สรุปเหตุการณ์ช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
- 1986 สหภาพโซเวียด ส่งโมดูลของสถานีเมียร์ส่วนแรก Core Module เข้าสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1986 และลูกเรือกลุ่มแรกที่ขึ้นบนสถานี เมื่อวันที่ 13 มีนาคม
- 1987 โมดูลส่วนที่สอง Kvant-1 ก็ถูกส่งขึ้นไป เชื่อมต่อ แต่ประสพปัญหาในการต่อยาน ปรากฏว่า พบเศษขยะอยู่ในส่วนเชื่อมต่อ (Docking Port)
- 1991 ยานขนส่งสินค้าควบคุมไม่ได้ระหว่างเข้าเชื่อมกับ สถานีทำให้เกือบชนกับสถานีอวกาศ และทางรัสเซีย ขาดเงินทุน ประกอบกับการล้มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้ลูกเรือ ต้องอยู่ในอวกาศนานขึ้นกว่าที่กำหนดไว้
- 1995 นักบินอวกาศชาวรัสเซีย Valery Polyakov เดินทางกลับโลก หลังจากที่ต้องอยู่ในอวกาศนานถึง 438 วัน หรือ 14 เดือน นับเป็นการอยู่ในอวกาศนานที่สุด เป็นครั้งแรก และ Norman Thagard เป็นชาวอเมริกันคนแรก ที่ไปเยี่ยมสถานีอวกาศเมียร์
- 1997 เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอย่างต่อเนื่อง กับสถานีอวกาศ โดยครั้งแรก 23 กุมภาพันธ์ ถังผลิต อ๊อกซิเยนในสถานีเกิดติดไฟขึ้น ทำให้เกือบไฟครอก ลูกเรือในสถานี , วันที่ 25 มิถุนายน ยานสินค้า กระแทกกับตัวสถานี ระหว่างการฝึกควบคุมการเชื่อมต่อ ด้วยมือ ทำให้ส่วนห้องทดลองอากาศรั่ว แต่ลูกเรืออุดลอยรั่วไว้ได้ทัน , สองวันต่อมาคอมพิวเตอร์ บนสถานีดับ, เดือนกรกฏาคม ลูกเรือตัดพลังงานบนสถานี ก่อนกำหนดทำให้สถานีต้องลอยคว้างอยู่ในอวกาศ และอีก 1 เดือนต่อมา เครื่องคอมพิวเตอร์หลักดับ ระหว่างเชื่อมต่อกับยานขนส่งสินค้า ทำให้สถานีต้อง ลอยคว้างในอวกาศควบคุมไม่ได้อีกครั้ง
- 1999 รัสเซียประกาศจะทิ้งสถานีอวกาศเมียร์ในปี คศ.2000 นอกจากว่าจะมีเงินทุนมาสนับสนุน และนักบินอวกาศ Sergei Avdeyev ทำสถิติใหม่อยู่บนสถานีอวกาศนานที่สุดคือ 747 วัน และเดินทางกลับโลกวันที่ 27 สิงหาคม
- 2000 MirCorp ซึ่งนักธุระกิจชาวอเมริกันเป็นเจ้าของ ชื่อ Dennis Tito วางโครงการจะเช่าสถานีอวกาศ เมียร์ และจะจัด space tourist สร้างโมดูลเพื่อ เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ และตัวเค้าก็จะ เดินทางไปอยู่บนเมียร์ด้วย แต่ทางการ รัสเซียแจ้งว่า MirCorp ไม่ทำตามข้อตกลง จึงประกาศจะทิ้ง สถานีอวกาศเมียร์
|