***** หากเราจะไปเที่ยวรัสเซียแล้วเจอเจ้าหน้าที่ที่สนามบินถามเราแบบใส่เป็นชุดด้วยภาษารัสเซียแล้วละก็ ตอบไปประโยคเดียวก็ได้ครับ ไม่ต้องพยายามฟัง เดี๋ยวโดนหมั่นไส้ 5555555
по-русски не говорю : ปารุสกี้ นี กาวารู = ฉันพูดภาษารัสเซียไม่ได้
я не понимаю : ยา นี ปานิมายู่ = ฉันไม่เข้าใจ
я из таиланда : ยา อิซ ไตยลันดา = ฉันมาจากเมืองไทย
кто тут говорит по-английски? : คโต ตุต กาวาริท ปา อิงกลิสกี้ = ใครบ้างในที่นี่ พูดภาษาอังกฤษได้
จาก : สารานุกรมเสรี
ภาษารัสเซีย (ภาษารัสเซีย русский язык / รุสสกี้ บิซึก) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด
ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์เมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10
อักษร อักษรที่ใช้เขียนภาษารัสเซียเรียกว่าอักษรซีริลลิก มีอยู่ทั้งหมด 33 ตัวด้วยกัน ดังต่อไปนี้
Аа Бб Вв Гг Дд Ее Ёё Жж Зз Ии Йй
Кк Лл Мм Нн Оо Пп Рр Сс Тт Уу Фф Хх Цц Чч Шш Щщ Ъъ Ыы Ьь Ээ Юю Яя
ในภาษาอื่นที่ใช้อักษรซีริลลิก เช่น ภาษายูเครน ภาษามองโกเลีย ฯลฯ จะมีอักขระพิเศษเพิ่มขึ้นมาตามแต่ละภาษาในประเทศรัสเซีย อักษรซีริลลิกนอกจากจะใช้เขียนภาษารัสเซีย ปัจจุบันยังใช้เขียนภาษาของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศด้วย
ระบบเสียง
เสียงพยัญชนะ
ไวยากรณ์ ภาษารัสเซียมีลักษณะคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน คือมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงเพศ พจน์ กาล การก แม้ว่าในหลายภาษาในตระกูลเดียวกันกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้หายไปบ้าง แต่ในภาษารัสเซียรวมทั้งภาษาสลาวิกอื่น ๆ ยังคงมีกฎเหล่านี้อยู่
infinitive |
работать ทำงาน |
|
|
รูปปัจจุบัน |
รูปอดีต |
Я (สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์) |
работаю |
ช работал ญ работала |
Ты (สรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์) |
работаешь |
ช работал ญ работала |
Он (สรรพนามเพศชายบุรุษที่ 3 เอกพจน์) |
работает |
работал |
Она(สรรพนามเพศหญิงบุรุษที่ 3 เอกพจน์) |
работает |
работала |
Мы (สรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์) |
работаем |
работали |
Вы (สรรพนามบุรุษที่ 2 พหูพจน์) |
работаете |
работали |
Они (สรรพนามบุรุษที่ 3 พหูพจน์) |
работают |
работали |
นอกจากนี้แล้ว กริยาภาษารัสเซีย ยังมีรูปสมบูรณ์ และ ไม่สมบูรณ์ โดยกริยาสมบูรณ์เน้นที่ผลของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ прочитать หมายถึง อ่าน (จบแล้ว)
ประโยคตัวอย่าง Я прочитал эту книгу. (ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว) ส่วนกริยาไม่สมบูรณ์เน้นที่ขั้นตอนของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ читать หมายถึง อ่าน
ประโยคตัวอย่าง Я читаю эту книгу. ฉันกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ (เริ่มอ่านแล้ว และ ยังอ่านไม่จบเล่ม)
อนึ่ง กาลของกริยาสมบูรณ์มีเพียง 2 กาล คือ อดีต และ อนาคต ต่างจากกริยาไม่สมบูรณ์ ที่มี อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต (กาลอนาคตใช้ กริยา быть มาขยายข้างหน้ากริยารูป infinitive โดยผันกริยา быть ตามประธาน กาลปัจจุบัน (เช่น Я буду, ты будешь...они будут)
------------------------------------------------------------------------------------------
|