เว็บนี้ เน้นให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับประเทศรัสเซีย (ไม่มีการจัดทัวร์) หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ เพราะอยู่ประเทศไทย อีกทั้งไม่ได้เรียนจบจากรัสเซีย เคยไปเที่ยวเท่านั้น!!
. หัวข้อกระทู้ทั้งหมด
: Incest (สาเหตุแห่งหายนะ)
การร่วมประเวณีกับญาติสนิท หรือ การสมสู่ร่วมสายโลหิต หมายถึง การมีความสัมพันธ์ทางเพศในทุกรูปแบบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในครอบ ครัวเดียวกัน ซึ่งอาจหมายถึงคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและจารีตทางสังคม

ในบางสังคม การล่วงละเมิดหมายอาจมีแค่ผู้ที่อยู่ร่วมเคหะสถานเดียวกัน หรือผู้ที่เป็นสมาชิกของเผ่าหรือมีผู้สืบสันดานเดียวกัน; ในบางสังคมมีความหมายรวมไปถึงคนที่สัมพันธ์กันทางสายเลือด; และในสังคมอื่น ๆ รวมไปถึงบุตรบุญธรรมหรือการแต่งงาน

การร่วมประเวณีระหว่างสายเลือดนั้นในประวัติศาสตร์พบว่าช้านานแล้ว โดยเฉพาะพวกคนชั้นสูง กษัตริย์และตระกูลขุนนางชั้นสูงนิยมการแต่งงานกันเองระหว่างเครือญาติเพื่อ ปกป้องสายเลือดอันบริสุทธิ์อีกทั้งยังรักษาทรัพย์สมบัติและอำนาจเอาไว้ ทำให้ผู้สืบสายเลือดตระกูลเหล่านี้หลายคนมีอาการบกพร่องทางจิตจากลักษณะทาง พันธุกรรม....

เป็นต้นว่า โรคประสาท, โรคเลือด, พิกลพิการ, เซ็กซ่วลที่ชอบสำเร็จความใคร่ตนเอง, โรคลมชัก,สมอง ทำให้คนชั้นสูงเหล่านั้น “บ้า” เช่น บุคคลดังๆ ที่เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการร่วมประเพณีสายเลือดเดียวกัน ก็มี อลิซาเบธ บาโธรี่(Elizabeth Báthory)หญิงสาวที่ฆ่าคนถึง 650 คนโดยใช้อำนาจขุนนางมาใช้, พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 (Tsar Nicholas II)ที่ลูกป่วยเป็นป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ได้รับการรักษาโดยรัสปูติน จนส่งผลให้รัสปูตินก้าวมามีอำนาจในพระราชสำนัก, สมเด็จพระราชินีฮวนน่า(Juana I de Castilla)ฮวนน่าผู้บ้าคลั่ง, อีวานที่ 4 (Ivan IV) ซาร์แห่งรัสเซีย ที่ปกครองรัสเซียอย่างโหดร้าย

นอกจากนี้ยังมีโรคประหลาดหนึ่งที่มาจากการร่วมประเวณีระหว่างสายเลือดเดียว กัน คือ โรคโพรพีเรีย (Porphyria) หรือโรคผีดูดเลือดที่โรคพันธุกรรมหายากมาก ซึ่งเกิดจากการจาดเอนไซม์ในตับหรือเม็ดเลือดแดงท ทำให้ต้องรักษาโดยการดื่มเลือด(สมัยก่อน) ตัวบุคคลที่เป็นโรคนี้ก็มี วลาด ดราคูล่า(Vlad the Impaler)จอมเสียบโรมาเนีย, สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์(Mary Queen of Scots), พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์(Nebuchadnezzar) และ พระเจ้าจอร์ชที่ 3(King George III) โดยมีหลักฐานคือพบสารหนูอยู่มากในพระเกศาที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ กรุงลอนดอน
125.26.137.58 โดย patt  อีเมล์ : ( 14090 ) โพสต์เมื่อ : 20/07/2011 02:45:06 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
พิมพ์หน้านี้ | ตอบกลับ แสดงความคิดเห็น | ปิดหน้านี้
 

เคาท์เตส อลิซาเบธ บาโธรี่ (Countess Elizabeth Báthory) เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1560 ในเมือง Nyírbátor ประเทศฮังการี เป็นคนในตระกูล บาโธรี่ ซึ่งมีความเกี่ยวดองกับกษัตริย์ฮังการีในสมัยนั้น

อลิซาเบธ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1614 (54 ปี) ในเมือง Čachtice ประเทศสโลวาเกีย

ประวัติ

เคาท์เตส อลิซาเบธ บาโธรี่ เป็นหญิงสาวที่มีความเชื่อในเรื่องชีวิตที่เป็นอมตะ และต้องการคงร่างของตนเองให้คงดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ จึงมีความคิดที่ว่า หากได้อาบเลือดของหญิงสาวบริสุทธิ์แล้ว จะทำให้ตนเองดูอ่อนเยาว์ได้ตลอดไป เธอจึงสั่งให้คนรับใช้ไปเอาร่างของหญิงสาวบริสุทธิ์ มากรีดเอาเลือดใส่อ่างด้วยเครื่อง ไอรอน เมเดน (Iron maiden) แล้วอาบต่างน้ำ โดยมีเหยื่อที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับเธอไปไม่น้อยกว่า 600 คน กว่าที่เธอจะถูกคนจับไปขังในคุกมืดจนตาย เธอได้รับสมญานามว่า The Blood Countess และ Countess Dracula

เอลิซาเบธ เกิดในปราสาทเชิงเขาคาร์เทียนใกล้ๆ กับแคว้นทรานซิลวาเนีย ซึ่งเป็นของตระกูลบาโธรี่อันเป็นตระกูลขุนนางชั้นสูงของฮังการี่และสืบสายมา จากตระกูลแฮบสเบิร์กอันเก่าแก่ของยุโรป ตระกูลบาโธรี่จึงเป็นตระกูลที่เก่าแก่ร่ำรวย มีอำนาจล้นหลาม เป็นที่น่ายำเกรงของประชาชนทั่วไป และปกครองแคว้นทรานซิลวาเนียมาหลายต่อหลายยุคสมัย ความจริงแล้ว เอลิซาเบธไม่ใช่เด็กหญิงที่สวยงาม เธอออกจะขี้เหร่ด้วยซ้ำแต่ด้วยความที่เป็นลูกผู้ดีมีตระกูล จนจักรพรรดิมาร์คมิชิเลียนที่ 2 เคยมาขอดูตัวด้วยซ้ำ เอลิซาเบธจึงมีทั้งความสวยทั้งหน้าตา รูปร่าง(เธอคิดเอาเอง) และชาติตระกูลสูงส่ง แต่มันเหมือนนรกจับยัดมาเกิด เพราะเธอกลับมีอาการบกพร่องทางจิตอย่างรุนแรง

เป็นเรื่องธรรมดาของตระกูลเก่าแก่ที่มีการแต่งงานกันเองในหมู่ญาติเพื่อ รักษาทรัพย์สมบัติและอำนาจเอาไว้ ทำให้ผู้สืบสายเลือดตระกูลนี้จำนวนมากมีอาการบกพร่องทางจิตอันเนื่องมาจาก ลักษณะทางพันธุกรรม เป็นต้นว่าโรคฮิสทีเรีย พฤติกรรมรักร่วมเพศ หรือแม้แต่การสืบทอดของสาวกลัทธิบูชาปีศาจ ผู้มักมากในกาม ฯลฯ เอลิซาเบธ ก็เช่นเดียวกัน

นิสัยเพี้ยนของเอลิซาเบธ ปรากฏตั้งยังเล็กๆ อยู่นั่นแหละ เอลิซาเบธนั้นแทนที่จะพอใจกับเกียรติยศที่ผู้คนเตรียมใส่พานทองมาประเคนให้ แต่เธอกลับใฝ่ต่ำ ทำท่าเบื่อหน่ายพวกพี่เลี้ยง ครูอาจารย์ที่มาอบรมสั่งสอน เธอกลับเกเรหนีเรียน แอบไปเที่ยวเล่นกับลูกชาวนา ชาวไร่ที่เป็นทาสติดที่ดิน เธอชอบเล่นสัปดนเสียจนท้องเมื่ออายุเพียง 13

ข่าวที่น่าอับอายถูกส่งไปบอกผู้เป็นมารดาอย่างเร่งด่วน และก่อนที่จะมีผู้ใดระแคะระคาย เธอก็ถูกส่งตัวไปไว้ในปราสาทแห่งหนึ่งของตระกลูบาโธรี่ที่ห่างไกลสายตาผู้คน ท่านแม่ของเธออ้างว่าลูกสาวไม่สบายต้องการอยู่ในที่สงบเพื่อรักษาตัว และเมื่อทารกเกิดมาก็อาจถูกฆ่าทิ้งหรือไม่ก็ถูกส่งไปที่ลับหูลับไม่ให้มีใคร รู้เด็ดขาดเลยว่าเจ้าสาวเคยมีลูกกับพวกไพร่ แต่ใครไม่รู้ว่า ทารกลูกคนแรกของเอลิซาเบธหลังจากลืมตามายังโลก สุดท้ายแล้วซะตากรรมเป็นเช่นใด

เมื่อเธอโตขึ้น เอลิซาเบธ เริ่มมีอาการป่วยเป็นโรคปวดหัวเรื้อรังจนตลอดชีวิตของเธอ มีหมอหลายคนทำการรักษาแต่ก็ไม่หาย จนกระทั่ง.........

มีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยเด็กที่เธอเกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง จนกัดเนื้อไหล่ของสาวใช้ที่เข้ามาพยาบาล หลุดออกมา สาวใช้ร้องลั่น เอลิซาเบธได้ยินเสียงกรีดร้องของสาวใช้นั่นเอง น่าแปลกที่อาการปวดหัวของเธอกลับหายเป็นปลิดทิ้ง นับแต่นั้นมา เกิดอาการปวดหัว เธอก็จะทรมานสาวใช้เพื่อให้เสียงร้องเหล่านั้นเป็นยาระงับอาการของเธอ

ปี 1575 เมื่อเอลิซาเบธ อายุ 15 ปี เธอก็แต่งงานกับท่านเคานท์ฟีเรนซ์ นาดาสดี้ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องที่อายุมากกว่า 11 ปี (หลังจากแต่งงานแล้ว เอลิซาเบธ ก็ยังคงใช้ชื่อตระกูลเดิม) ทั้งสองย้ายที่อยู่ไปยังปราสาทเซติซ ปราสาทกว้างใหญ่แต่มืดทะมึนดูน่าสยดสยองกลางป่าลึกบนภูเขาคาร์ลปาเชีย ในสโลวาเกีย เพื่อจะอบรมเตรียมรับตำแหน่งเคาน์เตส นายหญิงแห่งอาณาจักรอันไพศาล

ท่านเคานท์ฟีเรนซ์ นาดาสดี้ ไม่ใช่คนดีมากนัก ออกจะจิตวิตถารเช่นเดียวกับอลิซาเบธเสียด้วยซ้ำ สองสามีภรรยามักสนุกตื่นเต้น สนุกสนาน อยู่ด้วยกันเสมอกับการได้ทรมานบ่าวไพร่ ซึ่งเคาน์ฟีเรนซ์ มักจะเล่าให้อลิซาเบธฟังถึงการที่เขาเคยทรมานทรกรรมเชลยชาวเติร์กอย่างโหด เหี้ยม และอลิซาเบธเองก็สนองคิดค้นหาวิธีสยดสยองต่างๆนาๆมาทดลองใช้กับคนของตัวบ้าง

ทั้งสองมีความสุขกับรสนิยมที่ต้องกันอย่างนี้มากล้นจนมีบุตรธิดาด้วยกันถึง 4 คน แต่ฟีเรนซ์มักจะไปออกรบตามที่ต่างๆจนไม่ค่อยอยู่ติดปราสาท ชีวิตสมรสของเอลิซาเบธ จึงไม่หวานชื่นเท่าใดนัก อาการปวดหัวของเธอกำเริบถี่ขึ้นและการทรมานสาวใช้ก็ค่อยๆหนักข้อขึ้นทุกที เป็นต้นว่า การแทงเข็มเข้าที่ปลายนิ้วของสาวใช้ หรือจับสาวใช้มาทาน้ำผึ้งทั่วตัวแล้วโยนลงไปในห้องใต้ดินที่เต็มไปด้วยมด



แต่นี่ก็ยังไม่นับเป็นการเปิดฉากตำนานเลือดของเธอเลยด้วยซ้ำ



เอลิซาเบธ เริ่มหางานอดิเรกใหม่มาทดแทนชีวิตอันน่าเบื่อ ซึ่งก็คือมนต์ดำที่คนรับใช้เป็นผู้แนะนำนั่นเอง เธอมักจะลงไปหมกตัวอยู่ในห้องใต้ดินและประกอบพิธีกรรมประหลาดกับคนรับใช้ บ่อยครั้ง และในไม่ช้าเอลิซาเบธ ก็เริ่มมีชู้ ฟีเรนซ์รับรู้เรื่องนี้แต่ใจกว้างพอที่จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น หากไม่นานนักแม่ของฟีเรนซ์ก็ย้ายมาอยู่ด้วย จึงเป็นการเปิดสงครามเย็นระหว่างแม่สามีลูกสะใภ้ในที่สุด

เอลิซาเบธมักประพฤติตัวเป็นภรรยาผู้เรียบร้อยต่อหน้าสามี แต่พอลับหลัง เธอก็ทำกระทั่งการจับสาวใช้ของแม่สามีมาทรมานจนตาย

จะอย่างไรก็ตาม เอลิซาเบธมีลูก 4 คน จึงทำให้สภาพครอบครัวยังไม่ถึงกับพังทลายลงในทีเดียว ชีวิตฆาตกรของเธอเริ่มต้นขึ้นหลังจากการตายของสามีเสียมากกว่า

ปี 1600 ในฤดูหนาว เอลิซาเบธอายุได้ 40 ปี ฟีเรนซ์สามีคู่ชีวิตซาดิสต์ได้เสียชีวิตลงในขณะอายุ เพียง 51 ปี ทิ้งสมบัติและอำนาจทุกอย่างไว้ในมือของภรรยา และแทบจะในวันเดียวกันนั้นเอง แม่ก็จากโลกนี้ตามลูกชายไปอีกคน มีข่าวลือภายหลังว่าเป็นการวางยาพิษ

ทีนี้ก็ไม่มีใครจะมาขวางทางเอลิซาเบธได้อีก เธอกลายเป็นราชินีในอาณาจักรของเธอ ชีวิตประชาชนก็เหมือนกับลูกไก่ในกำมือ จะบีบจะคลายก็ขึ้นอยู่กับใจเธออย่างเดียว จะมีก็แต่อย่างหนึ่งที่ไม่เป็นไปดังใจคิด เอลิซาเบธมีความภูมิใจในรูปโฉมของตัวเองมาก แต่ตัวเธอก็ไม่สามารถเอาชนะกาลเวลาได้ นับวันร่างกายเหี่ยวยานตามกาลเวลา เธอต้องการความสวย ความสวยที่เป็นอมตะตลอดกาล มีการสั่งให้แม่มดหมอผีที่คุ้นเคยทำยาคืนความสาวมาใช้หลายขนาน แต่ไม่ว่าอันไหนก็ไม่ค่อยเห็นผลเท่าใดนัก



จนกระทั่ง......... เช้าวันหนึ่ง เธอตื่นขึ้นมาล้างหน้าล้างตาแต่งองค์ทรงเครื่อง ทันใดนั้นขณะที่เธอส่องดูเงาตัวเองในกระจกเธอก็ต้องชะงักเพ่งมองแล้วมองอีก นี่ความชราย่างกรายเข้ามาทำร้ายตัวเธอแล้วหรือจริงซินะ.....เธอนึกได้ว่า อายุเธอปาเข้าไปตั้ง 45 แล้วนี่นา เอลิซาเบธใจหายวาบถึงจะไม่สวยแต่เธอก็ไม่อยากแก่และกลัวอย่างที่สุด เธอรู้สึกเหมือนความแก่เฒ่านั้นมันมีตัวตน เอาปากครีมมาหนีบดึงถึ้งเนื้อที่เต่งตึงผุดผ่องของเธอทีละชิ้นๆ เมื่อเธอหงุดหงิด ขัดข้องก็ยิ่งต้องหาเรื่องระบายอารมณ์และความบันเทิงใดเล่า จะเท่ากับการลากคนมาทรมาน

