| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : คิง ไกเซอร์ ซาร์
สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร | สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย Queen Victoria of the United Kingdom
พระนามแบบเต็ม อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย (๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๖๒ - ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๔)
ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๘๐ และสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอินเดียพระองค์แรก ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๑๙ จนเสด็จสวรรค รัชกาลของพระองค์ยาวนานถึง ๖๓ ปี ๗ เดือน ๒ วัน ซึ่งยาวนานกว่ารัชกาลใดของพระประมุขอังกฤษพระองค์อื่น
โดยทั่วไปแล้วยุคสมัยที่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระองค์เป็นที่รู้จักว่า "สมัยวิกตอเรีย" (Victorian Era)
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชินีอังกฤษในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน ค.ศ. 1837 - 22 มกราคม 1901 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ (63ปี) และทรงมีสายพระโลหิตสืบทอดมาเป็นเชื้อพระวงศ์ทั่วยุโรป เช่น สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี หรือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นต้น จนได้รับพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จย่าแห่งยุโรป" (Grandmother of Europe)
พระราชินีวิกตอเรีย ทรงประสูติในวันที่ 24 พฤษภาคม 1819 ทรงเป็นพระราชธิดาในเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ออกุสตุส ดยุคแห่งเคนท์และสตราเธิร์นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรกับ ชาร์ลอตชาร์ลอตต์แห่งเม็คเคล็นเบิร์ก-สเตรลิตซ์ สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรพระราชชนนีคือเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งแซ็กซ์-โคเบิร์ก-ซาลเฟลด์ พระปิตุลา 2 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรได้แก่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร
พระนามของพระองค์ ซึ่งแม้ว่าลงเอยในตอนท้ายเป็น อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย ได้เป็นที่ถกเถียงกันระหว่างพระชนนีและบรรดาพระปิตุลา สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 เสนอพระนามว่า เอลิซาเบธ ในขณะที่ทรงคัดค้านการขนานพระนามเจ้าหญิงตามพระชนนี โดยตรัสว่า วิกตอเรีย "ไม่เคยเป็นชื่อทางศาสนาคริสต์ที่รู้จักมาก่อนในประเทศนี้" แต่ดัชเชสแห่งเคนต์ทรงปฏิเสธ แม้พระนามชาร์ล็อตก็ไม่ได้รับการพิจารณา เพราะเป็นการไม่ให้เกียรติแก่เจ้าหญิงชาร์ล็อต ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะมีพระประสูติกาลก่อนหน้านี้
พระชนกของเจ้าหญิงวิกตอเรียสิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง หลังจากการประสูติได้เพียงแปดเดือน และสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระอัยกาได้เสด็จสวรรคตในอีกหกวันต่อมา เจ้าชายผู้สำเร็จราชการ จึงเสวยราชสมบัติสืบต่อมาเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แต่พระองค์เสด็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาทเมื่อเจ้าหญิงทรงมีพระชนมายุ 11 พรรษา ตอนนี้ราชบัลลังก์จึงตกเป็นของดยุคแห่งคลาเรนซ์และเซนต์แอนดรูว์ ซึ่งเถลิงพระปรมาภิไธยเป็น สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4
สายสัมพันธ์ของพระราชินีวิกตอเรีย ปกครองทั่วยุโรป
- Victoria (Vicky), Princess Royal, b.1840, d. 1901 as dowager Empress of Germany (married Frederick (Fritz) of Prussia, 1858)
- Albert Edward (Bertie), Prince of Wales, b. 1841, d.1910 as King Edward VII (married Princess Alexandra of Denmark, 1863)
- Alice, b. 1843, d. 1878 as Grand Duchess of Hesse-Darmstadt (married Prince Louis of Hesse-Darmstadt, 1862)
- Alfred (Affie), b. 1844, d.1900 as Duke of Edinburgh and Saxe-Coburg-Gotha (married Princess Marie of Russia, 1874)
- Helena (Lenchen), b.1846, d.1923 as Princess Helena of Schleswig-Holstein (married Prince Christian of Schleswig-Holstein)
- Louise, b.1848, d.1939 as Dowager Duchess of Argyll (married Marquess of Lorne 1871)
- Arthur, b.1850, d.1942 as Duke of Connaught (married Princess Louise of Prussia)
- Leopold, b.1853, d.1884 as Duke of Albany (married Princess Helena of Waldeck-Pyrmont)
- Beatrice, b. 1856, d. 1944 as Princess Beatrice of Battenberg (married Prince Henry of Battenberg)
คิง ไกเซอร์ ซาร์ สามกษัตริย์ผู้นำโลกเข้าสู่สงคราม (KING KAISER TSAR)
คิง ไกเซอร์ ซาร์ บอกเล่าเรื่องราวของสามกษัตริย์ผู้ผูกพันแน่นแฟ้นทางสายเลือด และต่างก็ปกครองประเทศมหาอำนาจที่มีอาณานิคมเกือบครึ่งค่อนโลก
คิงจอร์จที่ 5 แห่งอังกฤษ ผู้มีความอ่อนโยน ปรารถนาเพียงความสุขสงบ และการได้อยู่บ้านกับครอบครัว แต่พระองค์ไม่สามารถเลือกทางเดินเช่นนั้นได้ เมื่อตำแหน่งรัชทายาทของสหราชอาณาจักรตกมาอยู่ในมือ พระองค์จึงต้องพยายามปกปักรักษาผลประโยชน์ของบ้านเมืองอย่างสุดชีวิต
ไกเซอร์วิลเฮล์ม ที่ 2 แห่งเยอรมัน ผู้มุทะลุดุดัน แวดล้อมด้วยกลุ่มทหารที่หว่านคำป้อยอ เป็นเหตุให้หลงระเริงในอำนาจ เชื่อมั่นในแสนยานุภาพทางทหารของตนและการปกครองแบบอำนาจเบ็ดเสร็จตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนนำประเทศชาติไปสู่หายนะ
ซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ผู้บอบบาง เขินอาย และโอนอ่อนผ่อนตาม มักตกอยู่ในสภาวะไม่รู้เหนือรู้ใต้ ซ้ายหรือขวา ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะนำพาประเทศไปในทิศทางใด ความอ่อนแอที่ฉายชัด คือการปิดหูปิดตาไม่ยอมมองกระแสปฏิวัติที่กำลังก่อตัวขึ้นในประเทศ จึงนำไปสู่การสูญสิ้นราชวงศ์และโศกนาฏกรรม
ฉากหน้าของความรัก ความห่วงใยเฉกเช่นคนในครอบครัวของสามกษัตริย์ บางครากลับแฝงไว้ด้วยเล่ห์เพทุบายทางการเมือง และการชิงดีชิงเด่น เพื่อแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ให้กับอาณาจักรของตน กระทั่งนำไปสู่สาเหตุของมหาสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่คร่าชีวิตคนบริสุทธิ์หลายสิบล้านคน |
|