาศ ตลอดจนอู่ต่อเรือที่ช่วยติดอาวุธนิวเคลียร์ให้กองทัพเรือโซเวียตฟาดฟันกับเหล่าอริราชศัตรูจากตะวันตก รวมไปถึงท่าเรือที่ใช้งานได้ตลอดปีเชื่อมเมือง "ปีเตอร์" ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวเมืองเรียกเมืองของตัวเอง กับท้องทะเลเปิด
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระเจ้านิโคลัสที่สองทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเปโตรกราด ซึ่งเป็นภาษารัสเซียแปลว่านครแห่งปีเตอร์ เพื่อสร้างความเป็นชาตินิยม แต่การเปลี่ยนชื่อมิอาจปกปิดการล้มละลายของราชวงศ์โรมานอฟ อันเป็นสาเหตุให้เกิดการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์เมื่อปี 1917 และเมื่อเลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี 1924 ชาวโซเวียตซึ่งย้ายที่ทำการรัฐบาลกลับมอสโกจึงเปลี่ยนชื่อเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นเลนินกราดเพื่อเป็นเกียรติแด่ผู้นำพรรคบอลเชวิค จนกระทั่งปี 1991 รัฐสภารัสเซียชุดใหม่จึงมีมติอนุมัติคำร้องของเมืองให้เปลี่ยนกลับไปใช้ชื่อเดิม
|