ยุคแห่งการตั้งอาณาจักร ชาวสลาฟตะวันออกเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถื่นฐานในรัสเซีย บริเวณแม่น้ำดนีเปอร์ และแม่น้ำโวลก้าทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนทางตอนเหนือชนชาติแสกนดเนเวีย และไวกิ้งที่รู้จักในนามวาแรนเจียน ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณลำน้ำเนวา และทะเลสาบลาโดกา ทำการติดต่อค้าขายกับชาวสลาฟ แต่แล้วในปีค.ศ.880 กษัตริย์แห่งวาแรนเจียน ก็เข้ามายึดเมืองเคียฟของชาวสลาฟ และได้ตั้งเคียฟเป็นเมืองหลวงโดยผนวกดินแดนเหนือและใต้เข้าด้วยกัน แล้วขนานนามว่า The Stage of Rus ในปี ค.ศ. 978 เจ้าชายวลาดิมีร์ โมโนแมกค์ ขึ้นครองราชย์และทรงนำศาสนาคริสต์นิกายออร์โณดอกซ์แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์เข้าสู่รัสเซีย ซึ่งต่อมามีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงต่อศิลปะสถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมของประเทศ ในช่วงศตวรรษที่ 11 เคียฟเป็นนครหลวง ศูนย์รวมของอำนาจกษัตริย์และเป็นศูนย์กลางของคริสต์ฃจักรออร์โธดอกซ์ในขณะที่เมืองอื่นๆ ก็มีประชากรก่อตั้งขึ้นมาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวอ้างถึงมอสโคว์ครั้งแรกในปีค.ศ.1147 ว่ามกุฎราชกุมารแห่งนครเคียฟ เจ้าชายยูริ โดลโกรูกี มีรับสั่งให้สร้างป้อมปราการไม้ หรือเครมลินขึ้นที่เนินเขา โบโรวิตสกายา ริมน้ำมอสควา และตั้งชื่อมืองว่า มอสโคว์
ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกล นำโดยบาตูข่าน เข้ารุกรานรัสเซีย และยึดเมืองเคียฟได้สำเร็จ หลังจากนั้นรัสเซียก็ถูกตัดจากโลกภายนอก ถูกควบคุมทางการเมือง การปกครอง และต้องจ่ายภาษีให้กับมองโกล กษัตริย์และพระราชาคณะจึงย้ายศูนย์กลางอำนาจมาทางตอนเหนือ ในปี 1328 พระเจ้าอิวานที่ 1ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีฉายาว่า lvan kalita หรืออิวานถุงเงิน เนื่องจากทรงเก็บส่วยและเครื่องบรรณาการให้มองโกล และในยุคนี้เองที่กษัตริย์ได้ย้ายที่ประทับมาที่มอสโคว์ ต่อมาในยุคของพระเจ้าอิวานที่ 2 (ค .ศ 1353-59) มองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจเจ้าชาย ดมิทริ โอรสแห่งพระเจ้าอิวานที่ 2ทรงขับไล่มองโกลได้สำเร็จในสงครามกูลิโกโว บนฝั่งแม่น้าดอนในปี 1380 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น ดมิทริ ดอนสกอย (ดมิทริแห่งแม่น้ำดอน) และได้รวมเมืองวลาดิมีร์ และซุลดัช เป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรมัสโควีและยังได้บูรณะเครมลินเป็นกำแพงหินขาวแทนไม้โอ๊ก มอสโคว์จึงมีอีกชื่อเรียกว่า เมืองกำแพงหินขาว ในยุคนั้นแตเพียงไม่นานพวกตาร์ตาร์ก็กลับมาทำงายเครมลินจนพินาศ รัสเซียต้องเป็นเมืองขึ้นของตาร์ตาร์อีกครั้งหนึ่งในปี 1382 จนเข้าสู่สมัยของพระเจ้าอิวานที่ 3 หรืออิวานมหาราช(ค.ศ. 1462-1505) พระองค์ทรงอภิเษกกับหลานสาวของจักรพรรดิองค์ก่อนแห่งไบแซนไทน์ในปี 1472 และรับอินทรีสองเศียรเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซีย ในยุคของพระองค์ได้รงบรวมดินแดนให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ในปีค.ศ. 1480 ทรงขับไล่กองำกพลังตาร์ตาร์ออกจากรัสเซ๊ยจนหมดสิ้น ปิดฉากสองศตวรรษภายใต้การปกครองของมองโกล ทรงบูรณะเคนมลินให้เป็นอิฐก่อ หอคอยสูง และโบสถ์งดงามไว้ภายในเครมลิน นับเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของรัสเซีย
ยุคแห่งซาร์ พระเจ้าอิวานจอมโหด (Ivan the Terrible ) ปี 1574 พระเจ้าอิวานที่ 4 (1533-1584) หลานของพระเจ้าอิวานมหรราช ได้รับสถาปนาเป็นซาร์พระองค์แรก (ซาร์มาจากคำว่า ซีซาร์ ผ็ครองอำนาจแห่งจักรวรรดิโรมันและไบแซนไทน์) พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่าทรงรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างทีงดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก เมื่อหมดยุคของพระเจ้าอิวานที่ 4 ในปีค.ศ. 1584 มอสโคว์ก็ประสบปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงราชบัลลังกฺระหว่างราชวงศ์รูริก และโรมานอฟ ในที่สุดสมัชชาแห่งชาติและพระราชาคณะแห่งคริสต์จักร ออร์โธดอกซ์ ก็มีมติเลือกมิคาอิล โรมานอฟ ขึ้นเป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟ ราชวงศ์โรมานอฟ ค.ศ. 1613-1917 พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช(ค.ศ. 1682-1725) ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์รัสเซีย พระองค์ขึ้นครองราชย์แต่งแต่พระชนมายุ 10 ชันษาพร้อมกับพระเจ้าอิวานที่ 5 (เป็นกษัตริย์บัลลังก์คู่) จนในปี 1696 เมื่อพระเจิ้วานที่ 5 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช จึงมีพระราชอำนาจโดยแท้จริง ในยุคของพระองค์มรางขยายอาณาเขตรัสเซียออกไปทางตะวันออกถึงวลาดิวอสด็อก และทรงใช้นโยบายสู้ตะวันตก ทรงนำรัสเซียเข้าสู่ยุคใหม่ โดยในปีค.ศ. 1712 ทรงย้ายเมืองหลวงจากมอสโคว์มาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดตั้งกองทหารราชนาวีขึ้นในรัสเซีย ทั้งยังทรงนำช่างฝีมอืจากฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มาสร้างวิหารและพระราชวังที่งดงามอีกมากมาย และทรงนำพาจักรวรรดิรัสเซียให้เป็นที่รู้จักเกรียงไกรในสังคมโลก ถัดจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราชยังมีซาร์และซารีนาอีกหลายพระองค์ที่สืบราชบัลลังก์ ทว่าผู้ที่สร้างความเจริญเฟื่องฟูให้กับรัสเซียสูงสุด ได้แก่ พระนางเจ้าแคทเทอรีนที่ 2 (ค.ศ.1762-1796) พระนางได้รับการยกย่องให้เป็นราชินี ด้วยทรงเชี่ยวชาญด้สนการปกครองอย่างมาก กระนั้นพระนางก็มีชื่อเสียงด้านลบด้วยพระนางมีคู่สเน่หามากมาย ผู้สืบราชวงศ์องค์ต่อมาคือพระราชโอรสของพระนางเจ้าแคทเทอรีน พระเจ้าซาร์ปอลที่ 1 (ค.ศ.1796-1801)ทรงครองราชย์อยู่เพียงระยะสั้น จากนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 (1801- 1825) พระราชโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อ ในปี 1812 ทรงทำศึกชนะจักรพรรดินะโปเลียนแห่งฝรั่งเศส แต่แล้วในช่วงปลายรัชกาล เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงการปดครองสู้ระบบรัฐสภา ปี 1825 เกิดกบฏ ต่อต้านราชวงศ์ขึ้น ในเดือนธันวาคม เรียกกบฏธันวาคม(Decembrist Movement) แต่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 (ค.