ขณะที่สาวใช้กำลังสางผมให้กับเอลิซาเบธ คงเพราะเกร็งไปหน่อยจึงออกแรงมากไป ดึงผมหลุดติดหวีมาหลายเส้น เอลิซาเบธระเบิดอารมณ์ทันที เธอใช้เชิงเทียนที่อยู่ใกล้มือทุบเด็กสาวอย่างไม่ยั้งมือ แล้วลงมือหวดแซ่หนังผูกปมโลหะใส่เนื้อหนังมังสาของทาสชะตาขาดนั้นอย่างเมา มัน ความรุนแรงของเธอทำเอาแซ้ตวัดเกี่ยวหนังของผู้เคราะห์ร้ายหลุดกระเต็นออกมา เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หยาดเลือดสาดกระเซ็นเป็นฝอยมาติดตามตัวของเธอ การโบยหฤโหดจบลงพร้อมๆ กับชีวิตของทาสที่เละเป็นหมูบะช่อแต่ทว่าเรื่องที่ร้ายที่สุดกำลังจะเกิด ขึ้นเคาน์เตส หอบเหนื่อยเกือบหมดแรงแต่ก็สนุกสมใจไม่น้อยเลย

ความอัจฉริยะบังเกิดขึ้นอีกแล้ว เอลิซาเบธตาวาวโรจน์เปี่ยมสุขขึ้นมาทันใด คราวนี้เธอค้นพบสูตรใหม่แห่งยาอายุวัฒนะ เธอนั่งลงเห็นและเห็นหยาดเลือดทาสที่กระเด็นมา จึงให้สาวใช้ต้นห้องเอาผ้าชุบน้ำมาเช็ดหน้า และแล้วความโหดเหี้ยมแปรเปลี่ยนเป็นความพิศวง เมื่อเคาน์เตสพบว่าใต้รอยเลือดนั้นผิวของเธอกลับนุ่มนวลผุดผ่องเป็นยองใยราวสาวแรกรุ่นอ่อนนุ่ม ละมุนละไม ผิดกับผิวเนื้อตรงอื่นอย่างเหลือเชื่อ เธอคิดได้ว่าเลือดสด ๆ มีคุณสมบัติพิเศษที่จะบันดาลให้เธอเป็นสาวอมตะได้ตลอดกาล เลือดนั้นจะต้องเป็นของสาวแรกรุ่นซินะ มันถึงจะได้ฤทธิ์ของน้ำแห้งชีวิตอย่างเต็มที่

และด้วยเหตุนี้เองโศกนาฏกรรมการฆ่าสังหารเด็กสาวกว่า 600 คนเพื่อประทังความงามของเอลิซาเบธ บาโธรี่จึงเริ่มต้นขึ้น

เหยื่อของเอริซาเบทส่วนใหญ่จะเป็นคนเลือกเหยื่อด้วยตนเองเธอต้องการเลือดของ เด็กสาวบริสุทธิ์ โดยเฉพาะสาวแรกรุ่นที่แสนสวยมีอกอวบอิ่ม

เธอสั่งให้เชือดและชำแหละเพื่อรีดเลือดทุกหยดออกมาให้ได้มากที่สุด เด็กหญิงคนแล้วคนเล่าต้องตายอย่างทุกทรมาน บางคนถูกกรีดร่างจนเป็นริ้วลึกถึงกระดูก ตัดเส้นเลือดทุกเส้นในร่างที่งดงาม หลายคนถูกแหวะอก ผ่าท้องกรีดหัวใจเลือดพุ่งไหลเป็นสายน้ำ แล้วให้เธออาบร่างนั้นอย่างมีความสุข เมื่อลูกทาสของคนรับใช้และทาสในที่ดินตายหมดแล้ว เอริซาเบทก็ให้ลูกน้องบริวารไปล่อลวงหลอกเอาสาวชาวบ้านตามชนบทเข้ามา

เอลิซาเบทเริ่มทำการรวบรวมเด็กสาวจากที่ต่างๆในดินแดนของตน ชาวบ้านที่ยากจนต่างก็ยินดีที่จะส่งลูกสาวออกมาทำงานในปราสาทเพียงเพื่อแลก กับเสื้อผ้าไม่กี่ชุด เหล่าเด็กสาวพากันลอดประตูปราสาทเข้ามาด้วยใบหน้าร่าเริงราวกับจะไปปิกนิค แต่ไม่มีใครที่รอดกลับมาได้ พวกเธอถูกคั้นเลือดออกมาจนหยดสุดท้ายแล้วถูกฝังไว้ในสวนหลังปราสาทโดยที่พ่อ แม่พี่น้องก็ไม่มีโอกาสจะทราบข่าวถึงวิธีการทรมานของเอลิซาเบธ ยิ่งยกระดับเสียยิ่งกว่าเก่า มีทั้งการใช้เหล็กร้อนเผาลำคอ ใช้เครื่องทรมานบีบหน้าอก บางครั้งเธอก็ใช้มือทั้งสองของตัวเองล้วงเข้าไปในปากและฉีกร่างของเหยื่อออก เป็นสองซีก เด็กสาวบางคนที่พยายามจะหนีก็ถูกตัดเท้าทิ้ง

มีบันทึกกล่าวถึงงานฉลองที่เอลิซาเบธ จัดขึ้น เธอได้รวบรวมเด็กสาวหน้าตาดีจำนวน 60 คนมาจัดงานเลี้ยง คนแคระพากันเต้นรำ แม่มดก็พ่นไฟ เมื่องานเลี้ยงดำเนินมาถึงจุดสูงสุดนั่นเอง ประตูถูกปิดตาย และทหารก็กรูกันเข้ามา เด็กสาวที่พากันหนีลนลานบ้างก็ถูกข่มขืนแล้วแทงด้วยมีดที่กลางอก บ้างก็ถูกตัดหัว บ้างก็ถูกตัดแขนตัดขาและเสียเลือดมากจนสิ้นลม

ศพและชิ้นส่วนต่างๆถูกรวบรวมมากรองเลือดใส่อ่าง และเอลิซาเบธก็เปลื้องผ้าลงแช่ในอ่างเลือด แต่การรอให้เลือดเต็มอ่างก็ยังไม่ทันใจเธออยู่ดี เอลิซาเบธจึงทดลองวิธีที่เร็วกว่าด้วยการปาดคอเด็กสาวให้เลือดกระฉูดออกมาใส่ตนเองเหมือนฝักบัวเลือด แต่เนื่องจากเหยื่อกรีดร้องน่ารำคาญ เด็กสาวคนที่สองจึงถูกเย็บปากเพื่อรักษาสุขภาพหูของเอลิซาเบธ

อีกสิ่งหนึ่งที่เอลิซาเบธทิ้งไว้ในประวัติศาสตร์โลกก็คือ เครื่องมือทรมานที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่ง Iron Maiden นั่นเอง ช่างทำนาฬิกาถูกเรียกตัวมาจากเยอรมันเพื่อการนี้โดยเฉพาะ มีการบรรยายเกี่ยวกับสุภาพสตรีเหล็กตัวแรกสุดไว้ดังนี้

"ตุ๊กตาเหล็กนี้มีรูปร่างเป็นร่างเปลือยทาสีเนื้อ ส่วนใบหน้ามีการแต้มเครื่องสำอาง เมื่อกลไกขยับปาก ก็จะปรากฏรอยยิ้มอันเลื่อนลอยและเหี้ยมโหดขึ้นบนใบหน้า ที่อกมีพลอยประดับอยู่เป็นปุ่ม เมื่อกดปุ่ม ตุ๊กตาก็จะค่อยๆยกแขนขึ้น จากนั้นแขนก็จะเคลื่อนมาเป็นกอดอกซึ่งคนที่อยู่ในระยะรัศมีก็จะถูกแขนของ ตุ๊กตากอดไว้ พร้อมกันนั้น ส่วนตัวด้านหน้าก็จะเปิดออกเป็นบานประตู ภายในเป็นช่องกลวงและด้านหลังบานประตูมีเข็มแหลมยาวงอกอยู่ 5 เล่ม ผู้ที่ถูกตุ๊กตากอดไว้จะถูกขังอยู่ภายในตัวตุ๊กตาและถูกเข็มเหล่านี้แทง คั้นเลือดออกมาจนเสียชีวิต"

อย่างไรก็ตาม เครื่องทรมานดังกล่าวนี้ไม่ได้ถูกใช้งานจริงมากเท่าที่เข้าใจกัน เนื่องจากเข็มพากันทื่อเสียหมดเพราะเป็นสนิมจากเลือด เอลิซาเบธ จึงออกคำสั่งใหม่ให้สร้างกรงเหล็กขนาดใหญ่ซึ่งมีเข็มแหลมอยู่ภายใน กรงดังกล่าวจะถูกเฟืองโซ่ยกขึ้นสูงจากพื้นโดยมีเด็กสาวอยู่ข้างใน และเมื่อเขย่ากรง เลือดก็จะกระจายลงมาสู่เอลิซาเบธ ที่อยู่เบื้องล่างราวกับเป็นฝนเลือด

