ระบบจักพรรดิ(ซาร์)
เริ่มมีการต่อต้านมาเรื่อยๆ
ในปี
ค.ศ. 1881 พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2
ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยการปาระเบิดใส่ราชรถ ขณะที่พระองค์ทรงเสด็จกลับพระราชวังฤดูหนาว
พระองค์ทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสด็จสวรรคตที่พระราชวังฤดูหนาว
นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก หลังจากนั้นมีการลงโทษประหารกบฏด้วยการแขวนคอ
หนึ่งในนั้นมี พี่ชายวลาดิมีร์ เลนิน รวมอยู่ด้วย
ปี ค.ศ. 1904
เกิดสงครามกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีอาวุธที่ดีกว่าเหนือกว่าทำให้ชนะรัสเซียได้
ประชาชนโทษพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
มกราคม
ค.ศ. 1905 มีการชุมนุมประท้วงเพราะแพ้สงครามและประชาชนอดอยาก
ที่จตุรัสพระราชวัง มีการสลายการชุมนุมประท้วงโดยกองทหารม้าคอสแซค
มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก เพิ่มความเกลียดซังพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่
2 มากยิ่งขึ้น (Bloody Sunday)
ปี
ค.ศ. 1914 พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงเข้าร่วมกับสงครามโลกครั้งที่
1 และพระองค์ทรงเสด็จออกแนวหน้าเพื่อบัญชาการรบเอง ปล่อยให้หน้าที่การบริหารประเทศเป็นของพระมเหสีซาริน่า
อเล็กซานดร้า ซึ่งพระนางทรงฟังคำพูดของนักบวชนามว่า
รัสปูติน ดังนั้นการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ ก็ล้วนเป็นคนที่รัสปูตินเสนอขึ้นมา
และมีข่าวว่าพระนางซาริน่า ได้ทรยศไปเข้าข้างเยอรมันอีกด้วย
ค.ศ. 1916 นักบวชรัสปูติน ถูกลอบสังหารเสียชีวิต
ปี
ค.ศ. 1917 มีการนัดหยุดงาน และเกิดจลาจลในกรุงเปโตรกราด
ทางสภาดูมาได้วิจารณ์และตักตือนพระองค์ แต่พระองค์ทรงโต้ตอบด้วยการยุบสภาดูมา
ฝ่ายทหารจำนวนมากจึงเข้าร่วมกับคนงาน การปฏิวัติได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
บีบบังคับให้พระองค์ต้องสละบัลลังค์ให้กับพระอนุชา แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ยอม
ต้องการให้เปลี่ยนระบบการปกครอง
ค.ศ.
1918 พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่2
และราชวงค์พร้อมทั้งข้าบริพารถูกสังหารโดยกลุ่มบอลเชวิกที่เอกาเต็นเบริ์ก
(Ekaterinburg)
ปี
ค.ศ. 1918 เลนิน เซ็นสัญญา เบรสท์ - ลิทอฟส์
เพื่อยุติสงครามกับเยอรมัน
|