ศ.1825-1855) ก็ทรงปราบกลุ่มผู้ต่อต้านไว้ได้ พอมาในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855-1881) พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่นครเซนปีเตอร์สเบิร์กในปี 1881 ทิ้งไว้เพียงอนุสรณ์สถานที่สร้างอุทิศแด่พระองค์ ณ จุดที่ถูกลอบปลงพระชนม์ ซาร์องค์ต่อมาคือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (ค.ศ. 1881-1894) จนถึงซาร์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟ ซาร์นิโคลัสที่ 2 (1894-1917) ความเหลื่อมล้ำกันทางชนชั้น และความยากจน ก่อให้เกิดการปฏิวัติเป็นครั้งแรกโดนกรรมการชาวนาในปี 1905 ซึ่งมีผู้ถูกยิงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า วันอาทิตย์เลือด Bloody Sunday กระนั้นชนวนที่ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟและระบอบซาร์ถึงกาลอวสานก็มีปัจจัยอื่นเช่นกัน
ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ ราชวงศ์โรมานอฟ (Romanov dynasty) ได้ปกครองรัสเซียเป็นเวลานานถึง 300 ปี มีจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรหลายองค์ เช่น ปีเตอร์มหาราช คันทรีมหาราชินี แต่แล้วพอถึง ค.ศ. 1918 ราชวงศ์โรมานอฟ ก็ต้องประสบกับโศกนาฏกรรมร้ายแรง ปิดฉากราชวงศ์ที่เคยยิ่งใหญ่ลงความหายนะที่เกิดขึ้นนี้ ว่ากันว่า ส่วนหนึ่งมาจากคำสาปแช่งของ บุรุษที่มีพลังอำนาจจิตสูงส่ง นาม รัสปูติน (Rasputin) ปี ค.ศ. 1896 นิโคลาส และอเล็กซานดรา ทรงราชาภิเษกขึ้นเป็นซาร์และซาริน่าปกครองอาณาจักร อันไพศาลของรัสเซีย พิธีราชาภิเษกนั้นยิ่งใหญ่ กึกก้องกัมปนาทด้วยเสียงปืนใหญ่ ขบวนแห่สู่ พระราชวังเครมลิน ประกอบด้วยเหล่าทหารองครักษ์ นับพัน มีการดื่มเฉลิมฉลองกันทั่วทั้งเมือง ผู้คนแก่งแย่งเบียร์และขนมปังที่นำมาแจกกันอย่างชุลมุน กลายเป็นจลาจล ราษฎรทั้งชายหญิงและเด็กโดนเหยียบตายไปกว่าพันคน! นับเป็นการเริ่มต้นรัชกาลใหม่ ที่น่าสยดสยองยิ่ง และหลอกหลอนความรู้สึก ของสมาชิกราชวงศ์ ทุกพระองค์ตลอดเวลา สิ่งปรารถนาอันใหญ่หลวง ของพระเจ้าซาร์นั้นก็คือ เจ้าชายรัชทายาท ผู้จะเป็นประมุของค์ต่อไปของรัสเซีย แต่แล้วก็ทรงกลับไปได้แต่พระราชธิดาถึง 4 พระองค์ นับตั้งแต่ โอลก้า ทาเทียน่า มาเรีย และ อนาสตาเซีย ซาร์และซาริน่าทรงไม่ละความพยายาม ทั้งสองพระองค์สวดอ้อนวอน ขอพรต่อเทพเจ้าให้ประทานพระโอรส และท้ายที่สุดก็สมพระทัย ในวันที่ 5 สิงหาคม 1904 พระองค์ก็ได้เจ้าชายรัชทายาท อเล็กไซ นิโคลาวิช โรมานอฟ
หากทว่า นิโคลาสกับอเล็กซานดราก็ต้องทรงระทม ทุกข์อีกครั้ง เมื่อพบว่าเจ้าชายน้อยอเล็กไซ มีพลานามัยไม่สมบูรณ์ ทรงประชวรด้วยโรคร้าย ฮีโมฟีเลีย ถ้าเป็นแผล โลหิตจะไหลไม่หยุด จนถึงอาจสิ้นพระชนม์ได้ และโรคนี้ไม่มีวิธีรักษา!