จนเวลาผ่านไปเกือบห้าปี ลูกสาวชาวไร่ชาวนาหายสาบสูญไปจนหมดสิ้น ความผิดพลาดเอลิซาเบธเกิดขึ้นเมื่อเธอไปเที่ยวที่เมืองวีน เหตุการณ์สยองจึงเริ่มเกิดต่อสาธารณชนรับรู้ครั้งแรก เมื่อมีผู้ได้ยินเสียงผู้หญิงร้องดังออกจากห้องพักของเอลิซาเบธ

เอลิซาเบทหันไปหาพวกธิดาของพวกผู้ดีมีตระกูล บางรายเป็นลูกของเพื่อนๆผู้สูงศักดิ์ของเธอด้วยซ้ำ ถึงตอนนี้บ่าวไพร่หมดปัญญาจะเอาศพไปทิ้งไม่ให้ใครเห็นเพราะมีเหยื่อมากมาย ก่ายกองจนต้องโยนออกมาในตอนกลางคืนเพื่อให้ฝูงหมาป่ารุมกินเป็นความเอร็ด อร่อยยามดึก แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อฝูงหมาป่าก็กินไม่หมด คราวนี้ละพวกญาติๆที่มาตามหาสาวน้อยของพวกเขาก็ได้เห็นภาพอันสยองขวัญ ตอนแรกมีชาวบ้านมาพบกองซากศพที่ซีดเผือกไม่มีเลือดอยู่เหลือเลยแม้แต่หยด เดียว เลยเกิดล่ำลือไปว่าในป่านี้มีผีดิบดูดเลือดอยู่

คนเลี้ยงสัตว์ของเอลิซาเบธจึงรีบไปตรวจดูและพบว่าเสียงนั้นเป็นเสียงของนัก ร้องสาวของสมาคมแห่งหนึ่งในเมืองนั้น ภาพที่เห็น หญิงสาวถูกตัดมือ ตัดเท้า และเสียชีวิต ตายตรงหน้าเอลิซาเบธ เธอบอกกับคนเลี้ยงสัตว์ของเธอว่า นักร้องผู้นี้ทำความผิด จึงมีโทษต้องตาย และนี่คือความผิดพลาดของเอลิซาเบธเพราะคนเลี้ยงสัตว์คนนี้ก็ปากเปราะเสีย ด้วยสิ

ว่าแล้วกิตติศัพท์นี้ย่อมต้องกลายเป็นที่เลื่องลือในไม่ช้า ประชาชนก็เริ่มร้องเรียนเรื่องไปยังราชสำนักถึงเรื่องคนหาย และมีญาติของเด็กหลายรายยืนยันว่าเด็กสาวที่ตายกันเป็นกองๆใกล้ปราสาทของเอ ลิซาเบธ อยู่นั้นล้วนแล้วแต่ถูกล่อลวงให้มาที่ปราสาทเธอ

และแล้วพระเจ้าแมทเทียสที่ 2 ก็ทรงเข้ามาจัดการกับคดีนี้ด้วยพระองค์เอง .....เดือนธันวาคมปี 1610 เมื่อมาร์ควิสเธอร์โซซึ่งเป็นญาติของเอลิซาเบธ ไปยังห้องใต้ดินของปราสาทเซติช เขาก็ต้องผงะกับสิ่งที่ตัวเองพบ เครื่องทรมานจำนวนนับไม่ถ้วน รอยเลือดที่ชโลมอยู่แทบทุกที่และศพที่กองเป็นภูเขา บางศพถูกตัดทรวงอก บางศพถูกเฉือนเนื้อ บางศพก็ศีรษะถูกทุบจนแหลก และบางศพก็เต็มไปรู กลิ่นเลือดตลบอบอวลไปทั่วทั้งห้อง

มีเด็กสาวบางคนถูกช่วยออกมาได้ แต่ก็เกือบไม่รอดเหมือนกันเพราะพวกเขาพบเธอในขณะที่นอนหายใจรวยรินยังไม่ เสียชีวิต เธอเล่าว่าเธอถูกจับมาพร้อมเพื่อนสาวอีกเป็นจำนวนมากโดยมีสาวใช้สองคนของเอ ลิซาเบธคือ นางดอลค์และนางรีโอน่า เป็นคนสังหารนำเลือดมาให้ผู้เป็นนายชโลมผิว เพราะเชื่อว่าเลือดคือยาอายุวัฒนะ แต่ก็ยากที่บอกว่าพวกเธอปลอดภัยดี เพราะหลายคนถูกบังคับให้กินเนื้อจากศพของเด็กสาวคนอื่น จนบางคนกลายเป็นคนวิกลจริตด้วยซ้ำ เอลิซาเบธ บาโธรี่ ถูกสอบสวนในปี ค.ศ. 1610

อย่าว่าแต่พวกชาวไร่ชาวนาเลย บรรดาผู้ดีมีตระกูลทั้งหลายต่างอาฆาตแค้น และญาติสนิทของเธอเองก็โกรธเคืองอย่างหนักว่าเธอซาดิสต์ขนาดนี้ วงส์ตระกลูบาโธรี่เสื่อมเสียกันหมด ไม่มีอำนาจใดๆที่จะช่วยให้นางฟ้าหรือผีห่าซาตานตนนี้พ้นผิดไปได้แล้ว ลูกมือของเคาน์เตสเปิดปากสารภาพเล่าวิธีการ และบอกถึงรายนามเหยื่อเท่าที่พวกเขาจำได้เฉพาะที่จำได้ก็ปาเข้าไปตั้ง 160 ศพ เดือนมกราคมปี 1611 การตัดสินคดีของเอลิซาเบธถูกจัดขึ้นที่พิซเซ่ เอลิซาเบธได้รับอนุญาตให้ไม่ต้องมาขึ้นศาลด้วยตัวเอง และเนื่องจากฎีกาของตระกูลบาโธรี่ เธอก็รอดพ้นจากโทษประหารในขณะที่ผู้มีส่วนร่วมในการสังหารทุกคนต่างก็ถูกตัดสินโทษเผาทั้งเป็น โดยผู้มีส่วนร่วมเป็นสาวใช้สองคนที่ทำหน้าที่ค้นหาและจับผู้หญิงสาวเคราะห์ร้ายมาสังเวยแก่เธอถึง 605 คน

หลังการไต่สวนสมุนเอกของเคาน์เตสถูกลงโทษโดยการเผาทั้งเป็นในที่สาธารณะเธอ ถูกลากกลับไปที่ปราสาทเซติซ ของเธอเอง ที่นั้นเธอถูกรุนเข้าไปอยู่ในห้องเล็กๆ ห้องหนึ่งแล้ว เจ้าหน้าที่ของบ้านเมืองก็ก่ออิฐปิดหน้าต่างและประตูทั้งหมด เหลือไว้เพียงชองเล็กนิดเดียวที่พอจะสอดอาหารและน้ำส่งให้เธอได้ ลองโดนขังไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวันขนาดนี้ เป็นคนอื่นล่ะตายไปนานแล้วแต่บาปหนาของเธอทำให้เธอยังมีชีวิตอยู่รู้รสความทรมานที่แสนสาหัสนานถึง 4 ปี

การตัดสินโทษของเอลิซาเบธ ถูกโอนให้เป็นอำนาจของตระกูลบาโธรี่ และโดยผลการประชุมของตระกูล เอลิซาเบธ ก็ถูกตัดสินให้ถูกจองจำอยู่ในปราสาทเซติชไปจนตลอดชีวิตในห้องขังอันมืดมิด ซึ่งประตูถูกโบกปูนปิดตายตลอดชิวิต ไม่ให้หลุดมาทำอันตรายใครได้อีก

