อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ บุกรัสเซีย
 




  

หมวด เนื้อหาทั้งหมด
    มอสโก
    เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
    โปรแกรมทัวร์
    ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
    วลาดิเมียร์
    ซูซดาล
    ซากอร์ส
    แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
    เวลาและอุณหภูมิโลก
    ของฝากจารัสเซีย
    หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
    ที่สุดของรัสเซีย
    บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
    รวมภาพ ในแต่ละทริป
    คุยกับ เว็บมาสเตอร์
    16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
    เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
    Webcam
    การเดินทางสู่กรุงมอสโก
    ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
    ไปรัสเซียต้องระวัง
    ภาษารัสเซีย ???????
    Golden Ring Cities
    Russian Clips
    ราชตระกูล จักรพงษ์
    Russian TV
    เอกอัครราชทูต
    การก่อการร้ายในรัสเซีย
    ไซบีเรีย
    รัสเซีย : สงครามต่างๆ
    พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
    มรดกโลกของ รัสเซีย
    มาเฟียรัสเซีย
    หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
    รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
    คิง ไกเซอร์ ซาร์
    เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
    อวกาศกับรัสเซีย
    12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
    วอดก้ารัสเซีย
    เขตปกครองของรัสเซีย
    เพชรรัสเซีย
    เสด็จเยือนรัสเซีย
    คาเวียร์
    เครื่องดนตรีรัสเซีย
    น้ำดื่ม (วาดะ)
    ศิลปินรัสเซีย
    Trans-siberian railway
    ze
    8
    

    

ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง








หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 







เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : รัสเซีย : สงครามต่างๆ
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ บุกรัสเซีย
เดือนเมษายน 1939 รัสเซียยื่นข้อเสนอไปยังอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อขอทำสนธิสัญญาสามฝ่าย คือ รัสเซีย อังกฤษ และฝรั่งเศส ในการร่วมมือทางทหาร หากโปแลนด์ถูกโจมตีจากเยอรมัน แต่อังกฤษปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวของรัสเซีย การปฏิเสธดังกล่าว เท่ากับเป็นการยืนยันสมมติฐานของฮิตเลอร์ที่ว่า อังกฤษจะพยายามทุกวิถีทาง ที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงคราม

เมื่ออังกฤษปฏิเสธข้อเสนอของตน รัสเซียซึ่งนำโดยโมโลตอฟ (Molotov) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ ก็ยื่นข้อเสนอมายังเยอรมัน เพื่อขอทำสนธิสัญญาไม่รุกรานซึ่งกันและกัน (a Mutual Non-Aggression Pact) ฮิตเลอร์มองวัตถุประสงค์ของสตาลิน ผู้นำรัสเซียออกว่า การยื่นข้อเสนอมายังเยอรมันนั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามกับเยอรมัน และเพื่อหาโอกาสเข้าครอบครองดินแดนในยุโรปตะวันออก หากเกิดสงครามขึ้น เพราะหากรัสเซียเข้าครอบครองดินแดนใด เยอรมันก็ไม่สามารถขัดขวางได้ เพราะต่างมีสนธิสัญญาไม่รุกรานซึ่งกันและกัน
นับแต่เริ่มยุทธการบาร์บาร์รอสซ่า (Barbarrossa) เยอรมันทำการรบอย่างสายฟ้าแลบ ท่ามกลางความตื่นตระหนก และเสียขวัญของกองทัพรัสเซีย เพราะไม่คาดคิดมาก่อนว่า เยอรมันจะโจมตีตนเอง กองทัพเยอรมันรุกอย่างรวดเร็ว หน่วยยานเกราะ Panzer เป็นหัวหอกนำ สนับสนุนด้วยหน่วยบิน Lufwaffe ที่ทิ้งระเบิดโจมตีจุดยุทธศาสตร์ และกองกำลังของรัสเซีย หน่วยทหารตามเข้าตีอย่างต่อเนื่อง ในช่วงแรกๆ มีทหารรัสเซียถูกจับเป็นเชลยนับแสน อย่างไรก็ตาม ยิ่งรุกเร็วมากเท่าไร หน่วยส่งกำลังบำรุงและเสบียงของกองทัพเยอรมันก็ยิ่งถูกทิ้งห่างจากแนวหน้ามากขึ้นเท่านั้น และในที่สุด กองทัพที่ 6 ของเยอรมัยก็รุกเข้าไปจนสุดสายการส่งกำลังบำรุง ณ เมืองเมืองหนึ่ง ริมแม่น้ำวอลก้า เมืองที่มีชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำรัสเซีย โจเซฟ สตาลิน นั่นคือเมือง สตาลินกราด

เส้นทางการบุกของกองทัพเยอรมัน
กองทัพที่ 6 ของนายพล ฟอน เปารัส (Paulus) มีเป้าหมายหลักที่สำคัญอยู่ที่เมืองสตาลินกราด โดยมีกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ของพลเอก แฮร์มนาน์ โฮท (Colonel General Hermann Hoth) กองทัพทั้งสองได้มุ่งหน้าสู่เมืองสตาลินกราดอย่างมั่นคง กวาดล้างกองทัพแดง ของรัสเซียลงอย่างราบคาบ แต่แล้ว ฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีเยอรมัน ก็ได้เข้ามาก้าวก่ายการวางแผนของฝ่ายเสนาธิการเยอรมัน โดยสั่งการให้ กองทัพแพนเซอร์ที่ 4 มุ่งหน้าลงใต้สู่คอเคซัส ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันที่มีค่ามหาศาล เพื่อยึดทรัพยากรดังกล่าว แม้ฝ่ายเสนาธิการจะได้ทัดทานว่า การกำหนดเป้าหมายหลักทางทหารสองแห่งพร้อมๆกัน จะทำให้กำลังที่กำลังรุกไปข้างหน้าเสียสมดุล และขาดความเข็มแข็งที่แท้จริง เนื่องจากจะต้องมีแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน แทนที่จะทุ่มไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่ฮิตเลอร์ก็หาได้ฟังคำทัดทานนั้นไม่ กองทัพแพนเซอร์ที่ 4 จึงถูกแยกออกจากกองทัพที่ 6 และทำให้ กองทัพที่ 6 รุกไปสู่สตาลินกราดได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็นทำให้ฝ่ายรัสเซียมีเวลาในการเตรียมการ และนั่นคือจุดผิดพลาดอันยิ่งใหญ่จุดหนึ่งของเยอรมัน

ครึ่งเดือนต่อมา ฮิตเลอร์เปลี่ยนใจและสั่งการให้กองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ซึ่งเป็นกองทัพยานเกราะ กลับไปช่วยกองทัพที่ 6 ของนายพลเปารัส แต่ก็ช้าไป ในวันที่ 9 สิงหาคม 1942 เนื่องจากต้องเคลื่อนย้ายไปๆมาๆ ทำให้กองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ของนายพลโฮท ต้องหยุดลงเนื่องจากขาดน้ำมันและอาหาร โดยหยุดอยู่ห่างจากสตาลินกราดเพียง 160 กิโลเมตร ในขณะที่กองทัพที่ 6 ได้ข้ามแม่น้ำดอน (Don) มุ่งเข้าสู่ชานเมืองสตาลินกราด กองทัพที่ 62 และ 64 ของฝ่ายรัสเซียที่อยู่ในเมืองทำการต่อต้านอย่างเหนียวแน่น เยอรมันสร้างสนามบินเพื่อการส่งกำลังบำรุงบริเวณช่องว่างระหว่างแม่น้ำดอน และแม่น้ำวอลก้า (Volga) เพื่อให้กองทัพอากาศที่ 4( Luftflotte 4) สามารถลำเลียงอาวุธยุทธปัจจัยได้สะดวกขึ้น และในวันที่ 2 กันยายน กองทัพที่ 6 และกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 จึงสามารถเชื่อมต่อกันได้

สู่สตาลินกราด กล่าวได้ว่าทุกเมตร ทุกหลา เต็มไปด้วยการต่อสู้อย่างนองเลือด เยอรมันพยายามทำลายตึกรามต่างๆ ด้วยปืนใหญ่และการทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน แต่สตาลินกราดเป็นเมืองสมัยใหม่ ตึกต่างๆถูกสร้างอย่างแน่นหนา การโจมตีของเยอรมันจึงเพียงแต่ทำลายรูปทรงอาคารเท่านั้น ตึกต่างๆถูกยุบ ทำลายลงเป็นเสมือนป้อมปราการให้ฝ่ายรัสเซีย ที่ใช้ทุกมุม ทุกซอก ต่อต้านทหารเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการต่อสู้อย่างหนัก เยอรมันก็เข้าถึงใจกลางเมืองได้ และมุ่งหน้าสู่เขตอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดหนัก ในวันที่ 29 กันยายน ทหารรัสเซียภายใต้การนำของนายพลชุยคอฟ (Chuikov) ก็เข้าตีตอบโต้ นายพลของรัสเซียอีกคนหนึ่งคือนายพลซูคอฟ (Zhukov) ได้เตรียมกำลังที่สดชื่นและมีจำนวนมหาศาล รอคอยการตีโต้ตอบด้วยเช่นกัน การตีโต้เริ่มขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน กำลังจำนวนมหาศาลของรัสเซียสร้างความประหลาดใจให้กับกองทหารเยอรมันที่อ่อนล้า ภายในเวลาแค่ 24 ชม. กองทหารเยอรมัน และทหารรูเมเนีย ซึ่งร่วมกับทหารเยอรมันในฐานะฝ่ายอักษะ ถูกตีแตกกระจัดกระจายและทำการโอบล้อมทหารเยอรมันจำนวน270,000 คนให้ตกอยู่ในวงล้อมภายในสตาลินกราด