เรื่องนี้ ซาร์ทรงปิดเป็นความลับแก่โลกภายนอก ห้ามผู้หนึ่งผู้ใดเข้ามาเยือนในพระราชวัง ยกเว้นผู้สนิทสนมใกล้ชิด เพียงไม่กี่คน ระหว่างนั้น ทั้งพระองค์และ พระราชินี ก็ทรงเสาะแสวงหา หมอเก่งๆ มารักษาพระราชบุตร ด้วยเหตุ ทั้งสององค์ทรงฝักใฝ่ ในศาสนา ตลอดจนมนตร์วิชา ลี้ลับต่างๆ การเสาะหานี้จึงได้นำมาสู่ ความหายนะ แห่งราชวงศ์โรมานอฟ หนึ่งในผู้ที่ทรงเชื้อเชิญ ให้มารักษา เป็น บุรุษลึกลับกลับจากป่าในไซบีเรีย นาม เกรกอรี่ รัสปูติน ตอนที่อเล็กซานดรานำ เขาผู้นี้มาในวัง อเล็กไซ เจ้าชายน้อยกำลังบรรทม เจ็บปวดรวดร้าว จากอาการเลือดตกในใกล้สิ้นพระชนม์ แต่จะอธิบายเหตุบังเอิญได้อย่างใด ในเมื่อการรักษาเยียวยานั้นเป็นไป อย่างได้ผลตลอดระยะเวลายาวนานถึง 12 ปี เรียกว่า ถ้าเจ้าชายน้อยมีแผลครั้งใด รัสปูตินก็สามารถช่วยไว้ได้ทุกครั้ง ซาริน่าทรงเชื่อมั่นว่ารัสปูตินได้รับ พลังอำนาจพิเศษจากเทพเจ้า พระนางจึงทรงเชิญให้เขาเข้ามา พำนักอยู่ในพระราชฐานชั้นใน เพื่อดูแลถวายการรักษาอเล็กไซอย่างใกล้ชิด และนี่เองที่ทำให้รัสปูตินได้มีโอกาส คลุกคลีกับสาวสรรพ์กำนัลในแห่งพระราชวัง จนกลายเป็นข่าวลืออื้อฉาวถึงสัมพันธ์สวาทที่เขามีต่อเหล่านางข้าหลวง ตลอดจนเจ้าหญิง และแม้กระทั่งซารีน่าอเล็กซานดราก็มิได้เว้น! ยิ่งไปกว่านั้น รัสเซียได้เข้าร่วม ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 1914 พระเจ้าซาร์ทรงเห็นความสำคัญ ของศึกครั้งนี้ จึงทรงออก ร่วมในการบัญชาการ เป็นเหตุให้ต้องเหินห่างพระ ราชวัง เปิดโอกาสให้รัสปูตินได้กระทำการบัดสีต่างๆ ได้ตามอำเภอใจ หนักขึ้น ด้วยในขณะนั้น เขาเป็นที่โปรดปรานของ ซาริน่าอย่างยิ่ง อีกทั้งพลังสายตาอันแข็งกล้าของเขา ก็ยังสยบผู้คนให้ตกอยู่ใต้ อำนาจได้อีกด้วย นับเป็นก้าวย่างที่ราชวงศ์โรมานอฟ ถึงจุดเสื่อมสลายอย่างรวดเร็ว ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า พระราชินีทรงคิดว่า พระเจ้าได้สื่อสารกับ พระราชวงศ์โดยผ่านทางรัสปูติน เมื่อเขาพูดถึงสิ่งใด พระนางก็จะทรง ปฏิบัติตามโดยไม่รอช้า ดังนั้น เมื่อรัสปูตินแนะนำให้ตั้ง ใครดำรงตำแหน่งสูงๆ หรือขับไล่ผู้หนึ่งผู้ใดให้พ้นไปเสียจากวัง พระนางก็จะทรงทำตา มคำแนะนำของเขาทันทีเขา จึงเป็นผู้ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในพระราชวัง ความเหิมเกริมของรัสปูตินทำให้เชื้อพระ วงศ์และข้าราชบริพารกลุ่มหนึ่งไม่อาจทนต่อไปได้ โดยเฉพาะเจ้าชาย ยูสโซปอฟ ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ผู้มั่งคั่งที่สุดองค์หนึ่ง เจ้าชายจึงทรงวางแผนกับผู้ใกล้ชิด ลวงรัสปูตินให้มาเยือนวังของพระองค์ใน นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แล้วล่อให้เขาลงไปยังห้องใต้ดิน จากนั้น ก็ให้รัสปูตินดื่มไวน์ชั้นเยี่ยมที่ทรงเก็บไว้ และกินแป้งราดครีมอันโอชะ หากทว่าทั้งอาหารและไวน์นี้ได้เจือปนไซยาไนด์ เพียบ ขนาดฆ่าคนธรรมดาได้ถึงสิบคนสบายๆ แต่รัสปูตินไม่ธรรมดา ทั้งดื่มทั้งกินสารพิษ ร้ายเข้าไปแล้วก็ยังมีทีท่าปกติ ยูสโซปอฟ แทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง นี่ต้องเป็นอำนาจของปิศาจร้ายแน่ๆ ด้วยความโกรธและตกใจ เจ้าชายจึงชักปืนรีวอลเวอร์ ออกมากระหน่ำยิงรัสปูตินจนล้มคว่ำ แน่ใจว่าหนนี้นักบวชชั่วคงตายแน่นอน ยูสโซปอฟเข้าไปก้มดูร่างที่นอนนิ่งอยู่ หากทว่าร่างนั้นกลับลืมตา จ้องถมึงทึงพลางคำราม แกไอ้บัดซบ ยูสโซปอฟตระหนกสุดขีด แล้ววิ่งขึ้นบันไดร้องลั่น มันไม่ตาย! มันยังมีชีวิต! ไม่เพียงแต่จะพยุงร่างตัวเองขึ้นได้ แต่รัสปูตินยังสามารถเดินโซซัดโซเซ ออกไปยังสนามหน้าวัง โดยมีกลุ่ม ผู้วางแผนฯ วิ่งไล่ระดมยิงตามหลัง อย่างบ้าคลั่ง แต่กระสุนปืนไม่อาจปลิดชีพ ของนักบวชผู้มีพลังจิตนี้ได้ สุดท้ายเมื่อไม่รู้จะ ทำฉันใด เหล่าเพชฌฆาต จำเป็นจึงจับร่างของรัสปูตินโยนลง ในแม่น้ำเนวาที่ไหล ผ่านนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก อากาศที่หนาวจัดทำให้น้ำ บางส่วนกลายเป็นน้ำแข็ง ยาพิษและกระสุนปืนไม่ระคายเคืองแก่รัสปูติน แต่เขาตายเพราะจมน้ำ! ข่าวความตายอย่างหฤโหดของรัสปูตินแพร่กระจายไปทั่วอาณาจักร สร้างความโศกศัลย์แก่อเล็กซานดรายั่งนัก นอกจากนี้ยังทรงหวั่นไหวอย่างยิ่ง เนื่อง จากก่อนหน้าการตายไม่ นานนัก นักบวชผู้หยาบช้าได้เขียนบันทึกสั้นๆ ถึงพระองค์ไว้ว่า ขอให้ทรงรับรู้ว่า ถ้าหากเชื้อพระวงศ์องค์ใดทำให้หม่อมฉันตาย พระ องค์และครอบครัวจะต้องสิ้นพระชนม์ภายในสองปี จากฝีมือของประชาชนรัสเซีย เกรกอรี รัสปูติน มีนาคม 1917 ไม่ถึง 3 เดือนหลังการตายของรัสปูติน กระแสแห่งการปฏิวัติหลั่งไหลเข้ามาสู่นครหลวงของรัสเซีย ขบวนชาวนาและคนงานอุตสาหกรรมแห่กันเข้ามาถวายฎีกาปรับปรุงระบบการบริหารประเทศ แต่องครักษ์วังหลวงกลับต่อต้านด้วยอาวุธปืน ความจลาจลวุ่นวายบังเกิดขึ้น และผลสุดท้ายซาร์ก็จำต้องสละราชบัลลังก์ พระองค์และเชื้อพระวงศ์ถูกควบคุมตัวอย่างแข็งแรง และถูกนำไปกักขังไว้ ณ ไซบีเรียอันห่างไกลและกันดาร โดยซารีน่าและเจ้าหญิงทั้ง สี่องค์ได้แอบซ่อนทองและ อัญมณีเอาไว้ในพระภูษาเป็นอันมาก หากทว่าไม่รอดพ้นมือ ของทหารปฏิวัติซึ่งขี้เมาและกักขฬะนอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าเจ้าหญิงผู้งดงาม ไร้เดียงสาบริสุทธิ์ทั้ง 4 องค์ ก็ไม่รอดพ้นการย่ำยีทางเพศ จากทหารเหล่านี้เช่นกัน!นับเป็นชะตากรรมที่พลิกผันชีวิตอันสูงส่ง ลงมาต่ำสุดอย่างน่าสมเพชยิ่งนักเมษายน 1918 ครอบครัวราชวงศ์ โรมานอฟ ถูกนำไปไว้ในบ้านหลังหนึ่ง แถบภูเขาอูรัล ถึงตอนนี้พระเจ้าซาร์ก็ทรง ได้แต่ฝากความหวังไว้กับพระเจ้า ยามดึกของคืนวันที่ 16 กรกฎาคม 1918 ครอบครัวโรมานอฟกับบริพาร และแพทย์ผู้ดูแล รักษา ทั้งหมดถูกปลุกขึ้นและนำตัวลงไปยังห้องใต้ดิน ต่อหน้ากลุ่มนักโทษสูงศักดิ์ นายทหารผู้ควบคุมได้อ่านประกาศ ด้วยเหตุที่วงศาคณาญาติของท่านดำเนินการโจมตีโซเวียตรัสเซีย คณะกรรมการบริหารแห่งอูรัล จึงตัดสินประหารท่าน แถวทหารเพชฌฆาต 12 นาย ประทับปืนขึ้นยิงกราดยังกลุ่มนักโทษ พวกเขาร่วงผล็อยราวใบไม้ ยูรอฟสกี้ ผู้ควบคุมการประหารก้าวเดินสำรวจ เจ้าชายน้อยอเล็กไซยังไม่สิ้นพระชนม์ ยูรอฟสกี้ ยกปืนพกขึ้นยิงองค์รัชทายาท 2-3 นัด ก็เป็นอันปิดฉากราชวงศ์โรมานอฟ คำสาปของนักบวชอลัชชีผู้ทรงอำนาจจิตแรงกล้านั้น ได้สร้างความวิบัติแก่ราชวงศ์โรมานอฟอย่างน่าเศร้า และสยดสยองยิ่ง.