21 สิงหาคม 1614 ก็เป็นวันที่ปราศจากสัญญาณชีวิตจาก เอลิซาเบธ บาโธรี่ ช่องเล็กๆ เพียงช่องเดียวก็ได้ถูกอิฐก่อปิดสนิทลง แต่มีบางตำนานกล่าวว่าเธอหนีออกไปได้และกลายเป็นผีร้ายอยู่ในป่าของฮังการี่ ทุกวันนี้ ปราสาทเซติซ บนภูเขาคาร์ลปาเชีย ในสโลวาเกีย ที่ซึ่งในอดีตเป็นสถานที่สังหารเหยื่อของเอลิซาเบธ ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ที่นั่น แม้จะเหลือแต่ซากปรักหักพังแล้ว แต่มันก็ยังน่าสะพรึงกลัวอยู่เช่นเดิม
ความคิดเห็นที่ 7 : 125.26.137.152 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 05/12/2011 04:20:00 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
สมเด็จพระราชินีโจแอนนาแห่งคาสตีล หรืออีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระราชินีฮวนน่า (ฮวนน่าผู้บ้าคลั่ง)(สเปน:Juana I de Castilla) (ประสูติ: 6 พฤษจิกายน พ.ศ. 2022 ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งคาสตีล: วันที่ 26 พฤษจิกายน พ.ศ. 2047 - 25 กันยายน พ.ศ. 2049 ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอารากอน: วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2059 - 12 เมษายน พ.ศ. 2098) ทรงเป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานที่ 2 แห่งคาสตีล และ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล เมื่อทรงมีพระชนม์มายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟิลลิปแห่งออสเตรีย พระราชโอรสใน สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ พระนางมารี เดอ บูร์กอญ การอภิเษกสมรสเป็นไปเพื่อการสร้างความมั่นคงทางการเมืองของสเปน สานความสัมพันธ์กับราชวงศ์ต่าง ๆ ในยุโรปเช่นเดียวกันกับการอภิเษกสมรสของพระโอรสธิดาองค์อื่น ๆ

ต้นเหตุและเรื่องราวแห่งความวิปลาส หลังจากการอภิเษกสมรส เจ้าชายฟิลิปพระสวามีของพระนางทรงมีพระนิสัยเจ้าชู้มาก ไม่ค่อยสนใจพระนาง มักทำองค์ให้เจ้าหญิงฮวนน่าทรงหึงพระองค์และทะเลาะกันบ่อยครั้งด้วยความรักพระสวามีอย่างมากจึงคอยติดตามตลอดเวลาไม่ว่าพระสวามีจะเสด็จที่ใด ต่อมาเมื่อเจ้าหญิงอิซาเบลล่า และเจ้าชายจอนห์พระเชษฐภคินีและพระเชษฐาที่ทรงสนิทสนมสิ้นพระชนม์ลงในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ทรงเสียพระทัยเป็นอย่างมาก ทรงมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปเป็นทรงเก็บพระองค์มากขึ้น ในปีพ.ศ. 2047 สมเด็จพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล สิ้นพระชนม์ลง เจ้าหญิงฮวนน่าจึงทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระมารดาเป็นสมเด็จพระราชินีโจแอนนาแห่งคาสตีล ในขณะที่พระบิดา พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 อารากอนยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่

การสวรรคตของพระเจ้าเฟลีเป ภายหลังพระเจ้าฟิลิปที่1แห่งคาสตีล(ฟิลลิปรูปหล่อ)ทรงสิ้นพระชนม์อย่างกระทันหันยังความโศกเศร้าพระทัยแก่พระนางฮวนน่าเป็นล้นพ้น(มีการสันนิฐานว่าอาจทรงต้องยาพิษ โดยพระเจ้าเฟอร์ดินานที่ 2 มีส่วนรู้เห็นด้วย)ทรงกันแสงและกรีดร้องตลอดเวลามิเป็นทรงงานราชการบริหารบ้านเมืองใดๆอีก ต่อมาจึงเริ่มมีกระแสข่าวลือไปทั่วว่าพระราชินีทรงอยู่กินกับพระศพพระสวามี โดยทรงกอดและจุมพิตพระศพทุกๆคืนแต่ความจริงคือพระนางทรงได้รับข่างลือว่า พระศพถูกขโมยไปจึงทรงเปิดดูเท่านั้น เมื่อมีการเคลื่อนย้ายพระศพไปฝังยังเมืองกรานาดาทางตอนใต้ของสเปน พระนางมิให้หญิงใดเข้าใกล้พระศพพระสวามี ทั้งนางกำนัล นางรับใช้ แม้แต่แม่ชีด้วยทรงหึงหวงพระสวามีมาก ตลอดเวลาที่เดินทางทรงสั่งให้เปิดดูพระศพทุกวัน ถึงกับทรงกอดลูบพระศพ จนเป็นที่น่าสังเวศแก่ข้าราชบริภารทั้งหลายที่เห็น

การถูกขัง พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2พระบิดาจึงได้ดำเนินการเสนอต่อสภาประกาศให้ สมเด็จพระราชินีฮวนน่า เป็นบุคคลไร้ความสามารถ จากการที่ทรงเสียพระสติและมีคำสั่งกักบริเวณพระราชินีผู้เสียสติไว้ที่ปราสาททอเดซียัส แล้วรวบอำนาจในการปกครองมาไว้ที่พระองค์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทน

เรื่องพัวพัน กษัตริย์และพระราชินีในราชวงศ์ตรัสตามาราเองก็มีหลายพระองค์ที่ประสบชะตากรรมเช่นนี้ โดยมีเรื่องเล่าอ้างถึงเหตุที่ต้องเป็นไปเช่นนี้จากคำสาปในช่วงที่มีการรวมชาติสเปนในปี พ.ศ. 2022โดยการสมรสกันระหว่าง พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอนและสมเด็จพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล เป็นการรวมอาณาจักรใหญ่ 2 อณาจักรบนคาบสมุทรไอบีเรียเข้าด้วยกันสร้างความแข็งแกร่งแก่อาณาจักรคริสต์เพื่อต่อต้านมุสลิม ชาวยิว ซึ่งภายหลังเหลือที่มั่นสุดท้ายอยู่ที่กรานาดาในขณะที่อาณาจักรคริสต์แผ่ขยายอำนาจรุกคืบลง ไปยึดพื้นที่คืนมาจากพวกมัวร์ ในที่สุดก็สามารถยึดกรานาดาได้ในปีพ.ศ. 2035แค่ช่วงที่เข้ายึด(กรานาดาแตก)ก็ปรากฏว่ามีการสังหารชาวยิวและมุสลิมจำนวนมากที่หนีออกจากกรานาดาไม่ทัน มีการออกพระราชกฤษฎีกาอารัมบา(Alhambra Decree; Decreto de la Alhambra) ให้ชาวยิวเปลี่ยนศาสนาเป็นคริสต์โรมันคาทอลิก ไม่ก็ต้องออกไปจากสเปน ซึ่งต่อมาพวกมุสลิมก็ต้องทำตามด้วยเมื่อมีผู้ไม่ปฏิบัติตามจึงเกิดการประหารชาวยิวและมุสลิมเป็นจำนวนมากในช่วงนั้น มีเรื่องเล่าว่า ในการประหารชีวิตชาวยิวที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา ซึ่งครานั้นกษัตริย์และพระราชินีทรงเสด็จทอดพระเนตรพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชบริภาร เมื่อจุดไฟเผาชาวยิวทั้งเป็น มีชาวยิวที่โกรธแค้นผู้หนึ่งตะโกนสาปแช่งออกมาจากกองไฟขณะถูกเผาว่า ขอให้พระราชวงศ์ของพระองค์วิบัติในที่สุด ว่ากันว่าพระเจ้าเฟอร์ดินานที่2ถึงกับตกพระทัย ตะลึงถึงกับประชวรพระวาโยตกจากพระเก้าอี้ และนี่คงเป็นต้นเหตุคำสาปวิปลาสแห่งราชวงศ์สเปนเพราะหลังจากนั้นไม่กี่ปีเจ้าชายจอห์น(อินฟันเต้ฮวน)และเจ้าหญิงอิซาเบลลาผู้เป็นพระมเหสีในพระเจ้าเอมมานูเอลแห่งโปรตุเกส พระเชษฐาและพระเชฐภคินีของเจ้าหญิงฮวนน่าก็สิ้นพระชนม์ในเวลาอันไล่เลี่ยกันและไม่กี่ปีต่อมา เจ้าชายมิเกลพระโอรสของเจ้าหญิงอิซาเบลลาก็สิ้นพระชนม์สร้างความปวดร้าวใจแก่พระนางอิซาเบลลา พระมารดาเป็นอย่างมาก

กลับเข้าสู่เรื่อง ราชินีฮวนน่าเท่านั้นที่มีการกล่าวว่าทรงเสียสติ แม้แต่พระมารดา พระราชินีอิซาเบลล่าเองก็ทรงมีพระอาการเช่นนี้อ่อนๆเหมือนกัน และเชื้อสายราชวงศ์นี้ส่วนมากก็จะมีพระชนม์ไม่ยืนยาวและไม่ค่อยสมประกอบแม้แต่สมเด็จพระอัยยิกาของเจ้าหญิงฮวนน่าเองก็ทรงมีพระสติวิปลาสเช่นกัน
ความคิดเห็นที่ 6 : 125.26.137.152 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 05/12/2011 04:26:10 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
ซาร์อีวานที่ 4 / อีวานผู้โหดร้าย

พระเจ้าซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย หรือ "อีวานผู้โหดร้าย" เพราะพระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่าทรงรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าบาซิลที่ 3 แห่งไบแซนไทน์ และเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าอีวานที่ 3 พระองค์ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าผู้ครองนครมัสโกโวท์ที่ได้ตั้งองค์เป็นตำแหน่งซาร์ อย่างเป็นทางการ

ซาร์อีวานที่ 4 ครองราชย์สมบัติตั้งแต่พระชนม์ได้ 3 ชันษา โดยที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์อยู่ พระนางเยเลนา กลินสกายาพระราชมารดาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ

อย่างไรก็ตามเมื่อซาร์อีวานที่ 4 ได้ทรงทำพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2090 และในปีเดียวกันนี้ได้ทรงอภิเษกกับอะนัสตาเซียแห่งสกุลราชวงศ์โรมานอฟ เป็นชื่อสกุลขุนนางที่สืบมาจากตระกูลเยอรมันชั้นสูงตระกูลหนึ่ง ซึ่งได้อพยพมาจากเยอรมนี ไปยังกรุงมอสโกในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 14 และได้เปลี่ยนสกุลใหม่ว่าสกุลคอชกิน สกุลนี้ได้รับราชการในพระราชสำนักของราชวงศ์รูริคตลอดมาเป็นเวลาร่วม 200 ปี ครั้งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 บุรุษในตระกูลคอชกินผู้หนึ่งชื่อว่า โรมานอฟ ยูริวิช เกิดความรู้สึกว่านาม "คอชกิน" นั้นยังไม่มีสำเนียงเป็นภาษารัสเซียพอ เขาจึงได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่ โดยตั้งชื่อตามชื่อแรกของตัวคือ "โรมานอฟ"

ซาร์อีวานที่ 4 ได้ทรงเลือก อนาสตาเซียแห่งรัสเซียเป็นคู่อภิเษก พระองค์ทรงหลงรักเจ้าสาวของพระองค์อย่างดื่มด่ำมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อพระนางอนาสตาเซียสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2103 ทำให้พระราชสวามีทรงโศกเศร้ามากถึงกับเสียสติไปและคอยทรงระแวงผู้คนตลอดเวลา โดยคิดว่าเขาเหล่านั้นได้วางยาพิษพระมเหสีสุดที่รักความแค้นเคืองเหล่านี้เลยทำให้พระองค์ทรงมีสติวิปลาสไป เวลาที่ซาร์อีวานที่ 4 จะเสด็จพระราชดำเนินไปไหน พระองค์จะทรงถือพระแสงหอกไปด้วยเสมอและเมื่อข้าราชบริพารคนใดทำสิ่งใดให้พิโรธ พระองค์ก็จะทรงใช้พระแสงนั้นทิ่มแทงผู้ที่เคราะห์ร้ายนั้นเสีย

ซาร์อีวานที่ 4 ทรงอภิเษกสมรสอีก 6 ครั้ง แต่ก็ไม่ทำให้พระองค์มีอาการดีขึ้นในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ อีวานทรงประสบกับการหลอกหลอนจากกรรมต่าง ๆ ที่ได้ทรงกระทำไว้ในอดีตจนพระเกศาร่วงหมดและทรงร้องครวญครางอยู่ทุกคืน กล่าวกันว่า พระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2127 ด้วยพระชนม์เพียง 54 ชันษา
ความคิดเห็นที่ 5 : 125.26.137.152 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 05/12/2011 04:34:23 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
วลาดที่ 3 นักเสียบ

วลาดที่ 3 เจ้าชายแห่งแคว้นวาลาเคีย (ค.ศ. 1431-1476) หรือที่รู้จักกันดีในสมญา นักเสียบ (อังกฤษ: The Impaler; โรมาเนีย: Vlad Ţepeș) หรือ แดรกคิวล่า ทรงปกครองแคว้นวาลาเคีย 3 สมัย ส่วนใหญ่ตั้งแต่ พ.ศ. 1999 ถึง พ.ศ. 2005

ในทางประวัติศาสตร์แล้ว วลาดที่ 3 ทรงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีถึงการต่อต้านจักรวรรดิออตโตมันและการขยายตัวในทวีปยุโรป[3] และการลงโทษอย่างโหดร้ายต่อศัตรูของพระองค์[4] พระองค์ยังทรงเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นแรงบันดาลใจของชื่อแวมไพร์ในนวนิยายเรื่อง แดรกคิวล่า ของบราม สโตกเกอร์

วลาด เซเปช มีชื่ออื่น คือ วลาดที่ 3 จอมเสียบ หรือที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งคือ วลาดิสลาฟ ดรากูลา เป็นลูกชายของ วลาด ที่ 2 ดรากูล (ซึ่งคำว่าดรากูล DRACUL มาจากคำว่าดราก้อน DRAGON) ดรากูล นั้นได้รับ ตรากล้าหาญ the Order of the Dragon จาก พระจักรพรรดิซิจิสมุนด์

ในวัยเยาว์ พระองค์และพระอนุชา ราดู ผู้รูปงาม (Radu Cel Frumos) ถูกส่งไปเป็นตัวประกันภายใต้จักรวรรดิออตโตมานในฐานะประเทศราช พระบิดาของพระองค์ วลาดที่ 2 และพระเชษฐา เมียร์ชาที่ 2 (Mircea II) ถูกพวกขุนนางภายใต้สังกัดฮังการีสังหารในปี ค.ศ. 1447 เพื่อเป็นการกำจัดอิทธิพลของฮังการีในวาลาเคีย จักรวรรดิออตโตมานจึงส่งกองทัพมายึดวาลาเคีย และตั้ง วลาดที่ 3 ในวัย 17 ปี เป็นเจ้าชายผู้ครองรัฐภายใต้จักรวรรดิออตโตมาน แต่วลาดที่ 3 ก็ต้องสูญเสียบัลลังค์ เมื่อ ฮุนยาดี ยานอช (Hunyadi János) ผู้สำเร็จราชการของฮังการี นำทัพเข้าพิชิตวาลาเคีย วลาดจึงต้องหนีไปอยู่ที่มอลดาเวียกับ บ็อกดานที่ 2 (Bogdan II) เจ้าชายแห่งมอลดาเวียซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง ภายหลัง บ็อกดาน ถูกลอบสังหาร จึงหนีไปอยู่ฮังการี ซึ่งฮุนยาดีประทับใจในความรู้ความสามารถของวลาด และความเกลียดชังของวลาดที่มีต่อสุลต่านพระองค์ใหม่ สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ฮุนยาดีจึงตั้งเป็นที่ปรึกษา หลังจากฮุนยาดีถึงแก่อสัญกรรม วลาดได้นำกำลังเข้ายึดวาลาเคียจาก วลาดิสลาฟที่ 2 (Vladislav II) และขึ้นครองบัลลังค์