เส้นทางการเข้าโจมตีของเยอรมันเข้าสู่สตาลินกราด
ในขณะที่วงล้อมยังไม่แข็งแรง ฝ่ายเสนาธิการของเยอรมันเสนอให้ฮิตเลอร์ถอนกองทัพที่ 6 ออกจากสตาลินกราด เพื่อจัดแนวใหม่ แต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ พร้อมกับออกคำสั่งให้ทหารเยอรมันสู้จนคนสุดท้าย นับเป็นความผิดพลาดอีกครั้งหนึ่ง ทหารเยอรมันต่อสู้อย่างสมเกียรติ และห้าวหาญ นายพลแมนสไตน์ (Erich Von Manstein) ของเยอรมันนำทัพมาช่วย โดยอยู่ห่างจากเมือง 48 กม. และขอให้นายพลเปารัศ นำกองทัพที่ 6 ฝ่าออกมา แต่เปารัสปฏิเสธ และขอสู้ตามคำสั่งของฮิตเลอร์ ฮิตเลอร์ตอบสนองด้วยการแต่งตั้งเปารัสเป็นจอมพล เพราะยังไม่เคยมีจอมพลของเยอรมันที่ยอมแพ้ข้าศึก ขณะเดียวกันรัสเซียก็เริ่มบีบวงล้อมให้แน่นขึ้น สนามบินซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่สามารถส่งกำลังบำรุงให้กองทัพที่ 6 ก็ตกเป็นของรัสเซีย ในวันที่ 25 มกราคม จากวิทยุที่ได้รับรายงานจากสตาลินกราด แสดงให้เห็นว่าทหารรัสเซียกำลังบุกเข้ามาทุกทิศทุกทาง บางส่วนอยู่ที่หน้ากองบัญชาการของจอมพลเปารัส กองทัพน้อยที่ 11 ของเยอรมันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพที่ 6 พยายามต่อต้านอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่สามารถต้านทานได้ เนื่องจากขาดกระสุน และยุทโธปกรณ์ที่จำเป็น ในที่สุดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ จอมพลเปารัสก็สั่งให้ทหารเยอรมันยอมจำนน ทหารเยอรมันกว่า 200,000 คนถูกจับ จำนวนนี้เพียง 5,000 คนที่รอดชีวิตจากค่ายเชลยอันทารุณของรัสเซีย ฮิตเลอร์ ได้รับรู้ถึงรสชาดของค่ายพ่ายแพ้ ความพ่ายแพ้ที่เป็นจุดวกกลับจุดหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2

วีรกรรมของ Zaitsev
วีรกรรมของ Zaitsev นั้นเป็นที่กล่าวขานในกองทัพแดง และประชานชนในStalingrad รวมถึงกองทัพเยอรมัน เป็นอย่างมาก มีการกล่าวว่า Zaitsev นั้นมีไม่ยืนยันถึง 244 ศพ แต่มีการยืนยันจริง เพียง 144 ศพ ส่วนคู่ต่อกรของ Zaitsev นั้นเป็นอาจารย์จากโรงเรียนพลซุ่มยิง ใกล้กรุง Berlin ที่ถูกส่งตัวมายัง Stalingrad เพื่อทำการยุติบทบาทของ Zaitsev (แต่ก็ไม่มีการยืนยันว่า Thorwald มีตัวตนจริง)
   ส่งหน้านี้ให้เพื่อน      ติดต่อเว็บมาสเตอร์    
23-05-2011 Views : 4734
หมวด รัสเซีย : สงครามต่างๆ : 39 หัวข้อ   
    23-05-2011
  • อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ บุกรัสเซีย
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ















3.147.89.85 = UNITED STATES    Saturday 20th April 2024  IP : 3.147.89.85   คนที่กำลังอ่าน      ส่งหน้านี้ให้เพื่อน     Bookmark and Share
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย

น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com