การปฏิวัติครั้งใหญ่ และยุคแห่งคอมมิวนิสต์ การตัดสินใจเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจนเกิดขึ้นทั่วเมืองในที่สุดปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์พระเจ้านิโคลัสที่2สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกี้ขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค Bolshevik นำโดยวลาดิมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็นสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือUSSR) ปีค.ศ. 1918 ย้านเมอืงหลวงและฐานอำนาจกลับสู่มอสโคว์ กระนั้นก็ยังมีผู้ไม่พอใจกับสภาพแร้นแค้น การขาดสิทธิเสรีภาพ จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี 1924 โจเซพ สตาลิน (1924-1953) ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนเทียบเคียงสหัสรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโคว์ไว้ โดยเฉพาะที่เซนปีเตอร์สเบิร์กถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า The Great Patriotic War กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1941-1945)นี้ไว้ได้ ปีค.ศ. 1955 นิกิต้า ครุสชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนงคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี 1964 ครุสชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรสเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปี1980 มอสโคว์ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22
ยุคแห่งโลกทุนนิยม ปี 1985 มิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ และขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทนนายอังเดร โกรมิโกรที่ลาออกในปี 1988 เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสทรอยก้า Perestroyka โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี ค.ศ.1990 กอร์บาร์ชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาจาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งศตวรรษ( Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสทรอยก้าล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ชิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย รัฐต่างๆ 15 รัฐแยกตัวเป็นอิสระ ภายใต้ใหม่ชื่อว่า สหพันธรัฐรัสเซีย โดยมี 11 รัฐที่รวมตัวกันตั้งเป็นเครือจักรภพอิสระ (Commonwealth of Independent Stage หรือ CIS ) ซึ่งมีสารณรัฐรัสเซีย ยูเครน และเบโลรัสเซียเป็นแกนนำสำคัญ กับการบริหารปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยที่ส่งให้เยลต์ชินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 2 สมัย ปี 2000 มีการเลือกตั้งครั้งที่ 3 นายวลาดีเมียร์ ปูติน ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิปดีจนถึงปัจจุบัน
Cold war: สงครามเย็น เป็นลักษณะการเผชิญหน้าภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คำว่าสงครามเย็นเป็นคำใหม่ที่เกิดขึ้นก่อนสงครามยุติลง และเรียกต่อมาเป็นการอธิบายลักษณะความตึงเครียดระหว่างประเทศ หรือระหว่างกลุ่มที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการจับอาวุธขึ้นต่อสู้ เพราะถ้ามีการใช้อาวุธ สถานการณ์จะเปลี่ยนไปเป็นสงครามร้อน (hot war) ซึ่งจะมีขอบเขตกว้างขวางและก่ออันตรายอย่างใหญ่หลวงแก่มนุษยชาติ วิธีการที่ใช้มากในสงครามเย็น คือการโฆษณาชวนเชื่อ สงครามจิตวิทยา การแข่งขันกันทางกำลังอาวุธ และการสร้างความนิยมลัทธิของตนในประเทศเล็กๆ ที่อาจถูกรวมเข้ามาเป็นประเทศบริวารของแต่ละฝ่าย
สมัยเริ่มต้นสงครามเย็น น่าจะอยู่ในสมัยวิกฤตการณ์ทางการทูตในตอนกลางและปลาย ค.ศ.1947 เมื่อสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งเรื่องการจัดตั้งองค์การสันติภาพในตุรกี ยุโรปตะวันออกและเยอรมนี ซึ่งทำให้สหรัฐเริ่มตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของตน ที่จะต้องเป็นผู้นำต่อต้านแผนการยึดครองโลกของสหภาพโซเวียตที่เป็นผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์
การแบ่งสถานภาพของประเทศต่างๆในสมัยสงครามเย็นคือ 1) ประเทศมหาอำนาจ (Big Powers) คือประเทศพัฒนาแล้ว หมายถึงประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม มีภาระหน้าที่นำอารยธรรมไปเผยแพร่ยังประเทศที่ล้าหลัง ทั้งหมดเป็นการสร้างลักษณะจักรวรรดินิยมใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือการล่าเมืองขึ้นและยึดครองประเทศอาณานิคมในแอฟริกาและเอเชีย มีจุดประสงค์เบื้องลึกคือความต้องการตลาดระบายสินค้า ต้องการแรงงานราคาถูก และต้องการทรัพยากรในประเทศนั้นมาใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมของตน 2) ประเทศด้อยพัฒนา (Underdeveloped Countries) คือประเทศที่ยังไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือมีการพัฒนาในระดับต่ำ ประเทศเหล่านี้จะมีความล้าหลังทางเทคโนโลยี มีฐานะเป็นประเทศพึ่งพา (dependent) และต้องเผชิญหน้าการล่าอาณานิคมของขาติตะวันตก ส่วนมากเป็นประเทศในเอเชียและแอฟริกา 3) ประเทศอภิมหาอำนาจ (Super Powers) คือประเทศที่ปรากฎความสำคัญขึ้นมาแทนมหาอำนาจตะวันตก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีลักษณะเป็นประเทศภาคพื้นทวีป (Continental Character) มีการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง และเป็นผู้นำลัทธิการเมืองสองฝ่ายคือฝ่ายโลกเสรีและฝ่ายคอมมิวนิสต์
ระยะสงครามเย็น 1) ค.ศ. 1947-1949 เป็นระยะความตึงเครียดเนื่องจากการเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจ แต่ยังไม่มีการประกาศสงครามหรือใช้กำลัง เป็นสมัยการประกาศแผนการณ์ทรูแมน (Truman Doctrine) วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ.1947 กับการประกาศแผนการมาร์แชลล์ เพื่อ |