ค.ศ. 1459 สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ได้ส่งทูตมาเรียกร้องบรรณาการจากวาลาเคีย วลาดปฏิเสธที่จะจ่ายบรรณาการ และสังหารทูตโดยการตอกตะปูกับผ้าโพกหัวให้ติดกับศีรษะ สุลต่านทรงพิโรธ และส่งทหารเข้าโจมตีวาลาเคียในปี ค.ศ. 1462 ซึ่งวลาดได้รบแบบกองโจรและประสบความสำเร็จหลายครั้ง แต่ภายหลังวลาดต้องแพ้เพราะมีขุนนางไส้ศึก ออตโตมานเข้าพิชิตวาลาเคีย และตั้ง ราดู ผู้รูปงาม (Radu Cel Frumos) พระอนุชาของวลาด ซึ่งเป็น ชาวมุสลิมและสวามิภักดิ์ออตโตมาน ขึ้นบัลลังค์ วลาดได้หนีไปหาพันธมิตรของพระองค์คือฮังการี แต่กลับถูกจับโดย พระเจ้ามะติอัช (Corvin Mátyás ภาษาอังกฤษเรียก Matthias Corvinus) ซึ่งเป็นบุตรชายของ ฮุนยาดี ยานอช และเป็นกษัตริย์แห่งฮังการี เนื่องจากพระสันตปาปาได้สนับสนุนทางเศรษฐกิจแก่ฮังการีเพื่อใช้ในการปราบออตโตมาน แต่พระเจ้ามะติอัชทรงใช้ในการอื่น และในขณะนี้ออตโตมานกำลังตั้งทัพอยู่บริเวณชายแดนของฮังการี พระองค์จึงต้องหาแพะมารับผิดแทน โดยทรงทำจดหมายปลอมแปลงว่า วลาดสวามิภักดิ์ต่อสุลต่านเมห์เหม็ด และกล่าวร้ายวลาดว่าเป็นผู้นำที่โหดเหี้ยม เพื่อแสดงให้เห็นว่า เหตุใดพระองค์จึงไม่ช่วยเหลือวลาดในการทำสงคราม

วลาดถูกปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1474 และในปี ค.ศ. 1476 ราชอาณาจักรฮังการีได้ตัดสินใจที่จะสนับสนุนวลาดให้กลับไปยึดวาลาเคียอีกครั้ง วลาดสามารถยึดบัลลังค์จาก บาซารับ ลาโยตู (Basarab Laiotă) ได้ และปกครองบัลลังค์วาลาเคียเป็นสมัยที่ 3 ซึ่งพระองค์ปกครองได้ไม่นาน ก็ได้ถูกสังหารลงในการรบกับออตโตมาน

เนื่องจาก วลาด เซเปช เป็นนักรบที่ชอบวิธีการทรมานเชลยที่จับมาได้ด้วยวิธีที่โหดเหี้ยม โดยจะชอบการทรมานด้วยวิธีการ เอาไม้แหลมมาเสียบทะลุตัวเชลยที่จับมาได้ โดยจะเสียบประจาน ไว้ตามทุ่งหญ้ากว้าง ด้วยวิธีเสียบตั้งแต่ทวารหนัก จนถึงปาก จนเชลยเสียชีวิตในที่สุด ทำให้ วลาด เซเปช กลายเป็นแรงบันดาลใจของ บราม สโตกเกอร์ (Bram Stoker) ในการเขียนนวนิยายเรื่อง แดร็กคิวล่า Dracula (Drăculea) หรือ เคาท์แดร็กคิวล่า Count Dracula
ความคิดเห็นที่ 4 : 125.26.137.152 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 05/12/2011 04:45:30 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ (แมรี สจ็วร์ต หรือเป็นที่รู้จักกันดีในพระราชสมัญญา ราชินีแมรี แห่งสกอตแลนด์) ประสูติ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1542 สวรรคต (ถูกสำเร็จโทษ) 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1587 พระองค์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระมหากษัตรีย์แห่งสกอตแลนด์นับตั้งแต่มีพระชนมายุได้เพียง 6 วัน คือตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1542 จนถึง 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1587 นอกจากนี้พระองค์ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีอัครมเหสี ประทับร่วมพระราชบัลลังก์กับพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส แต่สาเหตุที่ทำให้พระองค์เป็นที่รู้จักมากที่สุดก็คือพระราชประวัติอันน่าเศร้าของพระองค์

พระราชสมภพ และสืบราชบัลลังก์
เจ้าฟ้าหญิงแมรี ประสูติเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์ และสมเด็จพระราชินีแมรี เดอ กิวส์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1542 ที่พระราชวังลินลิธกอว์ และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1587 ณ ที่ลานประหาร ในท้องพระโรงของป้อมปราการฟอเธอริ่งเฮย์
ความคิดเห็นที่ 3 : 125.26.137.152 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 05/12/2011 04:57:49 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
เนบูคัดเนสซาร์ กษัตริย์แห่งบาบิโลน
ในแผนจารึกของเนบูคัดเนสซาร์ ได้กล่าวว่า พระองค์เป็นบุตรของ เนโบโพลาสซาร์ (Nabopolassar) พระองค์เป็นผู้ปลดปล่อยบาบิโลนออกจากการเป็นเมืองประเทศราชของอัสซีเรีย และทำลายเมืองเนหะเวห์ พระองค์เป็นผู้ยิ่งใหญ่และทรงอำนาจมากกว่ากษัตริย์องค์อื่นใดในเมืองบาบิโลน พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับราชธิดาของ ซียาซาเรส (Cyaxares) ซึ่งส่งผลให้มีเดียและบาบิโลนเป็นทองแผ่นเดียวกัน

กษัตริยนีโคที่สอง (Necho II) ของอียิปต์ได้ทรงรับชัยชนะเหนืออัสซีเรียที่ คาร์เชมิส (Carchemish) [ดู JOSIAH; MEGIDDO ประกอบ] ทำให้อียิปต์ได้ครองครองดินแดนประเทศซีเรียและดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งตอนนั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของอัสซีเรีย ในช่วงเวลานั้นยังเหลือส่วนการปกครองของอัสซีเรียอีก 2 แคว้นคือ บาบิโลน และมีเดีย ขณะนั้น เนโบโพลาสซาร์ (Nabopolassar) มีความประสงค์ที่จะเอาชนะกษัตริยนีโค ที่ยึดครองแคว้นทางตะวันตกของประเทศซีเรีย โดยพระประสงค์นี้พระองค์ได้ส่งพระราชบุตรเนบูคัดเนสซาร์ไปพร้อมกับกองทัพที่ทรงพลานุภาพไปยังอียิปต์ (ดาเนียล 1:1) และได้ทำสงครามกับที่ คาร์เชมิส (Carchemish) ผลของการรบครั้งนี้ได้ขับไล่อียิปต์ (เยเรมีย์ 46:2-12) ออกไปจากการครองครองดินแดนประเทศซีเรีย และอียิปต์ไม่เคยได้เป็นใหญ่ในดินแดนนี้อีกเลย (2 พงษ์กษัตริย์ 24:7).

เนบูคัดเนสซาร์ได้ทรงปราบประเทศต่างในดินแดนปาเลสไตน์และกรุงเยรูซาเลม ได้มีการจับเชลยชาวยิวจำนวนมากในเวลานั้น ซึ่งรวมทั้งดาเนียลและเพื่อนๆของเขา (ดาเนียล. 1:1, 2; เยเรมีย์. 27:19; 40:1) สามปีหลังจากนั้นเยโฮยาคิมกษัตริย์ของยูดาห์ได้ทำการแข็งเมืองโดยหวังจะได้รับความช่วยเหลือจากประเทศอียิปต์ (2 พงษ์กษัตริย์ 24:1) ซึ่งทำให้เนบูคัดเนสซาร์ยกกองทัพมาปราบปรามในปี (กคศ. 598)

ในครั้งที่สามที่เนบูคัดเนสซาร์ได้ยกกองทัพมา พระองค์ได้จับเยโฮยาคิมไปเป็นเชลยในกรุงบาบิโลนพร้อมกับประชากรส่วนใหญ่ของเมือง และเอาเครื่องใช้ในพระวิหารไปด้วย และได้แต่งตั้งเศเดคียาห์เป็นกษัตริย์ปกครองอยู่เหนือยูดาห์ ต่อมาแต่งตั้งกษัตริย์เศเดคียาห์ไม่เอาใจใส่ต่อคำเตือนของผู้เผยพระวัจนะ พระองค์ได้ตกลงเป็นพันธมิตรกับอียิปต์ และได้กบฏต่อบาบิโลน เหตุการณ์นี้นำมาถึงการสิ้นสุดของการเข้ายึดกรุงเยรูซาเล็มและถูกทำลายลงในปี กคศ. 586 กษัตริย์เศเดคียาห์ได้ถูกจับเป็นเฉลยและได้ถูกควักลูกในตาออกโดยคำสั่งของกษัตริย์บาบิโลน และถูกจับเป็นนักโทษตลอดชีวิตของพระองค์

มีจารึกบนแผ่นดินเหนียว (clay tablet) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของประเทศอังกฤษได้บันทึกไว้ถึงการทำสงครามของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ว่า “ในปีที่ 37 ของเนบูคัดเนสซาร์กษัตริย์ของประเทศบาบิโลน พระองค์ได้ออกไปยังประเทศอียิปต์ และทำสงครามกับอามาซีสกษัตริย์ของประเทศอียิปต์ และได้ทำการยึดครอง และประกาศชัยชนะตลอดภูมิภาค” ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันข้อความของผู้เผยพระวัจนะที่ได้บันทึกไว้ในพระคัมภีร์เยเรมีย์ 46:13-26; เอเสเคียน 29:2-20

เนบูคัดเนสซาร์ได้ทำการก่อสร้างและประดับเมืองบาบิโลน (ดาเนียล 4:30) และได้เพิ่มความยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งในอาณาจักรของพระองค์ โดยการสร้างคลองและสะพานส่งน้ำ และสร้างอ่างเก็บน้ำ และสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดมหึมาต่างๆเพื่อเป็นอนุสรณ์ของพระองค์ (ดาเนียล 2:37) พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นกษัตริย์เหนือกษัตริย์ ปกครองอยู่บนราชอาณาจักรที่กว้างใหญ่แบ่งเป็นหลายมณฑล อาจจะกล่าวได้ว่าพระองค์ได้สร้างอาณาจักรที่ทรงอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มีมาในประวัติศาสตร์ของบาบิโลนหรือในแผ่นดินย่านตะวันออก พระองค์ ได้ใช้ทรัพย์สมบัติอย่างเต็มที่ในเมืองบาบิโลน อิฐทุกก้อนในเมืองต้องมีชื่อของพระองค์จารึกไว้ และพระองค์ได้ปฏิสัขรณ์เมืองต่างๆและพระวิหารของเมืองเหล่านั้นทั่งราชอาณาจักรของพระองค์

ภายหลังจากเหตุการณ์ที่มีการเผาเพื่อนดาเนียลทั้งสามคนในเตาไฟ เนบูคัดเนสซาร์ได้ตกอยู่ในความทุกข์ยากด้วยอาการประหลาดทางด้านจิตใจ มีความวิกลจริต เสมือนกับเป็นการลงโทษในความหลงตัวเองและหยิ่งผยอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความฝั่นเฝือน (เป็นโรคที่มีชื่อเรียกว่า lycanthropy หรือเป็นโรคที่เปลี่ยนให้คนเป็นเสมือนมนุษย์หมาป่า) มีการยืนยันในเรื่องนี้ในบันทึกเรื่องราวของสมัยนั้นที่มีการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บนแผ่นประตูทองสัมฤทธิ์ที่ได้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเนบูคัดเนสซาร์ หลังจากทีพระองค์หายจากอาการฟั่นเฟือนแล้ว พระองค์ได้ทำการปฏิญาณที่พระวิหารที่ Borsippa

หลังจากหายแล้วระยะหนึ่งพระองค์ได้สิ้นพระชมน์เมื่อปี กคศ. 562 ด้วยพระชนมายุ 83-84 ชรรษา หลังจากได้ครองราชย์มา 43 ปี และได้รับการสืบทอดอำนาจโดยพระราชบุตรผู้ชั่วร้าย หลังจากนั้นสองปีได้ถูกยึดอำนาจโดย เนอร์ริกริสซาร์ (Neriglissar) ประมาณปี 559-555 และครองราชย์ต่อโดย เนโบนาดีส (Nabonadius) ประมาณปี 555-538 หลังจากนั้นอาณาจักรบาบิโลนได้ถูกยึดครองโดยกษัตริย์ ไซรัส ผู้ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพของมีเดียและเปอร์เซีย
ความคิดเห็นที่ 2 : 125.26.137.152 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 05/12/2011 05:06:09 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
(อังกฤษ: George III of the United Kingdom) (4 มิถุนายน ค.ศ. 1738 – 29 มกราคม ค.ศ. 1820) ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ฮาโนเวอร์แห่งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760 ถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801 และหลังจากนั้นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์จนสวรรคตเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1820 ที่พระราชวังวินด์เซอร์, บาร์คเชอร์, สหราชอาณาจักร พระบรมศพอยู่ที่ชาเปลเซนต์จอร์จที่พระราชวังวินด์เซอร์

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1738 ที่ตำหนักนอร์โฟล์ค กรุงลอนดอน ทรงเป็นพระราชโอรสของเจ้าชายเฟรดริค เจ้าชายแห่งเวลส์ และ เจ้าหญิงออกัสตาแห่งแซกซ์-กอธา ต่อมาทรงได้อภิเษกสมรสกับดัชเชสชาร์ลอตแห่งเม็คเคลนเบิร์ก-ชเตรลิทซ์และมีพระโอรสธิดาด้วยกัน 15 พระองค์ นอกจะทรงเป็นกษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่แล้ว พระองค์ยังทรงมีพระอิศรยศเป็นดยุคแห่งบรันสวิค-ลืนเนอเบิร์กและเจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งฮาโนเวอร์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาพระเจ้าแผ่นดินแห่งฮาโนเวอร์ ต่อมาแคว้นอีเล็คตอเรทฮาโนเวอร์เลื่อนฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักรฮาโนเวอร์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1814 พระเจ้าจอร์จที่ 3 ทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษองค์ที่สามของราชวงศ์ฮาโนเวอร์ และทรงเป็นกษัตริย์ฮาโนเวอร์องค์แรกของอังกฤษที่ทรงพระราชสมภพในราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และทรงพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และไม่เคยเสด็จไปเยอรมนี

รัชสมัยอันยาวนานของพระเจ้าจอร์จที่ 3 เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางทหารหลายครั้งระหว่างราชอาณาจักรของพระองค์และประเทศต่างๆ ในยุโรปเกือบทั้งหมด เมื่อต้นรัชสมัยบริเตนใหญ่ได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสในสงครามเจ็ดปีซึ่งทำให้อังกฤษกลายเป็นประเทศมหาอำนาจของยุโรปผู้มีอิทธิพลในทวีปอเมริกาเหนือและอินเดีย แต่ต่อมาอังกฤษก็สูญเสียอาณานิคมอเมริกาไปกับสงครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War) ซึ่งเป็นสงครามที่ทำให้เกิดการก่อตั้งสหรัฐอเมริกา ต่อมาราชอาณาจักรก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่สิ้นสุดลงด้วยการพ่ายแพ้ของนโปเลียนในปี ค.ศ. 1815 นอกจากนั้นระหว่างรัชสมัยของพระองค์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ได้รวมตัวกันเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์อีกด้วย

แต่ต่อมาพระเจ้าจอร์จที่ 3 ทรงเสียพระสติเป็นครั้งคราวและในที่สุดก็เป็นการถาวร พระอาการของพระองค์เป็นปัญหาที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยนั้นงงงวยเพราะไม่ทราบสาเหตุและไม่ทราบวิธีถวายการรักษา แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่าพระอาการต่างๆ ตรงกับอาการของโรคพอร์ฟิเรีย (porphyria) ซึ่งเป็นโรคที่อาจจะเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารพิษ การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีสารพิษระดับสูงในพระเกษาของพระเจ้าจอร์จที่ 3 หลังจากเมื่อพระอาการทรุดลงเป็นครั้งสุดท้ายจนไม่ทรงสามารถปกครองประเทศได้เมื่อปี ค.ศ. 1810 เจ้าชายจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์จึงทรงปกครองราชอาณาจักรในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 3 สวรรคตเจ้าชายจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์จึงทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร การวิจัยทางประวัติชีวิตของพระเจ้าจอร์จที่ 3 เปลี่ยนแปลงภาพพจน์ของพระองค์ตลอดมา ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุมาจากการศึกษาจากเอกสารอ้างอิงที่ไม่เป็นธรรมต่อพระองค์
ความคิดเห็นที่ 1 : 125.26.137.152 โดย : patt  อีเมล์ โพสต์เมื่อ : 05/12/2011 05:11:22 อ่านแล้ว ติดต่อเว็บมาสเตอร์แนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
 

 
   Photo Galleries :
     
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ


Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย Start : August 31, 2010
 
.................เว็บบอร์ดนี้เป็น บอร์ดนำเสนอข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้เน้นการโพสต์ตอบแต่อย่างใด เรามีการเก็บข้อมูลผู้ใช้ เพื่อวิเคราะห์เส้นทางการเข้าถึงบอร์ดนี้
ดูข้อมูล ข้อมูล Log File เพื่อตรวจสอบการเข้าเว็บบอร์ด
ตอบกลับ แสดงความคิดเห็น
น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphor Mueng, Kalasin 46000
www.artnana.com